อว. เผยไทยฉีดวัคซีนแล้ว 61,033,251 โดส และทั่วโลก 6,539 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ

อว. เผยไทยฉีดวัคซีนแล้ว 61,033,251 โดส และทั่วโลก 6,539 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ

 

VIDEO CONTENT AVERTISEMENT

วันที่ 12 ตุลาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 6,539 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 27.7 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 402 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 187 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว”
ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 426.75ล้านโดส โดยกัมพูชาฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (79.9% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 159.76 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 12ตุลาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 61,033,251โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 60.73%
🌏 ในการฉีดวัคซีน จำนวน 6,539 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 61,033,251 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 35,462,170 โดส (53.6% ของประชากร)
-เข็มสอง 23,796,497 โดส (36% ของประชากร)
-เข็มสาม 1,774,584 โดส (2.7% ของประชากร)

ADVERTISMENT

2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 12 ต.ต. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 61,033,251 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 805,146 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 730,263 โดส/วัน

3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
– เข็มที่ 1 17,663,254 โดส
– เข็มที่ 2 3,514,605 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส

ADVERTISMENT

วัคซีน AstraZeneca
– เข็มที่ 1 10,471,685 โดส
– เข็มที่ 2 15,738,545 โดส
– เข็มที่ 3 1,282,705 โดส

วัคซีน Sinopharm
– เข็มที่ 1 6,019,401 โดส
– เข็มที่ 2 4,004,234 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
– เข็มที่ 1 1,307,830 โดส
– เข็มที่ 2 539,113โดส
– เข็มที่ 3 491,879 โดส

4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
– บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 123.4% เข็มที่2 119.5% เข็มที่3 91%
– เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 62.7% เข็มที่2 55.6% เข็มที่3 9.1%
– อสม เข็มที่1 73.1% เข็มที่2 64.1% เข็มที่3 7.5%
– ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 63% เข็มที่1 44.2% เข็มที่3 1.7%
– ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 46.6% เข็มที่2 29.2% เข็มที่3 1.6%
– ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 60.1% เข็มที่2 45% เข็มที่3 0.4%
– หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่1 14.8% เข็มที่2 9.6% เข็มที่3 0.1%
– นักเรียน/นักศึกษา อายุ 12-17 ปี เข็มที่1 11.1% เข็มที่2 0.1% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 49.2% เข็มที่2 33% เข็มที่3 2.5%

5. %การฉีดวัคซีนพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว
1. ภูเก็ต เข็มที่1 80.1% เข็มที่2 75.7% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 71.3% เข็มที่2 67.5%
2. สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 43% เข็มที่2 34.5% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 63.9% เข็มที่2 54.4%
3. กรุงเทพมหานคร เข็มที่1 102.8% เข็มที่2 62.4% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 80.2% เข็มที่2 46.7%
4. กระบี่ เข็มที่1 41.9% เข็มที่2 31% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 64.2% เข็มที่2 52.5%
5. พังงา เข็มที่1 57.5% เข็มที่2 48.4% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 69.5% เข็มที่2 58.4%
6. ประจวบคีรีขันธ์ เข็มที่1 49.3% เข็มที่2 37.9% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 63.7% เข็มที่2 54.8%
7. เพชรบุรี เข็มที่1 54% เข็มที่2 39.8% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 70.6% เข็มที่2 54.7%
8. ชลบุรี เข็มที่1 71.7% เข็มที่2 50.3% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 72.9% เข็มที่2 66.8%
9. ระนอง เข็มที่1 56.1% เข็มที่2 47.7% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 90.4% เข็มที่2 66%
10.สมุทรปราการ เข็มที่1 68.8% เข็มที่2 47.3% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 60% เข็มที่2 44.2%
11. ระยอง เข็มที่1 51.7% เข็มที่2 34.9% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 60% เข็มที่2 44.2%
12. ตราด เข็มที่1 45.6% เข็มที่2 31.4% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 58.8% เข็มที่2 52%
13. เชียงใหม่ เข็มที่1 45.3% เข็มที่2 31.5% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 60.3% เข็มที่2 49.4%
14. เลย เข็มที่1 37.3% เข็มที่2 23.1% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 53.1% เข็มที่2 37.8%
15. บุรีรัมย์ เข็มที่1 49.1% เข็มที่2 35.1% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 65.3% เข็มที่2 44.4%
16. หนองคาย เข็มที่1 38.8% เข็มที่2 26.1% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 55.5% เข็มที่2 37.6%
17. อุดรธานี เข็มที่1 38.1%เข็มที่2 22.8% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 67.8% เข็มที่2 47.7%
รวม เข็มที่1 70% เข็มที่2 46.4% และประชากร 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 72.3% เข็มที่2 49.3%

6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 426,757,420 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 159,768,474 โดส (36.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. ไทย จำนวน 61,033,251 โดส (53.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
3. เวียดนาม จำนวน 54,279,564 โดส (39.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
4. ฟิลิปปินส์ จำนวน 50,066,590 โดส (24.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
5. มาเลเซีย จำนวน 45,835,200 (74.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
6. กัมพูชา จำนวน 26,215,677 โดส (79.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
7. พม่า จำนวน 14,013,530 โดส (18.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
8. สิงคโปร์ จำนวน 9,670,942 โดส (78.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9. ลาว จำนวน 5,326,978 โดส (41.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 547,214 โดส (75.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

7. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 68.85%
2. ยุโรป 10.98%
3. อเมริกาเหนือ 9.56%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.15%
5. แอฟริกา 2.88%
6. โอเชียเนีย 0.58%

8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 2,221.56 ล้านโดส (79.3% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. อินเดีย จำนวน 958.81 ล้านโดส (35.1%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 401.82 ล้านโดส (62.7%)
4. บราซิล จำนวน 249.34 ล้านโดส (60.3%)
5. ญี่ปุ่น จำนวน 174.63 ล้านโดส (69.2%)

9. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (100.9%) (ฉีดวัคซีนของ Moderna, Pfizer/BioNTech, AstraZeneca/Oxford และ J&J)
2. มัลดีฟส์ (99.5% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (95.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
4. อุรุกวัย (91%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
5. บาห์เรน (89.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
6. ชิลี (87.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac
7. อิสราเอล (86.4%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
8. กาตาร์ (85.3%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
9. จีน (79.3%) (ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sinovac และ CanSino)
10. สิงคโปร์ (78.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

 

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image