ชวนแสดงความเห็น ร่างกม.ขจัดการเลือกปฏิบัติ ฉบับปชช. 

ชวนแสดงความเห็น ร่างกม.ขจัดการเลือกปฏิบัติ ฉบับปชช.

ชวนแสดงความเห็น ร่างกม.ขจัดการเลือกปฏิบัติ ฉบับปชช. 

นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เปิดเผยว่า ตามที่ ภาคประชาชน 10 เครือข่าย ได้เข้าชื่อ 12,116 รายชื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. … ฉบับภาคประชาชน เพื่อให้เป็นหลักประกันว่าคนไทยทุกคนจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ เพศสภาพ เพศวิถี อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ การติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม อาชีพ การทำงาน การศึกษา อบรม ศาสนาหรือความเชื่อ หรือความคิดเห็นทางการเมือง

ซึ่งได้เสนอต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 แล้วนั้น ขณะนี้รัฐสภาได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 จากนั้นจะนำเสนอ นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป๋นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน ที่เสนอให้ตั้งสำนักงานขึ้นมาใหม่ เป็นสำนักงานด้านการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล จึงอยากเชิญชวนประชาชนไปร่วมแสดงความคิดเห็น ในเว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎร https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=185

นางสาวสุภัทรา กล่าวอีกว่า ควบคู่ไปกับกฎหมายภาคประชาชน ทราบว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ก็ได้ยกร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …. ฉบับภาครัฐ ซึ่งเพิ่งปิดรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 ขณะนี้ร่างกฎหมายนี้ไปอยู่ที่คณะกรรมการกฎหมายของ ยธ. ซึ่งหากคณะกรรมการกฎหมายเห็นชอบ จะเสนอ รมว.ยธ. เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ร่างกฎหมายของภาครัฐ มีความแตกต่างกับภาคประชาชน อาทิ ของภาครัฐไม่ได้เสนอให้ตั้งสำนักงานขึ้นมาใหม่ เนื่องจากให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นสำนักงาน, การให้มีคณะกรรมการคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติ (คชป.) ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และวินิจฉัยรายกรณีว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ เสมือนคณะกรรมการกึ่งตุลาการ เพื่อจะเป็นอีกทางเลือกของประชาชน ไม่ต้องไปใช้สิทธิทางศาล ซึ่งอาจใช้เวลานาน

ADVERTISMENT

ส่วนร่างกฎหมายของภาครัฐ ให้มีสภาส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล มีหน้าที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อส่งเสริมความเสมอภาค และขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล เป็นต้น โดยจะเป็นร่างกฎหมายภาครัฐที่ประกบกันไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image