มัดรวม ขั้นตอนปฏิบัติ ‘สกัดโควิด’ ช่วงหยุดสงกรานต์ ติดเกราะพบญาติ-กลับบ้านแบบมีการ์ด
เทศกาลสงกรานต์นับเป็นช่วงเวลาหยุดยาวที่มีประชาชนชาวไทยเดินทางกันมากที่สุดอีกช่วงหนึ่งของปี ทั้งกลับภูมิลำเนา ไปจนถึงการออกเดินทางเพื่อท่องเที่ยว ทว่าในช่วงหลายปีมานี้ ได้มีข้อจำกัดด้านการเดินทางเพิ่มขึ้นเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกี่ยวกับมาตรการการป้องกันและเผยแพร่เชื้อไวรัสเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและบุคคลรอบข้างในสังคม
ขณะเดียวกัน ในส่วนของภาครัฐก็ได้กำชับหลายหน่วยงานใหเพิ่มมาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดให้รัดกุมมากขึ้น ด้วยเกรงว่าหลังเทศกาลสิ้นสุดลงยอดผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงกรานต์นี้ ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด?
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำมาตรการป้องกันโควิด-19 ช่วงสงกรานต์ เป็น 4 สถานการณ์ ตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนร่วมงาน, ระหว่างงานสงกรานต์, กิจกรรมในครอบครัว และหลังกลับจากสงกรานต์ ไว้ดังนี้
1.การเตรียมตัวก่อนร่วมงาน
– กลุ่ม 608* ต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
– เช็กตนเอง หากมีความเสี่ยงให้ “งดเดินทาง”
– ตรวจ ATK ก่อนเดินทาง 72 ชม.
– ผู้จัดงานต้องขออนุญาตก่อนจัดงานและกำหนดให้มีมาตรการควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด
– ผู้จัดงาน ลงทะเบียน TSC2+ และ COVID Free Setting
หมายเหตุ *กลุ่ม 608 คือกลุ่มคนที่ต้องได้รับการวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากที่สุดนั่นคือกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง, โรคเบาหวาน และ+1 คือกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีอาการรุนแรงของโรคมากหากติดเชื้อโควิด-19
2.ระหว่างงานสงกรานต์
– จัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ การแสดงดนตรี เป็นต้น
– กำหนดช่องทางเข้า-ออก จุดคัดกรอง
– สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พกเจลแอกอฮอล์ รักษาระยะห่าง
– ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม ห้ามจำหน่ายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่งาน
3.กิจกรรมในครอบครัว
– จัดกิจกรรมที่โล่ง ระบายอากาศได้ดี
-สวมหน้ากาดอนามัยตลอดเวลา
-ผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนให้ครบ
– งดรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
4.หลังกลับจากงานสงกรานต์
– สังเกตอาการตนเอง 7 วัน
– งดพบปะผู้คน
– ตรวจ ATK เมื่อมีอาการน่าสงสัย
– WFH (ทำงานที่บ้าน) ตามความเหมาะสม