“หมอธีระวัฒน์” ชี้ ต้องประเมินประสิทธิภาพวัคซีนโควิดกับผลข้างเคียง เหตุการเสียชีวิต-ผลต่อเนื่อง ยังมีค่อนข้างสูง
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับเรื่องวัคซีนโควิด ใจความว่า “วัคซีนโควิดที่ต้องพิจารณา”
การที่มีสายพันธุ์ย่อยใหม่ปรากฏอยู่ และในบางรัฐของอเมริกาจะให้ใส่หน้ากาก mask mandate อีก แต่ยังไม่ชัดเจน และมีการปฏิเสธจาก ประชาชนและหน่วยงาน? (และแม้แต่ บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ไคเซอร์ ก็ระบุเพียงแต่ว่าในโรงพยาบาล ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ใส่หน้ากาก)
อีกทั้งโควิดสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ แม้จะทำให้มีการติดเชื้อใหม่ซึ่งเป็นเรื่องปกติของไวรัสที่ตัองฉีกแนวตัวเองออกเพื่อให้มีการคงพันธุ์อยู่ได้ “ยังไม่ได้ทำให้เกิดความรุนแรงเช่นอู่ฮั่นแอลฟ่าและเดลต้า”
เป็นที่มา ที่ต้องประเมินประสิทธิภาพที่แท้จริงของวัคซีนโควิดและที่สำคัญก็คือผลกระทบในทางไม่พึงประสงค์ ว่ามีมากน้อยเพียงใดแค่ไหน
1.วัคซีนขณะนี้ที่ใช้อยู่ ไม่ปรากฏว่าสามารถป้องกันการติดได้แล้ว โดยทางสหรัฐเองได้แถลง และมีแผนที่จะใช้วัคซีนตัวใหม่เอี่ยม แบบเดียวกับ ไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดปีละครั้ง ที่เข้าได้กับสายพันธุ์ในเวลานั้น แต่ยังมีปัญหาเพราะเชื้อหนีเร็ว
2.ข้อกังวลของนักวิทยาศาสตร์ก็คือ ยิ่งฉีดมากจะกลับทำให้ภูมิคุ้มกันของมนุษย์เบี่ยงเบนไปในทางอ่อนแอลงหรือไม่ ซึ่งมีหลักฐาน ตั้งแต่วัคซีนตระกูลอู่ฮั่นและวัคซีนควบรวมอู่ฮั่นกับโอไมครอน และ จะเป็นไปได้หรือไม่ แม้แต่ ตัวใหม่ ที่ไม่มีอู่ฮั่นแล้วก็ตาม
3.ตัวเลขแท้จริงของผลกระทบจากวัคซีนยังไม่ทราบชัดเพราะรายงานที่เข้ามายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของสหรัฐและอังกฤษ เป็นในลักษณะ passive และในหลายประเทศมีการปฏิเสธตั้งแต่ต้นว่าไม่เกี่ยวพันกันแม้ระยะเวลาที่เกิดกับการฉีดนั้น จะใกล้ชิดกันมากและอยู่ในมาตรฐานเงื่อนเวลาที่เกี่ยวข้องกัน เช่น หัวใจอักเสบจะอยู่ในช่วง 42 วันหลังจากฉีดแล้ว และถ้าอธิบายจากระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถยาวได้ถึง 90 วัน ที่สามารถเป็นไปได้ (แม้ในวัคซีนรุ่นโบราณ ที่ไม่ใช่เทคโนโลยีแบบนี้ก็ใช้มาตรฐานนี้)
นอกจากนี้มีการปฏิเสธที่จะหาสาเหตุที่แท้จริงรวมกระทั่งถึงการชัณสูตรศพ และมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงสาเหตุไม่ใช่การชัณสูตรธรรมดาทั่วไปเท่านั้น
4.ตัวเลขของผลกระทบนี้ซึ่งจากรายงานของประเทศอังกฤษเองพบว่ามีรายงานเช้ามาเพียง 20% จากระบบใบเหลือง yellow card และในสหรัฐเช่นกัน
5.ลักษณะของผลกระทบมักเป็นการเพ่งเล็งถึงบางระบบอวัยวะสำคัญ แต่ที่กระทบหลายระบบพร้อมกันและทำให้คนนั้นๆ ทำงานไม่ได้ต้องออกจากงาน ทั้งเหนื่อยง่ายล้า สมองเปลี้ย เช่นเดียวกับ chronic fatigue syndrome หรือ long covid จะไม่ถูกนับรวม อีกทั้ง ผลกระทบทางการประทุของโรคเรื้อน ที่รายงานในอังกฤษไปแล้วและเส้นเลือดที่จอประสาทตาอุดตันที่มีการรายงานไปแล้วเช่นกัน
6.ข้อมูลของอัตราการเสียชีวิต excess deathsที่ไม่อธิบายจากการติดโควิด ที่สูงกว่า ช่วงเวลาสมัยก่อนที่จะเกิดโควิด และแมัหลังจากที่โควิดลดความรุนแรงไปแล้ว แต่อัตราเสียชีวิตในทุกลักษณะรวมทั้งมะเร็งกลับยังสูงอยู่ มีข้ออธิบายว่าโรคที่ต้องได้รับการรักษาที่เป็น time sensitive นั้น ขาดการดูแลไป เนื่องจากสถานการณ์โควิด ตั้งนั้นเลยทำให้เสียชีวิตดูมากขึ้นแม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิดก็ตาม
ในประเทศออสเตรเลียพบว่าอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าธรรมดานั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่โควิดจะระบาด เพราะยังปิดประเทศอยู่และเริ่มในช่วงเวลาที่มีการใช้วัคซีนหรือไม่
7.ปรากฏการณ์ มะเร็งติดเทอร์โบ หรือ turbocancers ได้มีการเปิดเผยจากแพทย์หลายกลุ่มโดยพบมะเร็งที่เฉียบพลันรุนแรงแพร่กระจายได้เร็วในคนอายุไม่มาก ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติครอบครัว และเป็นเรื่องที่ต้องมีการหาสาเหตุรายละเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคตอีก แม้มีการปฏิเสธอย่างรุนแรงจากสถาบันหลัก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ไทย 1 ใน 3 ยังต้องการวัคซีนโควิดหากฉีดฟรี! นักวิชาการแนะสื่อสารต่อเนื่องเพิ่มเชื่อมั่น
- ‘หมอยง’ เผย โควิด19 แตกสายพันธุ์เยอะ จนวัคซีนตามไม่ทัน
- แอสตร้าเซนเนก้า รับครั้งแรก วัคซีนโควิด มีผลข้างเคียง ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือด-เกล็ดเลือดต่ำ
- หมอยง ระบุ กลุ่มเสี่ยง ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 แม้ความรุนแรงโรคลดลง