ผลการลดก๊าซเรือนกระจกประเทศไทยปี 64 ได้ 60.33 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ยังห่างไกลเป้าหมาย

“พัชรวาท” ถกโรดแมป ลดก๊าซเรือนกระจก ตามกรอบปี 2573 เพื่อเร่งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนกับทุกภาคส่วน พร้อมเคาะแผน เข้าถึงกลไกทางการเงินระหว่างประเทศ กำชับทุกหน่วยงานเร่งมือเต็มที่

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) มีการประชุมครั้งที่ 1/2567  โดย พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เป็นประธาน

พลตำรวจเอก พัชรวาท กล่าวว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากเดิม ร้อยละ 20-25 เทียบกับกรณีปกติ เป็นร้อยละ 30 (ดำเนินการเอง) และร้อยละ 40 หากได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ ตามร่างแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 ที่ได้มีการเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร ร้อยละ 0.7 โดยมุ่งเน้นการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ร้อยละ 22.5 ภาคขนส่ง ร้อยละ 8.2 ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม และการใช้ผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 0.3 ภาคของเสีย ร้อยละ 1.6 ทั้งนี้

ADVERTISMENT

รัฐมนตรีทส. กล่าวว่า ผลการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 60.33 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สะท้อนให้เห็นถึงความเร่งด่วน ในการดำเนินงาน เนื่องจากยังห่างจากเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ดำเนินการเองอีก 2 ใน 3 ส่วน ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินงานอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด

ADVERTISMENT

“ในส่วนของการขอรับการสนับสนุนระหว่างประเทศ  ทส.ได้จัดทำและพร้อมเผยแพร่กรอบการขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศ ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาโครงการภายใต้กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) เพื่อเป็นเครื่องมือให้ทุกภาคส่วนใช้ในการขอรับการสนับสนุนเงินต่อไป ซึ่ง กนภ. ได้ให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งนี้ด้วยแล้ว”พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว

ทั้งนี้ ที่ประชุม กนภ. ได้รับทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการร่างแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน คมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตร และของเสีย จะนำไปปฏิบัติ
เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ร้อยละ 30 – 40 จากกรณีปกติ
ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) โดยมอบหมายให้ทส. เสนอร่างแผนปฏิบัติการฯ ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาตามขั้นตอนการนำเสนอแผนระดับที่ 3 เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

2.เห็นชอบต่อร่างรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการรายสาขา
ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564
รวม 60.33 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2eq) จากเป้าหมายประมาณ 184.8 MtCO2eq ในปี พ.ศ. 2573 (กรณีดำเนินการเอง) โดยมอบหมายให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) นำไปประกอบการจัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี (Biennial Transparency Report: BTR) ฉบับที่ 1

3. เห็นชอบในหลักการต่อร่างบันทึกความตกลง (Letter of Agreement) และเอกสารโครงการ (Project Document) ของโครงการจัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 (BTR1) และรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ร่วมกับรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 2 (NC5/BTR2) เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนลงนามในเอกสารดังกล่าว และเร่งจัดทำรายงาน BTR ฉบับที่ 1 ซึ่งจะต้องส่งให้สำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567

4. สำหรับโครงการของการเคหะแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยสีเขียวประหยัดพลังงาน
ได้เห็นชอบในหลักการต่อร่างบันทึกความตกลงโครงการส่งเสริมที่อยู่อาศัยประหยัดพลังงานและเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และมอบหมายให้การเคหะแห่งชาติ นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอน

5. ร่างกรอบการพิจารณาขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย และ 6. ร่างขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว เพื่อประโยชน์ของทุกภาคส่วนในการเข้าถึงแหล่งเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยมอบหมายให้ สส. เผยแพร่เอกสารดังกล่าวต่อสาธารณชน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image