เปรียบเทียบกันไม่ติด มาตรฐาน รถบัสทัศนศึกษา ไทย-ญี่ปุ่น

เปรียบเทียบกันไม่ติด มาตรฐาน รถบัสทัศนศึกษา ไทย-ญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่เกิดโศกนาฏกรรมรถบัสนักเรียนไฟไหม้ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 23 คน เป็นเด็กๆ 20 และคุณครูอีก 3 คน นั้น เมื่อตนมาลองเปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานความปลอดภัยของรถบัสในการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาในประเทศญี่ปุ่น กับรถบัสที่นำนักเรียนไปทัศนศึกษา ของประเทศไทย ที่พบว่า ในประเทศญี่ปุ่นจะให้นักเรียนชั้นอนุบาลและประถมไปทัศนศึกษาภายในเมืองไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก เน้นเดินชมเมือง แต่หากเป็นชั้นมัธยมจะไปยังต่างเมืองได้ การใช้รถบัสสำหรับการเดินทางจะมีความเข้มงวดมากต้องมีระบบการตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยของรถบัสด้วย

นายสนธิกล่าวว่า รถบัสทัศนศึกษาของญี่ปุ่นนั้น จะต้องการตรวจสอบสภาพรถอย่างละเอียดโดยบริษัทกลางที่ได้มาตรฐานก่อนเดินทางทุกครั้งทั้งระบบเบรก ยางรถยนต์ ไฟส่องสว่าง ระบบเชื้อเพลิง ระบบประตูฉุกเฉิน ระบบเครื่องยนต์และระบบความปลอดภัยต่างๆ รวมทั้งต้องมีการบันทึกรายงานผลการตรวจสอบและการซ่อมบำรุงตามรอบให้เห็นอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ รถโดยสารที่จะนำนักเรียนไปทัศนศึก ษาต้องติดตั้งระบบ GPS เพื่อติดตามตำแหน่งและความเร็วของรถได้ตลอดเวลารวมทั้งต้องมีการใช้ระบบบันทึกการขับขี่ (Digital Tachograph) เพื่อสามารถตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับรถด้วยและมีการวางแผนกำหนดเส้นทางที่ปลอดภัยและความเร็วไว้ก่อน คนขับรถต้องมีใบอนุญาตขับขี่พิเศษสำหรับการขับรถโดยสารโดยต้องผ่านการอบรมและสอบด้านความปลอดภัยและการขับขี่เฉพาะพร้อม มีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและสุขภาพของคนขับรถทุกครั้งที่เช่ารถยนต์

Advertisement

นายสนธิกล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นบังคับให้รถโดยสารต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในทุกที่นั่ง, มีอุปกรณ์ดับเพลิงและค้อนทุบกระจกวางไว้เป็นระยะพร้อมใช้งานได้ทันที และกำหนดให้ติดตั้งกล้องวงจรปิดทั้งภาย ในและภายนอกรถ โดยก่อนการเดินทางจะต้องมีการสำรวจและวางแผนเส้นทางล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงจุดเสี่ยงอันตรายพร้อม มีแผนสำรองในกรณีที่ต้องเปลี่ยนเส้นทางฉุกเฉิน

“ก่อนออกเดินทางต้องเข้าห้องอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการขึ้นลงรถอย่างปลอดภัยรวมทั้งซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ เช่นการหาช่องทางออกฉุกเฉินจากรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือไฟไหม้ เป็นต้นและบอกให้ฝึกสังเกตสิ่งผิดปกติระหว่างการเดินทาง และจะต้องแจ้งแผนการเดินทางให้กับหน่วยงานท้องถิ่นและตำรวจทราบล่วงหน้าก่อน 5 ถึง 7 วันเป็นอย่างน้อยและจัดให้มีระบบการรายงานและติดตามสถานการณ์ตลอดการเดินทางรวมทั้งจัดเตรียมยาทั่วไปและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล โดยมีครูที่ผ่านการอบรมการปฐมพยาบาลร่วมเดินทาง” นายสนธิกล่าว

Advertisement

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กล่าวว่า รถบัสทุกคันที่เดินทางต้องมีประกันภัยที่ครอบคลุมทั้งตัวรถและผู้โดยสารรวมทั้งจัดให้ มีการจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมหากต้องเดินทางไกลหรือไปในที่มีความเสี่ยงอยู่บ้าง มีการบันทึกเหตุการณ์ทุกครั้งหลังการเดินทางรวมทั้งต้องการประเมินผลและวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยทุกครั้ง

นายสนธิกล่าวว่า แล้วหันกลับมาดูประเทศไทยว่ามีสิ่งเหล่านี้ด้วยหรือไม่ ตอบตามตรงคือ แทบจะไม่มีเลย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image