เจาะลึก!! เบื้องหลัง ฝนถล่ม สกลนคร

คืนวันที่ 29 กรกฎาคม จ.สกลนคร มีฝนตกลงมาอย่างหนัก วัดปริมาณได้ คืนเดียว 250 มิลลิเมตร แม้ไม่ใช่สถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีฝนตกลงมาในประเทศไทย แต่ปริมาณดังกล่าว สร้างความเสียหายอย่างมาก

แบบจำลองสภาพอากาศ(วาฟ) ของสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร(สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) อธิบายปรากฏการณ์เกิดฝนตกหนัก ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย วาฟอธิบายว่า น้อยครั้งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเกิดฝนตกหนักและมีน้ำท่วมในช่วงเวลานี้ เพราะโดยปกติแล้ว ปรากฏการณ์แบบนี้ จะเกิดในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน

แต่สาเหตุที่เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเวลานี้ เป็นเพราะ พายุโซนร้อนเซินกา ที่ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยทิศทางของพายุดังกล่าวตั้งแต่แรกคือ พื้นที่ภาคเหนือ กระทั่ง วันที่ 23 กรกฎาคม ทิศทางของพายุดังกล่าวก็ยังคงมุ่งหน้าเข้าพื้นที่ภาคเหนืออยู่ กระทั่งวันที่ 24 กรกฎาคม ได้เกิดการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน เนสาท ที่บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ จึงทำให้พายุโซนร้อนเซินกา ถูกเหนี่ยวนำ และเปลี่ยนทิศทางต่ำลงมาเข้าสู่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแทน

อีกทั้งในวันที่ 26 กรกฎาคม ก็ได้เกิดพายุอีกลูก คือ พายุโซนร้อน ไห่ถาง ที่ก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ ด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้พายุเซินกา ที่เคลื่อนตัวมาปกคลุมพื้นที่ จ.มหาสารคาม ในขณะนั้น ถูกเหนี่ยวนำให้วกกลับ แล้วเคลื่อนที่ขึ้นไปยัง จ.สกลนคร แทน ทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 27-29 กรกฎาคม และอ่อนกำลังลงในวันที่ 30 กรกฎาคม บริเวณรอยต่อของประเทศลาว กับ จ.หนองคาย

Advertisement

ทั้งนี้ ในวันที่ 31 กรกฎาคม ทั้งพายุดีเปรสชัน เนสาท และ พายุ โซนร้อนไห่ถาง ซึ่งมีทิศทางเคลื่อนที่ไปยังประเทศไต้หวัน ก็ได้เกิดการรวมตัวกัน โดย พายุไห่ถางได้ดูดกลืนพลังงานของพายุดีเปรสชันเนสาท ทำให้พายุทั้ง 2 ลูกมีการควบครวมกัน บริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีน เรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า ปรากฏการณ์ ฟูจิวารา เอฟเฟค ปรากฏการณ์นี้ ไม่มีผลใดๆกับประเทสไทย แต่จะส่งผลให้ประเทศไต้หวัน และประเทศจีนตอนใต้ มีฝนตกหนักมาก เพราะมีพายุเข้าไปถึง 2 ลูกในช่วงเวลาเดียวกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image