วท.คลอด “บิ๊กดาต้า” ชี้เป้ารายจังหวัดใครจนบ้าง

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) เปิดเผยว่า วท. ได้จัดทำข้อมูลบิ๊กดาต้าการแก้ปัญหาคนจนและระบุปัญหาของเกษตรกรและปัญหารายจังหวัด(Thai Poverty Map and Analytics Platform) ของประเทศไทยหรือระบบบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบชี้เป้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็นโรดแมปหรือแผนที่นำทางในการนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำนโยบายแก้ ปัญหาความยากจนและ ลดความเหลื่อมล้ำคนในประเทศ เพื่อใช้ขับเคลื่อนประเทศให้มีประสิทธิภาพและตรงจุดมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญข้อมูลดังกล่าวจะเป็นรากฐานสำคัญต่อการบริหารของรัฐบาลที่จะกำหนด นโยบายความช่วยเหลือคนจนและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายสุวิทย์ กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าว สามารถระบุได้เลยว่าคนจนอยู่ที่ไหน ต้องการอะไรและจะพ้นความยากจนได้อย่างไร และคนจนในแต่ล่ะอาชีพ ก็จะมีปัญหาแตกต่างกัน อาทิ คนมีอาชีพทำนา จะมีปัญหาการเงินมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา เป็นการศึกษา การเข้าถึงบริการรัฐ สุขภาพ และความเป็นอยู่ คนมีอาชีพทำไร่ จะมีปัญหาการเงินมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น การเข้าถึงบริการรัฐ การศึกษา สุขภาพและความเป็นอยู่ คนทำสวน ปัญหาอันดับหนึ่งคือการเงิน รองลงมาเป็นเรื่องการศึกษา สุขภาพ การเข้าถึงบริการของรัฐและความเป็นอยู่ ส่วนอาชีพประมงและปศุสัตว์ มีปัญหาเหมือนกันคือการเงิน การศึกษา การเข้าถึงบริการของรัฐ สุขภาพและความเป็นอยู่

รัฐมนตรีวท. กล่าวต่อว่า ดังนั้นบิ๊กดาต้า ที่วท. จัดทำขึ้นจะแก้ปัญหาคนจนแบบชี้เป้า โดยจากข้อมูลพบว่า 10 จังหวัดที่มีคนยากจนมากที่สุดคือ แม่ฮ่องสอน กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ น่าน นครพนม นราธิวาส ปัตตานี ชัยนาท ตาก อำนาจเจริญ นั้น

“อย่าง จ.แม่ฮ่องสอน ข้อมูลระบุว่า มีประชากร 68,909 คน มีคนจน 24,132 คน และสามารถแยกได้เลย เด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับ มี 6,778 คน ไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาล 10,113 คน คนในบ้านอ่านเขียนคิดเลขไม่ได้ 8,843 คน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน 9,859 คน เป็นต้น หรือจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ อย่าง จ.นนทบุรี พบว่ามีเด็กไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับถึง 7,436 คน ไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลถึง 3,557 คน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน 761 คนหรือ จ.ชลบุรี ที่ถือว่ามีความเจริญ ยังพบว่า มีเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับถึง 14,342 คน ไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาล 5,282 คน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน 2,516 คน หรือ จ.เชียงใหม่ ที่ถือว่ามีความเจริญมาก ยังพบว่า มีเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับถึง 37,472 คน ไม่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล 32,027 คน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน 46,031 คน หรือย่าง จ.นครศรีธรรมราช มีเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับถึง 12,325 คน ไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาล 8,805 คน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน 12,777 คน เป็นต้น”รัฐฒนตรีวท. กล่าว

Advertisement

นายสุวิทย์ กล่าวว่า ถ้าเป็นภาพรวมทั้งประเทศส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการเงินหรือการศึกษาจะอยู่ลำดับต้นๆ ขณะที่เขตปริมณฑล จ.นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาล ส่วนหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการของรัฐ ทั้ง แหล่งเงินทุน การช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุอยู่ในลำดับต้นๆ ซึ่งต่างจากภาคอื่น หลายจังหวัดในภาคเหนือ มีปัญหาเรื่องความเป็นอยู่ สภาพบ้าน น้ำกิน น้ำใช้ ส้วม ที่ประกอบอาหาร ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆ จังหวัดในภาคใต้ ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการเงิน รายได้ของคนในบ้าน ไม่มีอาชีพ ยกเว้น จ.ภูเก็ต จังหวัดในภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการศึกษาเป็นอันดับหนึ่ง

นาย สุวิทย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาคนจนจะให้แต่ละหน่วยงานแก้ปัญหากันเองโดยใช้ข้อมูลที่ มีภายในหน่วยงานนั้น ๆ ทำให้บางปัญหาเกิดการทับซ้อนกันในการให้ความช่วยเหลือ บางปัญหาใช้วิธีแก้ปัญหาแบบปูพรม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบนโยบายเดียวซึ่งใช้ได้บางพื้นที่ แต่ไม่สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ ขณะเดียวกันบางปัญหาไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปแก้เลย ท้ายที่สุดประเทศไทยก็ยังไม่สามรถตอบได้ตรงจุดว่าใครคือคนจน คนจนอยู่ที่ไหน ปัญหาของคนจนคืออะไรและจะแก้ปัญหาคนจนอย่างยั่งยืนได้อย่างไร

“วท.จะนำบิ๊กดาต้าการแก้ปัญหาคนจนและระบุปัญหาของเกษตรกรและปัญหารายจังหวัด ไปแก้ปัญหาโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เริ่มที่ จ.บุรีรัมย์ 1 ใน 10 จังหวัดยากจน ในวันที่ 6 – 7 พฤษภาคม นี้ ในการประชุม ครม.สัญจร โดยจะลงพื้นที่แก้ปัญหาที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระ ราชดำริ บ้านลิ่มทอง – บ้านโคกพลวง ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาน้ำและปัญหาความยากจน เพื่อนำ ความสำเร็จของชุมชนลิ่มทองหรือ “ลิ่มทองโมเดล” ไปดำเนินการร่วมกับกองทุนหมู่บ้าน ใน 800 พื้นที่ทั่วประเทศ เพราะเรื่องน้ำ คือ เรื่องสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ถ้าเกษตรกร มีน้ำดีจะทำให้พืชผลทางการเกษตรดีตามไปด้วยและลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองบ้านสนวนนอก หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมและวิถีชีวิตพอเพียง อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปช่วยกระบวนการผลิต – สร้างมูลค่าเพิ่ม “การทอผ้าไหมหางกระรอก” เพื่อสร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค”รัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image