‘ผส.’ เล็งนำร่องตั้ง ‘ธนาคารเวลา’ ระดับชุมชน

แฟ้มภาพ

นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการหารือแนวทางการดำเนินงานธนาคารเวลา ซึ่งมีนักวิชาการ เอ็นจีโอ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ อาคารดรุณวิถี บริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กรุงเทพฯ ว่า

ตามที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ผส.ไปศึกษาแนวทางการจัดตั้งธนาคารเวลา โดยศึกษาจากหลายประเทศที่ทำสำเร็จ ในการมีอาสาสมัครมาดูแลผู้สูงอายุ โดยมีธนาคารคอยบันทึกเวลาที่ให้บริการ และเมื่ออาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุที่ต้องการผู้ดูแล ธนาคารจะจัดส่งอาสาสมัครให้บริการตามเวลาที่สะสมไว้นั้น จึงได้ระดมความคิดเห็น และพบว่า

ที่ผ่านมาไทยมีการทำลักษณะนี้ แต่เป็นการทำโดยไม่หวังผลตอบแทนในลักษณะจิตอาสา หรือทำสะสมความดีแล้วนำมาแลกสิ่งของ ขณะที่ภาพรวมของที่ประชุมมองตรงกันว่า ธนาคารความดีควรทำในระดับชุมชน เพราะสามารถตรวจสอบได้โดยชุมชน ลดปัญหาการทุจริตเวลาการทำความดี รวมถึงทำความดีกับกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน อาทิ ดูแลพูดคุย อาหารการกิน มากกว่าผู้สูงอายุติดเตียงที่ผู้ดูแลต้องมีทักษะความรู้ โดยใน 1-2 เดือนจากนี้แนวคิดนี้จะชัดเจนขึ้นว่าอะไร ยังไงบ้าง

นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ

ขณะที่ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กล่าวว่า

Advertisement

ธนาคารเวลาควรเริ่มต้นทำในระดับชุมชนก่อน เพราะคนในชุมชนส่วนใหญ่รู้จักกัน รู้ว่าทำไปแล้ววันหลังได้คืนมา คนที่มาทำคือใคร และไว้ใจได้ไหม แต่ก็ต้องชัดว่าเป็นบริการอะไร ระดับไหน อย่างในต่างประเทศ เป็นบริการแบบไม่ถูกเนื้อต้องตัว อาทิ ซื้ออาหาร ทำความสะอาด พาไปนั่งสนามหน้าบ้าน ไม่ใช่มาบริบาลผู้สูงอายุติดเตียง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image