‘บางเขน’ พื้นที่ต้นแบบ คุม ‘โรคพิษสุนัขบ้า’ ด้วยภาคีเครือข่าย

22 พฤษภาคม 2561 สำนักงานเขตบางเขนŽ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รับประกาศเกียรติคุณจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเป็นองค์กรที่ทรงคุณค่าและมีคุณูปการในโครงการรณรงค์ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าŽ

นับเป็นพื้นที่แรกและพื้นที่เดียวของกรุงเทพฯ ที่ได้รับรางวัลนี้ ทั้งๆ ที่ 2 เดือนก่อนหน้านี้ ในเดือนมีนาคม เขตบางเขน คือ หนึ่งในพื้นที่สีแดงที่กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศให้เป็นเขตระบาดชั่วคราวของโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากพบว่า มีสุนัขในพื้นที่จำนวน 2 ตัวติดเชื้อโรคดังกล่าว

ขณะนั้นทั่วประเทศมีถึง 22 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพฯที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดง ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนอย่างมาก เพราะต่างก็รู้ว่าโรคนี้ถ้าติดเชื้อแล้วรักษาไม่หาย มีแต่จะตายกับตายเท่านั้น

ชุมชนอนันต์สุขสันต์ รุ่น 18,19,20

จากประกาศของกรมปศุสัตว์ นายสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการเขตบางเขน ได้ พลิกวิกฤตเป็นโอกาสŽ ด้วยการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในพื้นที่ประชุมเร่งด่วน ประกอบด้วย ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน, นายสัตวแพทย์กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข, สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กระทรวงสาธารณสุข, ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม และฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล กระทั่งเกิดเป็น ภาคีเครือข่ายรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าŽ ซึ่งนอกเหนือจากหน่วยงาน
ที่ร่วมประชุมแล้ว ยังมีปศุสัตว์กรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 กรรมการชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงานเอกชน มีเป้าหมายทำให้ใน 77 ชุมชน 4 วัด และโรงเรียนอีกกว่า 10 แห่ง ในพื้นที่ ปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าŽ

Advertisement
สมบูรณ์ หอมนาน

ผอ.สมบูรณ์เล่าว่า ปกติทุกปี สำนักอนามัย กทม.จะประสานให้แต่ละเขตจัดทำปฏิทินฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวปีละ 2 รอบ แต่ละรอบจะดำเนินการต่อเนื่อง 10 วัน ซึ่งปีนี้ก่อนที่เขตจะถูกประกาศเป็นพื้นที่สีแดงก็กำลังดำเนินการในรอบแรก แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น เครือข่ายได้วางแผนปฏิบัติงานโดยกำหนดลงพื้นที่หมุนเวียนไปฉีดวัคซีน ทำหมัน และฝังไมโครชิปให้สัตว์ใน 77 ชุมชน อีก 24 ครั้ง

แต่วิธีการจะฉีดวัคซีนสัตว์ให้ได้ครบทุกตัวไม่ใช่เรื่องง่าย จากความร่วมมือนี้ จึงอาศัยศักยภาพของแต่ละหน่วยงานวางแผนเข้าพื้นที่ เริ่มจากสำนักงานเขตบางเขนกางแผนที่ชุมชน จัดกลุ่มโซนชุมชนเพื่อกำหนดวันลงพื้นที่ จากนั้นสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่อนามัยเดินสายไปฉีดวัคซีนพร้อมทั้งให้ความรู้ สร้างความตระหนักกับชาวชุมชน โดยมีกรรมการชุมชนดูแลอำนวยความสะดวกให้สามารถทำงานได้ตามแผน เริ่มครั้งแรกที่ชุมชนอนันต์สุขสันต์ รุ่น 18, 19, 20

ชุมชนอนันต์สุขสันต์ รุ่น 18,19,20

เพราะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีสัตว์เลี้ยงจำนวนมาก และประสานให้ชุมชนเพชรสยาม ชุมชนสุขฤดี ซึ่งอยู่ข้างเคียงเข้าร่วมด้วย อีกทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบถาวรที่สำนักงานเขต เพื่อรับเรื่องนี้โดยตรงทั้งประสานฉีดวัคซีน ทำหมัน ฝังไมโครชิป จับสุนัขจรจัด

Advertisement
ชุมชนเพชราวุธ
ชุมชนพหลฯ48

ผอ.สมบูรณ์กล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มกิจกรรมในวันที่ 17 มีนาคม ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม และอีก 10 วันก่อนหน้านั้น สามารถฉีดวัคซีนให้สัตว์ได้มากถึง 4,231 ตัว และภารกิจควบคุมโรคพิษสุนัขบ้านี้แทบไม่ได้ใช้งบประมาณ เพราะอาศัยเครื่องมือและบุคลากรที่มี บวกกับความร่วมมือจากเครือข่ายช่วยกันคนไม้คนละมือ ที่สำคัญไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ เพราะในเดือนกันยายนจะมีการลงพื้นที่ไปฉีดวัคซีนซ้ำต่อเนื่องอีก 10 วันเช่นเดิม

เจริญ ผิวสีนวล

ทางด้าน นายเจริญ ผิวสีนวล ประธานชุมชนอนันต์สุขสันต์รุ่น 18, 19, 20 เล่าว่า ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 3,000 คน กว่า 900 หลังคาเรือน เกือบทุกบ้านมีสัตว์เลี้ยง ถ้าไม่ใช่สุนัข ก็แมว ประมาณ 800 กว่าตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงดูแบบปล่อยให้ออกไปอยู่นอกบ้าน นอกจากนี้ ยังมีสัตว์กึ่งจรจัดอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่อาศัยตามพื้นที่รกร้าง และริมถนน

“พวกนี้ไม่ยอมไปไหน เพราะมีคนในชุมชนให้อาหารมันกิน แต่ช่วงที่โรคพิษสุนัขบ้าระบาด ชาวบ้านในชุมชนเกิดความวิตกกังวลอย่างมาก กลัวจะถูกสุนัขพวกนี้กัดแล้วติดเชื้อ จึงให้ความร่วมมือนำสัตว์ไปฉีดวัคซีน ก่อนถึงวันนัดทำกิจกรรม กรรมการชุมชนจะแจ้งบอกข่าวผ่านทางหอกระจายเสียงล่วงหน้าวันละ 3 เวลา นัดให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงนำไปฉีดวัคซีนที่ศาลาอเนกประสงค์ของชุมชน หากใครต้องการทำหมันสัตว์และ
ฝังไมโครชิปด้วยให้ลงทะเบียนล่วงหน้า”Ž นายเจริญกล่าว และว่า เพียง 1 วัน สัตว์ในชุมชนทั้งสุนัข แมว กระต่าย ได้ฉีดวัคซีนมากถึง 581 ตัว เรียกว่าฉีดกันเกือบทุกบ้าน เพราะบ้านไหนสัตว์ตัวใหญ่ เจ้าของอุ้มออกจากบ้านไม่ไหวเจ้าหน้าที่ก็ไปฉีดให้ถึงบ้าน และในจำนวนนี้ให้ทำหมัน 46 ตัว ฝังไมโครชิป 13 ตัว

งานนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะได้รับความร่วมมือจากชาวชุมชนเป็นอย่างดี แต่ถามว่า จะปลอดโรคพิษสุนัขบ้า 100% หรือไม่ ตอบได้เลยว่า คงไม่ 100% แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image