The Hel(l)met Show EP.99 : เด็กไทยคะแนน O-NET ตก เด็กที่สอบหรือผู้ออกข้อสอบมีปัญหา ?

 

ผลการสอบ O-Net ของเด็กไทยต่ำกว่ามาตฐานกระทรวงศึกษาธิการเร่งแก้ไขปัญหาทำให้สะท้อนถึงกระบวนการการศึกษาไทย กว่าล้มเหลว หรืออาจเกิดจากแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดมาโดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

 

Advertisement

O-Net คือการทดสอบเพื่อวัดและประเมินผลการศึกษาของแต่ละโรงเรียนเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศและยังสามารถนำผลการทดสอบไปสมัครคัดเลือกเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย และสถาบันอุดมศึกษา โดยมี สทศ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ชั้น ป.6  และชั้น ม.3 โดยข้อสอบเหลือแค่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เริ่มปีการศึกษา 255

 

จากการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของการสอบโอเน็ต ป.6 พบว่า วิชาภาษาไทย เข้าสอบ 716,771 คน คะแนนเฉลี่ย 49.33 คะแนน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เข้าสอบ 716,784 คน เฉลี่ย 49.18 คะแนน สูงสุด 98 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน ภาษาอังกฤษ เข้าสอบ 716,780 คน เฉลี่ย 40.31 คะแนน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน คณิตศาสตร์ เข้าสอบ 716,684 คน เฉลี่ย 43.47 คะแนน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน วิทยาศาสตร์ เข้าสอบ 716,778 คน เฉลี่ย 42.59 คะแนน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน ทั้งนี้ ในภาพรวมผลการทดสอบมีค่าคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของปีการศึกษา 2557 ยกเว้นวิชาสังคมศึกษาฯ ที่ค่าคะแนนเฉลี่ยในปีนี้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเพียงเล็กน้อย

 

ก่อนหน้านี้มีประกาศผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2558 ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ย 5 วิชาหลัก ไม่ถึงครึ่ง ทั้งที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศว่าปีนี้เด็กไทยต้องสอบโอเน็ตได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 แต่ผลสอบเฉลี่ยของนักเรียนยังตกหมดทุกวิชาเช่นเดิม นอกจากนี้ สทศ.ยังออกข้อสอบเน้นการวิเคราะห์ ขณะที่โรงเรียนยังสอนแบบท่องจำ และคุณภาพของโรงเรียนยังเหลื่อมล้ำ

 

อ.พิชญ์ มองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบางคนมองว่าการศึกษาทำให้เรามีอนาคต งานวิจัยการศึกษาจำนวนมากเห็นตรงกันว่ายิ่งมีการศึกษายิ่งทำให้เด็กไม่มีอนาคต เพราะว่าเด็กเริ่มเข้าไปอยู่ในระบบแบบนี้และเริ่มรู้สึกว่าการศึกษาที่สอนอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้ให้ความหมายกับชีวิตของเขามากนัก และเริ่มมีการคาดหวังกับตัวเองน้อยลง ทำให้อนาคตของเด็กบางคนถูกมองแคบลง โดยเราไปคาดหวังทำข้อสอบยากๆเพื่อวัดให้เด็กที่เก่งที่สุด แต่เราลืมดูว่าคนส่วนใหญ่คือคนไม่เก่ง และเราจะทำอย่างไรให้คนไม่เก่งเขามีความฝันและโอกาส

 

ด้านคุณสุรนันทน์ มองว่าตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษามาทั้งหมดนี้กระทรวงศึกษาธิการและนโยบายการศึกษาไทยไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของข้าราชการมากกว่าที่จะหาวิธีนำ ความรู้ เนื้อหาดีๆ เข้าสู่ระบบ เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาหรือให้โอกาสเด็กในการสื่อสาร และสามารถการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจกับความรู้ที่ได้รับมา

 

 

 

ติดตามรายการ “The Hel(l)met Show หมวกกันน็อค” ได้ทางมติชนออนไลน์ หรือ ทางช่องทาง Youtube ในช่อง MatichonTV วันจันทร์ – พุธ – ศุกร์ 18.00น.

ดำเนินรายการโดย “ไบค์เกอร์หนุ่มใหญ่” ที่สลัดคราบอาจารย์นักวิชาการ “พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์”

“เจ้าของร้านกาแฟนักปั่นย่านสุขุมวิท” จากอดีตนักการเมืองที่ช่วงนี้ต้องพักงาน “สุรนันทน์ เวชชาชีวะ”

Don’t be insane protect your brain !!!
รักสมอง…ลอง “หมวกกันน็อค” !?

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image