พาณิชย์ เล็งชงรัฐบาลใหม่ หลังเลือกตั้ง ปัดฝุ่นเจรจาเปิดเสรีค้ากับยุโรป

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจราจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯมีแผนจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหภาพยุโรป(อียู) หลังจากมีการระงับความสัมพันธ์ทางการค้า เนื่องจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้ทางอียูได้มีการประกาศจะกลับมาพูดคุยกับไทยในทุกระดับ ครั้งที่พล.อ.ประยุทธิ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยไปเยือนอียู ส่วนการเจรจาเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ต้องรอหลังการเลือกตั้ง เท่าที่ทราบขณะนี้ทางภาคเอกชนพยายามสนับสนุนให้มีการเจรจารเรื่องเอฟทีเอต่อ ดังนั้นทางเราก็ต้องเตรียมความพร้อมในการเจรจาเอฟทีเอรอบใหม่

” ไทยได้เจรจาเอฟทีเอกับอียูไปแล้ว 4 รอบ ปีละครั้ง แต่ต้องหยุดชะงักเพราะปัญหาภายในประเทศ หากกลับมาคุยเรื่องเอฟทีเออีกครั้ง ต้องปรับปรุงข้อมูลที่เคยเจรจาไปก่อนหน้านี้ ให้ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยช่วงที่หยุดการเจรจาไป แต่ละฝ่ายมีพัฒนาการด้านการค้าอย่างไร มีการปรับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ อย่างไรบ้าง จากนั้นต้องกลับมาคุยกันว่า หากจะเดินหน้าทำเอฟทีเอ ต่อจะต้องนำเรื่องอะไรมาเจรจากัน ตรงนี้ยังไม่ถึงขึ้นนั้นเพราะยังไม่การประกาศว่าจะฟื้นการเจรจา ไทยต้องทำการบ้านล่วงหน้า ” นางอรมน กล่าว

นางอรมน กล่าวว่า นอกจากนี้จะรื้อฟื้นการเจรจาการเจรจาการค้ากับการค้าเสรียุโรป(เอฟตา)หรือ EFTAประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์ ที่ต้องหยุดการเจรจาเพราะเหตุผลเดียวกับอียู ซึ่งทั้ง 4 ประเทศให้ความสนใจในการเจรจาการค้ากับไทย และไทยก็สนใจ กำลังเตรียมบุคคลากรไว้ล่วงหน้า ซึ่งมูลค่การค้าของทั้งอียูและเอฟตาถือมีมากพอสมควร ส่วนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ก็มีความคืบหน้าไปมาก คาดจะลงนามได้ปี2562

นางอรมน กล่าวว่า การเปิดเสรีการค้าจะช่วยเพิ่มการค้าระหว่างกันได้มากขึ้น และเป็นแนวทางการเพิ่มการส่งออกและดึงการลงทุนเข้าไทย ดูจากสถิติการเปิดเอฟทีเอของไทยกับหลายประเทศ การค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ การค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น มีมูลค่า 44,595.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.1% โดยเไทยส่งออกไปญี่ปุ่น 18,563.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยนำเข้า 26,032.1 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสถิติแสดงให้เห็นถึงศักยภาพตลาดญี่ปุ่นที่ไทยไม่อาจมองข้ามได้ ซึ่งกลุ่มสินค้าของไทยที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป เกษตรอินทรีย์ อาหารเพื่อสุขภาพ รวมทั้งอาหารไทยพร้อมรับประทาน ดังนั้นไทยควรศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ตรงกับรสนิยมชาวญี่ปุ่น เจาะเข้าสู่ตลาดเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น และมองหาโอกาสจากธุรกิจบริการที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ บริการด้านการต้อนรับ และ บริการที่สร้างสรรค์

Advertisement

สำหรับการค้าและการลงทุนไทยกับอียูปี 2560 มูลค่า 44,302.23 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 23,700.22 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยนำเข้า 20,602.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และช่วง 7 เดือนแรกปีนี้มี มูลค่าการค้ารวม 28,398.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยส่งออกมูลค่า14,828.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้า 13,569.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการลงทุนโดยตรงปีก่อนของอียูในไทย มีมูลค่า 6,575.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการลงทุนโดยตรงของไทยในอียู 11,622.98 ล้านเดอลลาร์

ส่วนการค้าไทยกับ EFTA ปีก่อนมีมูลค่า 12,331 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออก 4,735 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลบ 69.29% และ นำเข้า 7,596 ล้านดอลลาร์ ส่วนการลงทุนโดยตรงของ EFTAในไทย ได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ 328 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอร์เวย์ 32.08 ล้านหรียญสหรัฐฯ ไอซ์แลนด์ 6.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลิกเตนสไตน์ 5.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image