กลุ่มฮักน้ำจาง บ.นากว้าว ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง สร้างอาหารให้ชุมชน ด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ตอนที่ 2 จบ. (ชมคลิป)

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และถือปฏิบัติของคนในชุมชนบ้านนากว้าว ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งปัจจุบันเป็นชุมชนตนแบบที่หันมาร่วมกันพัฒนาชุมชน ภายใต้ชื่อกลุ่มฮักน้ำจาง ที่ยังคงวิถีชีวิต ผนวกกับเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างลงตัว

ชุมชนนากว้าว บ้านกิ่ว ถือเป็นชุมชนที่ทำเรื่องของกสิกรรมเกษตร ชาวบ้านจะทำเกษตรอินทรีย์ ที่ยึดปฏิบัติทำมา 8- 9 ปี แต่ด้วยผลผลิตที่มีไม่ขาดการยกระดับ ขายได้ราคาที่น้อยกว่าต้นทุนการผลิต

เปรมศักดิ์ สุริวงศ์ใย ประธานกลุ่มฮักกรีน (HUG GREEN) หนึ่งในลูกหลานของคนที่นี่ เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนตนเองออกไปอยู่ข้างนอกไปทำงานในเมือง แต่หลังจากกลับมา ด้วยว่าต้องกลับมาดูแลพ่อจึงมีโอกาสได้ทำงานเกี่ยวกับชุมชนมากขึ้น คิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม “ฮักน้ำจาง”

Advertisement

“ที่นี่นอกจากการทำเรื่องของเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อวิถีชีวิตอะไรต่างๆ เรามองว่าน่าจะมี อะไรที่ชัดเจนแล้วชาวบ้านเองน่าจะได้ประโยชน์ตรงนั้นมากขึ้น จึงกลับมาคิดและชวนเพื่อนๆ มาทำกันจึงเกิดกลุ่ม ฮักกรีนขึ้นมา”

เปรมศักดิ์และกลุ่มเพื่อนฮักกรีน เริ่มพัฒนาชุมชน โดยการเข้ามาพัฒนาต่อยอดเรื่องการตลาด เรื่องของกิจกรรม สร้างเครือข่ายให้มากขึ้น เพราะเขามองว่าเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่แค่ในชุมชน เกษตรอินทรีย์ต้องไปทั่วไม่ต้องจำเป็นว่าต้องมาทำที่นี่ จึงเกิดอาสาสมัครฮักกรีนขึ้นมา

“สร้างความเข้าใจ พัฒนา ยกระดับ เพิ่มมูลค่าจากสิ่งที่มีในชุมชน”

Advertisement

การเปลี่ยนชุมชนเป็นเรื่องลำบาก แต่แค่มาพัฒนาให้ดีขึ้น เพราะอย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็ยังเป็นชาวบ้าน การตลาดของที่นี่ยังเป็นการตลาดแบบบ้านๆ ด้วยชาวบ้านบางทีก็ยังไม่รู้ว่าข้างนอกยังไง คนข้างนอกก็ไม่รู้ว่าชาวบ้านฮักน้ำจางจริงๆคืออะไร ทำอะไรบ้าง ดังนั้น ความพยายามทำกาดเขียวขึ้นมา ฮ็อปบี้มาร์คเก็ตขึ้นมา ไปปลูกต้นไม้ ไปสร้างฝายให้คนข้างนอกเข้ามาเข้าใจ และเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่างๆ จึงเป็นหนทางเดียวที่ทำได้

“ตอนนี้กำลังพยายามทำในตัวอำเภอนี้ให้ขยายมากขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเร็ว เราต้องการให้มันแน่นจริงๆว่ากลุ่มที่สนใจเรื่องของ ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกหรือการส่งเสริมชุมชนไม่ได้มองแค่ว่าการซื้อผักมากิน แต่นอกเหนือจากนั้นเขาต้องเข้าใจว่ากว่าที่จะมาเป็นผัก เป็นอาหารบนจานมันคืออะไร ระหว่างทางที่เราไปตรงนั้นทุกคนมีโอกาสได้ทำอะไรหลายๆอย่างรวมกัน”เปรมศักดิ์ กล่าว

มีชัย สายต๊ะวัง สมาชิกกลุ่มฮักน้ำจาง หันมาสนใจเริ่มเข้ามาร่วมกลุ่มหลังจากที่กลุ่มเกิดขึ้น 1-2 ปี แต่ด้วยเห็นคนในชุมชนที่เข้าร่วมทำแล้วดี อีกอย่างตรงกับที่ตัวเราชอบด้วย ชอบปลูกผัก ปลูกไม้แบบนี้ จึงหันมาปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรทำสวนผสมผสาน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน + เทคโนโลยี + นวัตกรรม กุญแจสำคัญในการพัฒนาชุมชน

ชุมชนฮักน้ำจาง วันนี้ตรงนี้ถือเป็นอาหารเป็นยา พืชผักที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้านตามฤดูกาลโดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมี นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคนในชุมชนรู้ว่าผักพวกที่พวกเขาปลูกนั้นมีดีอย่างไร พอเขากินเขาก็รู้ ทำให้สุดท้ายคนที่จะทำตลาดไม่ใช่กลุ่ม คนที่จะทำตลาด คนที่จะเป็นพรีเซ็นเตอร์ก็คือตัวชาวบ้านเอง จะสามารถเล่าเรื่องที่พวกเขาทำเองโดยธรรมชาติ ฮักกรีนไม่จำเป็นต้องอยู่ แต่ด้วยไอเดียต่างๆชาวบ้านที่อยู่ตรงนั้นต้องมี

 

“ทีแรกหันมาทำตัวนี้ก่อน ผักเชียงดากับผักกูดก่อน ทำไปแล้วมันดูดี ก็เลยลงมะนาวเพิ่มทีละอย่างทีละอย่าง ไม่ได้ลงทีเดียวหมด ลงทีละอย่างผสมผสานกันไป ผลตอบรับต่อเดือนต่อปีมันก็ดีขึ้นเรื่อ ผักเราไม่ค่อยพอ เก็บทุกวัน ไปทุกวัน ผักไม่ซ้ำทุกวัน สมมุติว่าไปขายวันนี้ไม่หมด เหลือคนละกำสองกำพรุ่งนี้ไม่ให้เอาไปนะ แจกกันไปกิน ต้องเก็บใหม่ตอนเช้า ไม่ต้องกลัวว่าผักจะซ้ำ” มีชัย เล่าด้วยรอยยิ้ม

“ถ้าเราเดินไป ก็จะมีดอกอัญชัญ สมุนไพรที่มีอยู่แล้วในชุมชน ซึ่งถ้าเรามองตลาดข้างนอกของพวกนี้ยังมีความต้องการเยอะทั้งในประเทศและต่างประเทศพอคนที่รู้มากขึ้นก็สามารถไปต่อยอดได้อีก” เปรมศักดิ์ กล่าวด้วยน้ำเสียงดีใจ

“ชาวบ้าน ชุมชน ได้อะไร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง”

หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในชุมชน ก่อให้เกิดเครือข่ายที่มันแน่ เหมือนแบสของสังคมที่เริ่มมาจากตัวครอบครัวนแล้วค่อยๆขยายแตกยอดออกไปสร้างการปฏิสัมพันธ์ ชาวบ้านเกิดการคุยกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กัน เสร็จมันก็จะตกไปถึงเด็กๆอันนั้นคือคำว่ายั่งยืน คำว่ายั่งยืนไม่ได้หมายความว่าต้องเสร็จทีเดียว ยั่งยืน คือเขาสามารถต่อไปเรื่อยๆจากรุ่นสู่รุ่น

“ทีแรกไม่คิดว่าจะทำมาขายได้วันละสี่ร้อยห้าร้อย ไม่ได้คิดถึงตัวนี้ คิดแค่ทำให้ลูกเมียกิน เราก็พอใจในตัวเราแล้ว ไม่ได้หวังว่าจะขายหรืออะไร ลูกเราได้กินของดี เมียเราได้กินของดี พ่อแม่เราได้กินของดี เหลือจากกินเราก็ให้พี่ให้น้องและแจก คิดไว้อย่างนั้น” มีชัย กล่าว

เปรมศักดิ์ เล่าต่อว่า เราพยายามทำให้ชาวบ้านได้ ตัวฮักกรีนสามารถมีกิจกรรมมีงานเข้ามา เพราะเราทำที่นี่ก็คือเป็นอาสามัคร ไม่มีทุนที่จะมาทำอยู่แล้ว แต่เมื่อลูกค้าเข้าใจ รับได้ ซื้อของจากชาวบ้านด้วยกลุ่มนี้ แล้ว กลุ่มนี้ก็จะคืนให้ชาวบ้านอีก สุดท้ายแล้วมันไม่ได้อยู่ว่าเสร็จหรือได้ตัวโปรดักออกมา แต่ระหว่างทางที่ผมทำงานกับแต่ละคนเราได้คุยกัน ระหว่างนั้นเขาได้พัฒนาของเขาต่อยอดไปอีก

“ระหว่างทาง…ปัญหา อุปสรรค์ แก้ไขอย่างไร”

ปัญหาถ้าเกิดมองว่าเป็นปัญหา ก็เป็นปัญหา เหมือนกันเราทำงานในออฟฟิตอยู่ในเมืองหรือใช้ชีวิตถ้ามองว่าอันนี้ปัญญาก็ปัญหา ซึ่งการแก้นั้นถ้าจะบอกว่ายากก็ยาก อย่างกลุ่มฮักน้ำจางมีไลน์กลุ่ม บางคนใช้ไม่เป็นก็มีปัญหา ทำไมไม่โทรหา ทำไมไม่ไปบอก เราก็ค่อยๆเปลี่ยนไป โอเครคนก็ไม่เป็นไร คนที่ไม่ได้อ่านเราก็ยอมหน่อย ยอมไปบอกเขา ยอมไปคุยกับเขา ใช้เวลากับเขา แต่พอเขารู้ว่าผลที่มันได้คนเข้าใจมากขึ้น สิ่งที่ได้ตอบโจรทย์ของการแก้ปัญหาของเขาเอง เขาเองก็ยอมที่จะทำ โดยที่เราไม่ต้องบอกว่าต้องทำนะ ต้องทำนะ แต่ให้มันไปเรื่อยๆของมัน

“ปัจจัยความสำเร็จเริ่มจากครอบครัว และคนในชุมชน”

ในช่วง 8-9 ปี ชุมชนแห่งนี้ทำงานเริ่มจาก 5 ครอบครัว แต่ตอนนี้เพิ่มมามากกว่า 50 กว่าครัวเรือนที่เข้ามาร่วมทำงาน ซึ่งรูปแบบการทำงานนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกัน จะแยกกันทำงานออกไป อย่างคนขายก็เป็นชาวบ้านออกไป รายได้เข้ามาชาวบ้านกลุ่มฮักน้ำจางก็จะตัดเข้ากลุ่ม ซึ่งนอกเหนือจากนี้แล้วสิ่งที่ชาวบ้านได้ตอนนี้ คือ ชุมชนเข้าใจ กลุ่มฮักน้ำจางเข้าใจ ผู้บริโภคเข้าใจ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image