“เอลนีโญ่” ดับฝัน คนกรุง ทำหนาวหด

วาฟžไขข้อข้องใจ
เหตุไฉนไม่หนาวž

อากาศหนาวนิดๆ 2-3 วัน เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำคนกรุงเทพฯครึ้มอก ครึ้มใจ วาดฝันไปว่าตลอดฤดูหนาวที่เหลือนับจากนี้ (ราวเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์) จะพบแต่ความฉ่ำเย็นของอากาศ
ครั้นมาถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จนจะเข้ากลางเดือน อากาศหนาวนิดๆ ที่เคยมีก็จางหายไป สภาพผิวสัมผัสอากาศของผู้คนในวันนี้คือไม่ค่อยแตกต่างจากฤดูร้อนเท่าใดนัก

เป็นที่มาของคำถามว่าฤดูหนาวแล้ว ทำไมไม่หนาว? ทำไมหนาวแป๊บเดียว? จะหนาวอีกไหม? จะหนาวอีกเมื่อไร?

มติชนŽ ตรวจสอบไปที่แบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้ความว่า ปีนี้ประเทศไทยไม่น่าจะหนาวมาก เหตุหลักๆ เหตุหนึ่งมาจากปีนี้เป็นปีแห่ง เอลนิโญŽ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกส่วนใหญ่จะอยู่ในภาวะ ร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลดังกล่าวด้วยเช่นกัน

Advertisement

วาฟŽ ระบุว่า วันที่ 18-19 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมา ทำให้พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นๆ อยู่บ้าง

แต่ความกดอากาศสูงดังกล่าว ยังมีกำลังไม่แรงพอที่จะแผ่ลึกมาถึงพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพฯ อันจะทำให้คนภาคกลาง คนกรุงเทพฯสัมผัสถึงอากาศหนาวได้

หลังจากวันที่ 19 พฤศจิกายนยาวไปถึงสิ้นเดือน ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะมีความกดอากาศสูงที่มีกำลังแรงพอจะแผ่ลึกเข้ามาถึงภาคกลางหรือกรุงเทพฯ ที่พอจะทำให้คนกรุงเทพรู้สึกว่าหนาวเลย

ปรากฏการณ์ เอลนิโญŽ จะทำให้ความกดอากาศสูงมีกำลังไม่แรงนัก และไม่มีความต่อเนื่อง ปีนี้จึงไม่ค่อยหนาวมากนัก นั่นคือ ฤดูหนาวในปีนี้จะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ หมายความว่าแทนที่จะหนาวฉ่ำมากๆ อาจจะแค่เจออากาศเย็น

ปรากฏการณ์ เอลนิโญŽ ที่ว่านี้ หมายถึงรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 5 ปี ลักษณะของ เอลนิโญŽ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนิโญŽ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่าความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี เอลนิโญŽ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก จะส่งผลให้ ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ

วาฟŽ ระบุด้วยว่า สำหรับพื้นที่ภาคเหนือของไทย ซึ่งเป็นด่านแรกที่จะรับเอาความกดอากาศสูงที่แผ่มาจากประเทศจีน ทั้ง เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ฯลฯ ก็ยังถือว่ามีอากาศเย็น เมื่อได้รับอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศสูงตามปกติ ของฤดูกาล บนดอย บนยอดเขาสูง ยังคงหนาวเย็นอยู่ แต่ลงมาในเมือง อุณหภูมิก็จะสูงขึ้น

 

พื้นที่ในเมืองภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น่าจะมีอากาศเย็นๆ แต่ถึงขนาดมีอุณหภูมิเป็นเลขตัวเดียวเหมือนปี สองปีที่ผ่านคงจะยาก แต่ยอดดอยอาจจะได้อยู่

คาดว่าช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิต่ำสุดของประเทศไทยจะอยู่ราวๆ กลางเดือนธันวาคม ต้องรอลุ้นกันอีกทีว่าจะเป็นอย่างไร แต่โดยสถานการณ์ ณ วันนี้ อิทธิพลของความกดอากาศสูงคงจะไม่มีกำลังพอที่จะแผ่เข้ามาถึงภาคกลางได้

มีคำถามว่าคนกรุงเทพฯ จะไม่มีโอกาสสัมผัสอากาศหนาวเลยหรือ

วาฟŽ ให้คำตอบว่าวันที่ 18-19 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ อุณหภูมิน่าจะลดลงมาจากที่เป็นอยู่เล็กน้อย พอเย็นๆ และหลังจากนั้นก็ต้องรอดูช่วงเดือนธันวาคมว่าจะเป็นอย่างไร เบื้องต้นคาดว่า หากจะมีอากาศเย็นอุณหภูมิลดเต็มที่น่าจะอยู่ที่ 19-20 องศาเซลเซียส ไม่น่าจะต่ำกว่านี้

แล้วที่เกิดฝนตก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้เวลานี้เกิดจากอะไร มีความผิดปกติไหม

วาฟŽ ตอบว่า ฝนที่ตกพื้นที่ภาคใต้เวลานี้ ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนผ่านเข้ามายังอ่าวไทยและภาคใต้ และข่วงวันที่ 14-16 พฤศจิกายนนี้จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศมาเลเซียตอนบนทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

วันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ จ.เชียงใหม่ ก็มีฝนตก เพราะได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตกที่ปกคลุม อยู่เหนือพื้นดินขึ้นมา 5.5 กิโลเมตร จึงดึงเอาความชื้นที่คลุมพื้นที่ภาคเหนือ แล้วจึงยกตัวขึ้นเป็นฝน จะเป็นเช่นนี้ไปอีก 3 วันคือไปถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน

สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือ ตั้งแต่วันที่ 16-18 พฤศจิกายน จะมีการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ ต้องจับตามองกันว่าจะเป็นอย่างไร หากรุนแรงและเปลี่ยนเป็นพายุดีเปรสชั่น และเคลื่อนที่ผ่านทางปลายแหลมญวนมายังบริเวณอ่าวไทย จะทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนัก และหนักมากอีกระลอก ตอนนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำลูกนี้อยู่ ว่าจะพัฒนาตัวเป็นพายุดีเปรสชั่นหรือไม่

มีบางคนเอาทิศทางลม เอาข้อมูลบางตัวไปคำนวณเอง และคำนวณแบบผิดๆ แล้วปล่อยเป็นข่าวลือออกมาว่า หย่อมความกดอากาศต่ำลูกนี้จะพัฒนาตัวเองเป็นพายุโซนร้อนที่จะมีความรุนแรงเท่าพายุโซนร้อนแฮเรียต ซึ่งเคยสร้างสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างยับเยิน เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2505 ที่บริเวณแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชนั้น เรื่องนี้ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้

ข้อมูลจาก วาฟŽ พอจะให้คลายข้อข้องใจของใครหลายคนว่าเหตุไฉนหน้าหนาวปีนี้ ถึงไม่ค่อยหนาวสะใจสักเท่าไหร่

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image