สังคมคนอ่าน มติชนถก “สีทองทาโบสถ์” 43% ระบุไม่เหมาะ ฉะ กรมศิลป์ ตอนขอให้ช่วยทำไม ไม่มา

กรณีที่มีข่าว นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยกรณีที่ตนลงเพื่อที่ วัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จ.ลพบุรี พบว่าอุโบสถของวัด มีการทาสีทองบริเวณผนังด้านนอกทั้งหมด รวมถึงซุ้มใบเสมา จึงสั่งการให้ขูดสีทองออก และทำการบูรณะอย่างเร่งด่วนนั้น ว่า ก่อนลงพื้นที่เพื่อตรวจดูวัดไลย์ หลังมีข่าวว่าอุโบสถถูกทาด้วยสีทองทั้งหลัง โดยสั่งการให้ทางวัด ยุติการทาสีทั้งหมดไว้ก่อน ขณะนี้ อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าสีที่ทาอุโบสถจะทำร้ายรูปแบบผนังเดิมมากน้อยแค่ไหน

มติชนออนไลน์ได้เชิญผู้อ่านร่วมแสดงความคิดเห็น การนำสีทอง หรือสีอื่นๆไปทาวัดเก่า หรือโบราณสถานอื่นๆ มีความเหมาะสมหรือไม่ ผ่านทางเฟชบุ๊ก และทวิชเตอร์

ผลจากการแสดงความคิดเห็นผ่านเฟชบุ๊ก มติชน พบว่า มีผู้อ่านร่วมโหวตแสดงความคิดเห็น 2,200 คน 57% เห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว อีก 43% ระบุว่า ไม่เหมาะสม ส่วนการแสดงความคิดเห็นผ่านทางทวิชเตอร์ พบว่า 35% ระบุว่าเหมาะสมแล้ว และ 65% ระบุว่าไม่เหมาะสมเลย

สำหรับเหตุผลที่ผู้อ่านมติชนออนไลน์ บอกว่า ไม่เหมาะสมนั้น สรุปได้ว่า เพราะเป็นการนำเอาสีทองมาทาโบสถ์ เป็นการทำลายโบราณสถาน ลดความคงทนของโครงสร้างและพื้นผิวของงานเดิม อีกทั้งยังทำให้การอนุรักษ์สถานที่แห่งนั้นๆในอนาคตเป็นไปได้ยาก วัสดุที่นำมาสร้างหรือบูรณะก็เป็นแค่เคมีถูกๆที่ไม่คงทน ต่างจากการใช้วัสดุธรรมชาติที่คนโบราณใช้ซ่อมแซมมาแต่เดิม นอกจากนี้คนที่มาทำการ”ซ่อม” ยังขาดความรู้ถึงลักษณะดั้งเดิม เป้าหมายของการบูรณะ คือถ้าไม่รักษาสภาพเดิมให้คงทน ก็ต้องการต่อเติมให้แข็งแรง และสามารถบ่งบอกได้ว่าส่วนไหนคือของเก่าหรือของเติม โดยไม่ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงคุณค่าของโบราณสถานนั้นๆ เห็นได้ชัดว่าการ”ทาสีทอง” นอกจากจะไม่เป็นการอนุรักษ์แล้ว ยังเป็นการทำลายคุณค่างานเดิม เป็นการทำลายโบราณสถานไปโดยปริยาย ไม่ควรทำถ้า เข้าไปอนุรักษ์ แบบไม่มีความรู้

Advertisement

สำหรับผู้ที่เห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว ให้เหตุผลว่า การกระทำดังกล่าวเป็นผลมาจากการเห็นร่วมกันของชาวบ้านในพื้นที่แล้ว หน่วยงานรับผิดชอบ ไม่สนใจเอง บกพร่องต่อหน้าที่วัดก็แจ้งการบูรณะไปแล้ว แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สนใจเองพอมีข่าวว่าเอาสีทองมาทา กลับออกมาฟาดงวงฟาดงา ว่าชาวบ้านทำผิด

“เหมาะสมแล้ว เพราะสีที่ทามันไม่ทำลายพื้นผิวที่ทา แต่กลับปกป้องพื้นผิวโบสถ์ให้คงทนยืนยาวนาน ถ้าไม่ทาสีซิ พื้นผิวโบสถ์จะถูกรากับมอสปกคลุม ความชื้นทำให้พื้นผิวผุพังเร็ว ขอให้กรมศิลปากรรับรู้ว่าประวัติศาสตร์มันไม่ได้หายไปไหนถ้าโบราณวัตถุยังอยู่” ความคิดเห็นหนึ่งระบุ อย่างไรก็ตาม มีผู้แย้งว่า ไม่เหมาะสม เรื่องการใช้สี คือไม่ควรใช้สีน้ำมันหรือสีอะคิริค เพราะสีจำพวกนี้เวลาหมดอายุมันจะทำให้ผนังของเก่าหลุดร่อนออกมาเป็นแผ่นตามสีน้ำมัน ที่ถูกต้องควรจะใช้เป็นสีน้ำหนือสีฝุ่นตามแบบของเก่า ซึ่งวัดและชาวบ้านได้ร่วมมือกันบูรณะก็เป็นเรื่องที่ดีครับเพราะถ้ารอกรมศิลป์ฯ ไม่รู้กี่ชาติถึงจะได้ทำนุบำรุงวัดบำรุงโบราณสถาน อ้างแต่ว่างบไม่มี พอชาวบ้านทำเองก็บอกว่าผิดกฎหมาย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image