18 เอกชนชิงท่าเรือมาบตาพุดเฟส3รู้ผลก.พ.ปีหน้า

แหล่งข่าวจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยความคืบหน้าภายหลังเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ รวม18 รายซื้อเอกสารการคัดเลือกผู้ดำเนินโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ โดยโครงการดังกล่าวเป็น 1 ใน 5 โครงการหลักของรัฐบาลในการเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะเริ่มมีการพัฒนาก่อสร้างในปี 2563 ว่า ทั้งนี้ในวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน กนอ.จะมีการจัดประชุมชี้แจงให้กับผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 บริษัทเพื่อทำความเข้าใจในข้อกำหนด เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ พร้อมตอบข้อซักถามรายละเอียดต่างๆ ณ สำนักงานใหญ่การนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) และในวันที่ 28 พฤจิดาย2561 จะนำคณะภาคเอกชนดูพื้นที่โครงการท่าเรือฯ มาบตาพุดระยะ 3 ที่ จ.ระยอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเขียนข้อเสนอทางเทคนิค ภายใต้ทีโออาร์ที่กำหนดไว้

ขณะเดียวกันกนอ.ได้กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 และ คาดว่าการพิจารณาคัดเลือกเอกชนดำเนินการพัฒนาโครงการท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะ 3 จะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

สำหรับผู้เข้าซื้อซอง1. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)4.บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด 5.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 7.บริษัท โตเกียวแก๊ส จำกัด8.บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด9.บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด10.บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด11.บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำกัด12.บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จำกัด 13.บริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น 14.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 15.บริษัท Boskalis International B.V. 16.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 17.บริษัท Vopak LNG Holding B.V. และ18.บริษัท สหการวิศวกร จำกัด

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับแผนการพัฒนาท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะ 3 คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2567โดยใน 3 ปีแรก จะเริ่มงานโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ งานถมทะเล งานขุดลอกร่องน้ำเดินเรือ งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น เป็นต้น และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และส่วนที่เหลือจะเป็นการก่อสร้างส่วนท่าเทียบเรือบนพื้นที่ถมทะเล โดยการพัฒนาท่าเทียบเรือ วัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า ได้แก่ การก่อสร้างท่าเทียบ เรือสินค้าเหลวท่าเทียบเรือก๊าซ ท่าเทียบเรือบริการ และคลังสินค้า เป็นต้น หากก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าเหลวได้ประมาณ 15 ล้านตันต่อปีในอีก 30 ปีข้างหน้า

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image