ถกร่าง ‘กฎหมายทรัสต์’ เมื่อไทยเข้าสู่ ‘สังคมสูงวัย ชีวิตมั่นคง’

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย หรือ มส.ผส. ได้จัดเวทีการประชุมเรื่องนโยบายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stakeholder Forum เพื่อขับเคลื่อนความรู้สู่สังคมในประเด็นกลไกการจัดการทรัพย์สินผู้สูงอายุเพื่อการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุไทยขึ้น โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ผ่านการจัดทำร่างกฎหมายการบริหารทรัพย์สินของผู้สูงอายุ หรือที่เรียกว่า ‘ทรัสต์’ ถือเป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทาง มาตรการ กลไกในการจัดการทรัพย์สินผู้สูงอายุไทย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดการทรัสตี บทบาทของชุมชน ท้องถิ่น ในการคุ้มครอง เฝ้าระวัง และจัดการทรัพย์สินผู้สูงอายุ ตลอดแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทย นำโดย พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และ ดร.ภัทรพร คงบุญ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ

ทั้งนี้ไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประเทศไทยใช้เกณฑ์บุคคลที่มาอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 3 ที่ได้นิยามไว้ โดยประเทศไทยถือว่าเข้าเกณฑ์สังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว (Aged Society) เพราะมีประชากรที่อายุเกิน 60 ปี ทั้งหมด 16 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด และเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้มีการคาดการว่าในปี 2564 จะมีผุ้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ (Complete Aged Society) ซึ่งจะทำให้ไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และในปี2574 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ (Super Aged Society) เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด มาตรการในการจัดการด้านทรัพย์สินจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย ด้วยข้อจำกัดทางร่ายกายและเวลาจึงทำให้มีการพูดถึง ‘กฎหมายทรัสต์’ มากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และอังกฤษ

โดยผู้สูงอายุที่ต้องการให้มีผู้จัดการทรัพย์สิน สามารถตั้ง ‘กองทรัสต์’ ขึ้นมา จากนั้นจึงแต่งตั้ง ‘ทรัสตี’ ขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการให้เกิดการเติบโตในทรัพย์สินนั้น โดยผู้ที่จะมาเป็น ‘ทรัสตี’ จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และโดยในบางกรณี อาจต้องมีผู้มา ‘กำกับดูแลกองทรัสต์’ อีกชั้น ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดยังเป็นทางเลือกหนึ่งและยังต้องรอความชัดเจนจากกระบวนการร่างกฎหมาย เพื่อให้มีระบบที่รัดกุม ให้เกิดประโยชขน์สูงสุดสำหรับผุ้สูงอายุ ซึ่งโครงสร้างระบบทรัสต์ของแต่ละประเทศก็จะมีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ ดร.ณรัณ โพธิ์พัฒนชัย นักกฎหมายกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นำเสนอมาตรการในการพัฒนากฎหมายทรัสต์ ที่ต้องเน้นการให้ผู้สุงอายุมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการทรัพย์สินของตนเอง การสร้างกลไกตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินและยะระดับความเป็นอยู่ การสร้างระบบสนับสนุนและพัฒนาคุรภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ในส่วนของหน่วยงานพันธมิตรที่ต้องบูรณาการร่วมกัน ได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสุงสุด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคการเงินและธนาคาร องค์กรพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

Advertisement

พร้อมเสนอถึงแนวทางการดำเนินงาน 6-12 เดือนนี้ ได้แก่ การติดตามและมีส่วนร่วมกับกระบวนการร่างกฎหมายทรัสต์ การศึกษาและพัฒนาระบบการรับรองการเป็นทรัสตีและระบบการตรวจสอลบการทำงานของทรัสตี การศึกษาลักษณะของทรัพย์สินที่สามารถนำไปลงทุนหรือบริหารจัดการได้ และการศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดบริหารจัดการทรัพย์สินภายในประเทศ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image