‘นิด้าโพล’ เผยสิ่งที่คนไทยอยากเห็นดีขึ้นปี 62 ‘สวัสดิการของรัฐ-ศก.-การเมือง’

เมื่อวันที่  30 ธันวาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คุณภาพชีวิตของคนไทยในรอบปีที่ผ่านมา และการคาดการณ์ในปี 2562” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 ธันวาคม 2561 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนไทยในรอบปีที่ผ่านมา และการคาดการณ์ในด้านต่าง ๆ ในปี 2562 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิ ตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า เท่าเดิม ได้แก่ อันดับ 1 ร้อยละ 53.43 ระบุว่า ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง อันดับ 2 ร้อยละ 52.55 ระบุว่า ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันดับ 3 ร้อยละ 52.23 ระบุว่า ด้านระดับความสุข อันดับ 4 ร้อยละ 52.15 ระบุว่า ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว อันดับ 5 ร้อยละ 50.24 ระบุว่า ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน อันดับ 6 ร้อยละ 48.96 ระบุว่า ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม อันดับ 7 ร้อยละ 46.97 ระบุว่า ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ

อันดับ 8 ร้อยละ 46.41 ระบุว่า ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่น ระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน อันดับ 9 ร้อยละ 45.45 ระบุว่า ด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และอันดับ 10 ร้อยละ 44.34 ระบุว่า ด้านการศึกษา/การทำงาน/ภาวะการมีงานทำ/ การประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า แย่ลง ได้แก่ อันดับ 1 ร้อยละ 59.81 ระบุว่า ด้านเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ และอันดับ 2 ร้อยละ 41.79 ระบุว่า ด้านปัญหาทางการเมือง

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการคาดการณ์ของประชาชนต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ในปี 2562 ที่ประชาชนส่วนใหญ่คาดการณ์ให้ดีขึ้น ได้แก่ อันดับ 1 ร้อยละ 61.96 ระบุว่า ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ อันดับ 2 ร้อยละ 61.57 ระบุว่า ด้านระดับความสุข อันดับ 3 ร้อยละ 59.41 ระบุว่า ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่น ระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ แก่ประชาชน อันดับ 4 ร้อยละ 58.13 ระบุว่า ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว อันดับ 5 ร้อยละ 57.18 ระบุว่า ด้านเศรษฐกิจภาพรวม ของประเทศ และด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 6 ร้อยละ 56.46 ระบุว่า ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิต ในเวลาว่าง อันดับ 7 ร้อยละ 54.15 ระบุว่า ด้านการศึกษา/การทำงาน/ภาวะการมีงานทำ/การประกอบอาชีพ

Advertisement

อันดับ 8 ร้อยละ 53.11 ระบุว่า ด้านปัญหาทางการเมือง อันดับ 9 ร้อยละ 51.59 ระบุว่า ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  อันดับ 10 ร้อยละ 51.28 ระบุว่า ด้านเสรีภาพ ในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และอันดับ 11 ร้อยละ 48.57 ระบุว่า ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.25 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.16 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.62 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.93 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.04 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.75 เป็นเพศชาย และร้อยละ 46.25 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.66 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.23 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.37 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.21 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.57 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 93.86 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.23 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.63 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 17.22 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 77.99 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.35 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 34.69 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.86 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.44 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.99 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.57 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.24 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.13 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.75 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 18.10 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.38 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.00 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.75 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 14.20 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 30.54 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.42 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.54 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.97 ไม่ระบุรายได้

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image