สอน.ชี้ชาวไร่อ้อยเผชิญต้นทุน3เท่า-เครื่องตัดราคาแพง12ล.ต้นตอเผา ผุดโมเดิร์นฟาร์มแก้ปัญหา

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)เปิดเผยถึงสถานการณ์ปริมาณฝุ่น
ละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 กับการเผาอ้อยก่อนตัดส่งโรงงานในฤดูหีบว่า
ปัจจุบันมีการเผาประมาณ 60-70% สาเหตุมาจากไทยเผชิญปัญหาต้นทุนตัดอ้อยสดสูงกว่าการเผา3เท่า และยัง ขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก โดยการเผายอมรับว่าอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดมลพิษแต่ยืนยันว่าไม่ใช่ ปัจจัยหลักแน่นอน เพราะปัจจัยหลักมาจากการเผาน้ำมันดีเซลที่บางส่วนไม่ย่อยสลายในอากาศและก่อตัวเป็น มลพิษ ขณะเดียวกันการเผาอ้อยก่อนส่งมอบโรงงานก็ดำเนินการในหลายประเทศที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ที่มีกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศนั้นๆมีการคำนวณค่าความชื่นสัมพัทธ์หรือทิศทางลมที่แม่นยำก่อนเผา ขณะที่ ไทยยังไม่มีข้อมูลส่วนนี้นักแต่จากการติดตามเกษตรกรไทยมักเผาช่วงเช้ามืดไม่ใช่กลางวัน

นางวรวรรณกล่าวว่า อย่างไรก็ตามเพื่อลดการเผาอ้อย สอน.กำลังเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ให้เกษตรกรเผา ไร่อ้อย เพราะไฟลุกลามจนเกิดผลกระทบอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ขณะเดียวกันได้ออกมาตรการหากส่งอ้อยไฟไหม้เข้าหีบจะถูกหัก เงินตันละ 30 บาท และจะนำเงินดังกล่าวแบ่งให้ผู้ที่ตัดอ้อยสด70% อีก30%คืนหลังพ้นฤดูหีบ สาเหตุที่คืนเพราะ เกษตรกรบางรายอาจถูกวางเพลิงจากภาวะแย่งอ้อยของโรงงาน หรืออาจถูกไฟจากแปลงใกล้เคียงที่เป็นของ เกษตรรายอื่น

นางวรวรรณกล่าวว่า แนวทางสำคัญที่จะลดการเผาหรือทำให้การเผาอ้อยของไทยหมดไป คือ การสนับสนุนให้ เกษตรกรหันมารวมแปลงเฉลี่ย1,000ไร่/แปลง และใช้เครื่องตัดอ้อยแทนการแรงงานคน ซึ่งปัจจุบันไทยมีพื้นที่ ปลูกอ้อยประมาณ10ล้านไร่ แต่มีการรวมแปลงน้อยมากและทำโดยฝ่ายโรงงาน ดังนั้นปี2562 สอน.จะเดินหน้า นโยบายเปลี่ยนชาวไร่อ้อยปกติเป็นโมเดิร์นฟาร์มให้ได้ 5 แสนไร่ หรือ 5%จากพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมด โดยเริ่ม ทำข้อตกลงเบื้องต้น(เอ็มโอยู)กับกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เคทิส กลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ จากนั้นจะทยอยเอ็มโอยูกับกลุ่มโรงงานในพื้นที่อื่นต่อไป

นางวรวรรณกล่าวว่า นอกจากนี้สอน.จะเดินหน้าโครงการสินเชื่อสำหรับการจัดซื้อรถตัดอ้อยอย่างต่อเนื่อง โดย รัฐบาลสนับสนุนสินเชื่อเงินกู้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยในอัตราดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อ เครื่องจักรอุปกรณ์และรถตัดอ้อยนำมาใช้ในกระบวนการผลิตและเก็บเกี่ยว และในอนาคตอาจมีการส่งเสริมให้เกิดกิจการให้เช่ารถตัดอ้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนรถตัดอ้อยที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูงคันละประมาณ12ล้านบาท มือสอง8ล้านบาท ขณะที่ผู้ผลิตไทยทำได้ราคาถูกเหลือประมาณ6ล้านบาทแต่ศักยภาพยังสู้ต่างประเทศไม่ได้

Advertisement

“ประเด็นรถตัดอ้อยถือเป็นเรื่องสำคัญ อยากให้อุตสาหกรรมยานยนต์ กระทรวงการคลัง ให้ความสำคัญ เพราะ
ไทยมีศักยภาพเป็นฐานการผลิตรถยนต์ แต่ติดปัญหาเรื่องการวิจัยพัฒนาไม่มากพอ และเจอปัญหาภาษีชิ้นส่วนประกอบรถตัดอ้อยถูกเก็บอัตราสูง ขณะที่การนำเข้ารถตัดอ้อยซึ่งถือเป็นเครื่องจักรกลการเกษตรภาษีเป็นศูนย์ ประเด็นนี้จึงน่าจะเกิดการหารือร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อผลักดันให้เกิดการผลิตในไทยอย่างจริงจัง อาจคิดค้นเครื่อง ตัดขนาดเล็ก ศักยภาพสูง ราคาไม่แพง เพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถซื้อได้เองและเลิกเผาอ้อยในที่สุด”นาง วรวรรณกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image