วอยซ์ ทีวี จ่อฟ้องศาลปกครอง กสทช.สั่งจอดำ 15 วัน ชี้เป็นการเลือกปฏิบัติ

 

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 12 กุมภาพันธ์  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีกสทช.มีคำสั่งทางปกครองระงับการออกอากาศช่องวอยซ์ทีวี เป็นเวลา 15 วัน  นายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด แถลงถึงสถานการณ์ช่อง จุดยืน และแนวทางหลังจากนี้ ที่สตูดิโอ 3 วอยซ์ ทีวี ถนนวิภาวดีรังสิต

นายเมฆินทร์กล่าวว่า ได้รับการติดต่อประสานงานและได้ฟังจากสื่อ โดยมีการแจ้งมาว่า กสทช.จะมีการออกคำสั่งปกครองระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เป็นเวลา 15 วัน โดยสาเหตุยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีการกล่าวถึงคำสั่งคสช.ที่ 97 พูดถึงพระราชบัญญัติมาตรา 64 คำสั่ง คสช.ที่ 16 ซึ่งเป็นการพูดที่ยังไม่ชัดเจน ในขณะเดียวกันก็จะรอเอกสารอย่างเป็นทางการว่ามีคำชี้แจ้ง วินิจฉัยกล่าวโทษอย่างไร แต่เบื้องต้นทราบว่าจะมีการออกคำสั่งระงับสถานีเป็นเวลา 15 วัน ซึ่งส่งผลกระทบให้ไม่สามารถออกอากาศ สื่อสารเนื้อหาตามปกติได้ โดยทางสถานีได้กำหนดท่าทีชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการฟ้องศาลปกครองในทันที แต่จะขอดูเนื้อหาการตัดสินก่อน ตอนนี้มีการเตรียมเอกสารดำเนินการอยูรอเติมข้อมูลให้ครบถ้วน ก็จะมีการฟ้องเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว รวมถึงฟ้องละเมิดข้อกำหนดกฎหมายที่ควรจะเป็น ในเบื้องต้นการดำเนินรายการจะเป็นดำเนินไปโดยปกติ แต่จะต้องปรับการนำเสนอในช่องทางต่อไป จนกว่าจะมีการพิจารณาของศาล

 

Advertisement

“มีข้อสังเกตว่าที่ผ่านมาเราได้หารือกับ คสช.เป็นประจำ มีการเรียกเข้าไปชี้แจง ซึ่งบรรยากาศเป็นกึ่งความร่วมมือ แลกเปลี่ยนและตักเตือนแต่ไม่ได้ถึงขนาดตัดสินลงโทษ การตัดสินลงโทษระงับกระทันหันจึงเป็นข้อสังเกตที่ต้องตรวจสอบว่าเป็นการตัดสิน หรือดำเนินการอย่างอิสระหรือไม่อย่างไร ในเบื้องต้นเราจึงจะฟ้องศาลปกครองเพื่อรักษาความเป็นธรรม” นายเมฆินทร์กล่าวว่า และว่าทางช่องมีการสั่งปิดจาก คสช.ไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกหลังรัฐประหาร ปิด 1 เดือน ครั้งที่ 2 ปิด 7 วัน ครั้งนี้ปิด 15 วัน เราต้องทำให้ชัดเจนว่าที่ผ่านมามีกรณีอะไรบ้าง เช่น เราไม่ได้ถูกอุทธรณ์หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ คำสั่ง 103 เป็นคำสั่งที่ผ่อนปรนพอสมควร โดยจะให้สมาคมวิชาชีพสื่อเป็นผู้วินิจฉัยว่าเนื้อหาเข้าข่ายความขัดแย้งต่อความมั่นคงอย่างไรบ้าง”นายเมฆินทร์ กล่าวและว่า ก่อนหน้านี้ได้พบ กสทช.สุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และก่อนหน้านี้ประมาณ 2 อาทิตย์ แต่เป็นการชี้แจ้งเนื้อหารายการเป็นบรรยากาศทั่วไป แต่บางครั้งที่ชี้แจ้งก็รับไปปฏิบัติก่อนโดยยังไม่เห็นด้วย เช่น การนำเสนอรายการของคุณเสรี พิสุทธิ์ ที่มีการวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล คสช. ซึ่งก็ได้เอาข้อเท็จจริงมาออกอากาศและช่องอื่นก็มีเช่นกัน แต่เราถูกวินิจฉัยว่าจะไม่สามารถวิจารณ์ได้หรือไม่ ก็เป็นอีกข้อสังเกต เพราะอยู่ในช่วงบรรยากาศการเลือกตั้ง ทุกคนก็อยู่ในบริบทใหม่ที่จะนำเสนอข่าวสาร และวิพากษ์วิจารณ์

 

นายเมฆินทร์กล่าวว่า เรื่องการตรวจสอบทีมผู้ดำเนินรายการ เรื่องการใช้ถ้อยคำและการวิจารณ์ว่าเข้าข่ายความผิดหรือไม่นั้น ก็มีข้อกำกับ 3 เรื่อง คือข้อกำกับวิทยุกระจายเสียง ตามกติกา กสทช. ที่ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ปี 97 ก็ทำโดยไม่มีข้อเรียกร้องอะไร และหลังจากนั้นก็ปฏิบัติแต่บรรยากาศเปลี่ยนไปมาก เพราะมีการกำกับเนื้อหาข้อมูลข่าวสารโดยการออกคำสั่ง คสช.ฉบับต่างๆ โดยวอยซ์ไม่เคยมีประเด็นปัญหา แต่หลังจากปี 97 มีรัฐประหาร บริบทก็เปลี่ยนไป ประกอบกับตอนรัฐประหารมีการปิดสื่อ และได้เซ็นเอ็นโอยูกลับมา แต่ ณ ตอนนี้ บริบทของเอ็มโอยูเปลี่ยนไปมาก และจากคำสั่ง 97 ก็ได้เปลี่ยนเป็น 103 ซึ่งตอนนี้บรรยากาศของสังคมกำลังเข้าสู่การเลือกตั้ง การบังคับใช้เรื่องต่างๆที่ไปกำกับข้อมูลข่าวสารที่คนสามารถเข้าถึงข้อมูลของการเลือกตั้ง ก็ถือว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเท่าใดนัก

Advertisement

เมื่อถามว่าระหว่างนี้จะต้องใช้ช่องฐานออนไลน์ทั้งหมดก่อนหรือไม่ นายเมฆินทร์กล่าวว่า รายการที่ผลิตเองก็ดำเนินการออกทางช่องทางออนไลน์ หรือช่องทางที่คนสนใจอย่างเต็มที่เพื่อให้ผู้ชมสามารถติดตามรายการได้ แต่ถ้าดูในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและความเสียหาย ในส่วนของรายการ ก็ถือว่าพาร์ทเนอร์ได้รับความเสียหายด้วย จึงต้องประสานอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยยังไม่ยืนยันตัวเลข ซึ่งต้องว่าตามผลกระทบ

“เราได้รับผลกระทบมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 เป็นการจำกัดการดำเนินการของเราพอสมควรซึ่งก็ได้มีการพูดคุยกัน แม้จะมีความเห็นไม่ตรงกัน แต่ก็ได้ชี้แจ้งไปว่าการดำเนินการสามารถทำได้ไม่ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งท่าทีก็ขึ้นอยู่กับจังหวะ เพราะบรรยากาศไม่สม่ำเสมอ บางครั้งจะมีเหตุพิเศษหรือไม่ก็ไม่สามารถทราบได้ แต่โดยหลักของช่องมีสปิริตในการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ และอยากให้ราบรื่น แต่วันนี้ต้องดำเนินการจริงจัง เพราะที่ผ่านมาฝ่ายบริหารก็ขอให้ไปร้องเพื่ออุทธรณ์ หรือเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งส่วนตัวก็พยายามให้ราบรื่น โดยทุกครั้งที่ คสช.เรียกไปชี้แจ้ง ก็ขึ้นอยู่กับรายการซึ่งเป็นวิเคราะห์ข่าวทั้งหมด ก็ได้ดำเนินการตามปกติ และปรับเฉพาะส่วนที่เห็นตรงกัน”

เมื่อถามว่าการมีมติ 15 วัน ถือว่า กสทช.ทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ นายเมฆินทร์ กล่าวว่า ตนมองเป็นการเลือกปฏิบัติ จากข้อมูลข่าวสารที่ได้พูดคุยช่วงเดือนที่ผ่านมา ไม่ได้ไปไกลถึงจุดที่ต้องระงับสถานี แต่มีประเด็นว่ามีการกำกับนอกเหนือจาก พรบ.ของ กสทช. หรือไม่ เพราะหลังรัฐประหารมีคำสั่งที่ไม่มีกรอบขัดเจนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร แต่ละสื่อตรวจสอบตามนั้นหรือไม่ ต้นตอก็น่าจะมาจากตรงนี้ เช่นคำสั่ง คสช.ที่ให้เจ้าหน้าที่ กสทช.ไม่ต้องรับผิดทางอาญา ดังนั้นการดำเนินการใดๆจะเป็นการใช้ดุลยพินิจต่างๆ

 

“ที่ผ่านมามีการเข้าใจที่คาดเคลื่อนว่าเราไม่ปฏิบัติตามหรือทำผิดซ้ำซาก ความจริงแล้วเราเลือกที่จะดำเนินการโดยที่ไม่ได้เห็นด้วย และจากนี้ไปจะยังดำเนินการเสนอสื่อตามจุดยืนต่อไปเรานำเสนอข้อมูลรอบด้านให้กับสังคม ต้องหนักแน่นที่จะนำเสนอโดยที่ให้เกิดประโยชน์กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทีวี หรือออนไลน์ เราหนักแน่นที่จะนำเสนอข้อมูลที่มีคุณค่าของสังคม เรากำชับผู้ดำเนินรายการเสมอว่า 1.ต้องเป็นข้อเท็จจริง 2.บทวิเคราะห์ต้องเป็นไปตามแนวทางเสรีประชาธิปไตย และ 3.เราจะไม่หมิ่นประมาทใคร ในช่วง15 วันนี้ ทางคอนเทนต์ก็ทำงานปกติ แต่ต้องดูช่องทางว่าสามารออกได้ทางไหนบ้าง และจากนี้ไปจะให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนอย่างมากที่สุด ไม่อยากให้มีข้อมูลข่าวสารที่น้อยเกินไป ส่วนทางวอยซ์เองก็ผลิตข้อมูลข่าวสารโดยมีวิจารณญาน อิงข้อเท็จจริงและเป็นทางเลือกของสังคม ซึ่งผู้สนับสนุนและผู้ประกอบการเข้าใจบริบทของวอยซ์ตั้งแต่ต้น และสื่อสารต่อเรื่องอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องชี้แจ้ง และฟื้นประเด็นต่างๆให้กลับมาภายหลังจาก 15 วัน”นายเมฆินทร์กล่าว

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image