สศช.เผยเหลื่อมล้ำไทยแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังสูงกว่าภูมิภาค เตรียมเสนอครม.เห็นชอบแผนแม่บทฯ12 มี.ค.นี้ 

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึงสถานการณความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยในช่วงปี ‪2531–2560‬ ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (สัมประสิทธิ์จีนี) ด้านรายได้เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 0.445–0.530 โดยมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 จาก 0.514 มาอยู่ที่ 0.453 ในปี 2560 ซึ่งเป็นค่าที่ยังค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน และต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วที่อยู่ที่ราว 0.300 โดยสาเหตุของความเหลื่อมล้ำมาจากสินทรัพย์ทางการเงินและการถือครองที่ดินกระจุกตัวในกลุ่มคนจำนวนน้อย กลุ่มประชากรผู้มีรายได้น้อยมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุนและมีภาระในการชำระหนี้สูงกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่นถึง 2 เท่า การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษามีความเหลื่อมล้ำทั้งเชิงมิติพื้นที่และมิติรายได้ ทรัพยาการทางการแพทย์มีความแตกต่างระหว่างภูมิภาคและกรุงเทพฯ การเข้าถึงคอมพิวเตอรืและอินเตอรืเน็ตยังมีความเหลื่อมล้ำสูงระหว่างคนมีรายได้ต่ำและรายได้สูง

นายทศพร กล่าวว่า เมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยของกลุ่มประชากรจำแนกเป็น 10 กลุ่มรายได้ พบว่ารายได้ของกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัดตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้ของกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำแม้จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าของกลุ่มรายได้สูง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้ โดยประชากร 40% ที่มีรายได้ต่ำสุด มีส่วนแบ่งรายได้เพียง 12.0% ตลอดช่วงปี ‪2531–2554 และเพิ่มขึ้นเป็น 14.2‬% ในปี 2560 เท่านั้น ขณะที่ประชากร 10% ที่มีรายได้สูงสุด มีส่วนแบ่งรายได้ระหว่าง 37.2–40.7% ในช่วงปี ‪2531–2554 และลดลงมาที่ 35.3‬% ในปี 2560

นายทศพร กล่าวว่า ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ควรสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจน และลดปัญหาความเหลื่อมล้้าอย่างบูรณาการมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาประเทศ โดยการเร่งรัดการจัดตั้งคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางสังคม ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางบูรณาการ การขับเคลื่อนการแก้ปัญหายากจนและความเหลื่อมล้ำ ด้านนโยบาย งบประมาณ และการดำเนินโครงการ ทั้งในระดับประเทศ หน่วยงาน และพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม มีการบูรณาการฐานข้อมูลด้านความยากจนและนำมาใช้ซึ่ง สศช.ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้าเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายหน่วยงานให้สามารถระบุปัญห ความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทั้งนี้ การปรับโครงสร้ำงเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นกำรลดความเหลื่อมล้ำ การกำหนดนโยบายการคลังเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเพิ่มมาตรการยกระดับรายได้โดยเฉพาะในประชารกลุ่มเป้าหมาย 40% ที่มีรายได้น้อยที่สุด จำนวนราว 27 ล้านคนของประชากรไทย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระ กลุ่มแรงงานทั่วไป แรงงานเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่กระจุกตัวในชนบทถึง 60% และการเพิ่มมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม

“เรื่องความเหลื่อมล้ำถือเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยคาดว่าจะมีการเสนอแผนแม่บทให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ก่อนจะมีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริงภายใต้งบปี 2563 เชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ต้องให้ความสำคัญเพราะจะช่วยแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำได้” นายทศพล กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image