‘บุ๊คกิ้งดอทคอม’ เผย 44% ของผู้หญิง มองว่า ที่ทำงานไม่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางเพศ

บุ๊คกิ้งดอทคอม ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทอีคอมเมิร์ซด้านการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ทำการสำรวจทั่วโลกและพบว่า ผู้หญิงทั่วโลกจำนวนน้อยว่า 3 ใน 5 (54%) ซึ่งตอนนี้กำลังทำงานในสายเทคโนโลยี รู้สึกว่าทุกวันนี้แวดวงเทคโนโลยีกำลังให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางเพศเป็นอันดับต้น ๆ โดยผู้หญิงซึ่งกำลังทำงานในแวดวงนี้จำนวนมากกว่าเล็กน้อย (56%) รู้สึกว่า บริษัทที่ทำงานอยู่ก็ให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลาย แม้ว่าการเริ่มลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมทางเพศและการกระตุ้นให้ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นก้าวมาทำงานในแวดวงเทคโนโลยีต่างก็ประสบความสำเร็จอยู่บ้าง แต่บริษัทและวงการเทคโนโลยียังต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ชัดเจนขึ้นในการดูแลพรสวรรค์ของเหล่าผู้หญิง โดยไม่ได้เจาะจงเพียงผู้หญิงที่อยากทำงานด้านนี้หรือเพิ่งเริ่มทำงาน แต่ควรสนใจผู้เชี่ยวชาญในวงการเช่นกันหากต้องการให้ตัวแทนและบุคลากรที่มีทักษะยังคงอยู่ในวงการนี้

สำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่ต้องการดึงดูดเหล่าผู้มีพรสวรรค์ให้มากที่สุดนั้นพบว่า มีการเปลี่ยนเป้าหมายไป กล่าวคือนอกจากการรักษาบุคคลเปี่ยมความสามารถที่มีอยู่แล้ว ก็กำลังลงแรงเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดเหล่าผู้หญิงที่เคยออกจากวงการไปแล้วให้กลับมาทำงานสายนี้อีกครั้ง การที่บริษัทด้านเทคโนโลยีเห็นคุณค่าของความรู้และประสบการณ์นี้ จะทำให้บริษัทนั้นๆ ได้ประโยชน์ทั้งทางด้านวัฒนธรรมการทำงาน ด้านชื่อเสียง และด้านการเงินอีกด้วย

เหล่าผู้หญิงเล็งเห็นโอกาสในการสร้างประโยชน์แท้จริงให้ธุรกิจ รวมถึงการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกครอบคลุมทั้งวงการ

จากรายงาน World Economic Forum Gender Gap Report 1 ฉบับล่าสุด พบว่า ทั่วโลกมีความไม่เท่าเทียมกันทางเพศอย่างมาก แม้ว่าเหล่าผู้หญิงจะได้สร้างผลงานในทุกๆ ด้านของธุรกิจก็ตาม โดยเมื่อสอบถามว่าความหลากหลายทางเพศที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดผลลัพธ์ดีๆ อย่างไรบ้างกับแวดวงเทคโนโลยี ผู้หญิงที่ทำงานเทคโนโลยี 90% (รวมถึงนักเรียนที่สนใจทำงานด้านนี้) กล่าวว่า จะช่วยสร้างความหลากหลายให้วงการ อีกทั้งช่วยให้เกิดมุมมอง ภูมิหลัง และประสบการณ์สดใหม่ นอกจากนี้ เหล่าผู้หญิงยังกล่าวว่าจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นขึ้นด้านสิทธิประโยชน์จากการจัดการทรัพยากรบุคคล (90%) อีกทั้งได้สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดียิ่งขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีกับพนักงานทุกคน (90%) นอกเหนือจากประโยชน์ด้านวัฒนธรรมการทำงานแล้ว ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นต่างรู้สึกว่าการที่ตนทำงานในแวดวงเทคโนโลยีจะช่วยให้ชื่อเสียงของแบรนด์และบริษัทดียิ่งขึ้นกว่าเดิม (88%) รวมถึงเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับบริษัทเทคโนโลยีโดยทั่วไป (87%)

Advertisement

นอกจากนี้ ข้อมูลในแวดวงก็แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นเช่นกัน จากผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ของ PricewaterhouseCoopers 2 พบว่า การที่จำนวนผู้หญิงในแวดวงเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมากอีก 5% เป็น 75% ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักรได้ประมาณ 9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

“การกระตุ้นให้เกิดความหลากหลายทางเพศยิ่งขึ้นในวงการเทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องของการขุดค้นความสามารถที่ถูกปิดกั้นอยู่มากพอ ๆ กับการสนับสนุนเหล่าผู้หญิงที่มีทั้งทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญในสายงานเหล่านี้อยู่แล้ว โดยการรวบรวมทักษะที่หลากหลายไม่ว่าจะมีประสบการณ์ ภูมิหลัง หรือเส้นทางอาชีพอะไร ต่างเป็นสิ่งที่ต้องคิดคำนึงถึงเป็นอันดับแรก”

นางกิลเลียน ทานส์ ผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบุ๊คกิ้งดอทคอม กล่าวว่า ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าเชิงบวกที่จะทำให้แวดวงเทคโนโลยีเป็นการทำงานที่มีความหลากหลายทางเพศยิ่งขึ้น ซึ่งเราต้องทำให้มั่นใจว่าแรงผลักดันนี้จะยังคงอยู่ โดยบริษัทจะเติบโตและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องได้นั้นต้องให้ความสำคัญกับการมีความหลากหลายในทุกระดับ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพกับกลุ่มบุคลากรทรงคุณค่าที่มีอยู่แล้ว และต้องไม่ลืมที่จะสนับสนุนผู้มีความสามารถหน้าใหม่ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันนี้ ผู้หญิงจำนวนมากกว่า 3 ใน 5 ตัดสินใจกลับมาทำงานสายเทคโนโลยีอีกครั้ง หรือก็คือกลุ่มที่เคยหยุดพักไปซึ่งกลับมาทำงานแวดวงนี้ (63%) เพราะเล็งเห็นว่าการพักทำงานจะส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง โดยจำนวนเกือบ 3 ใน 4 (73%) เชื่อว่าแวดวงเทคโนโลยีต้องทำอะไรมากกว่านี้เพื่อสนับสนุนการกลับเข้ามาทำงานในสายนี้อีก โดยผู้หญิงจำนวนมากถึง 87% ในอินเดีย และ 84% ในจีน ต่างเห็นด้วยกับข้อสนับสนุนนี้

อย่างไรก็ตาม การมาถึงของ โปรแกรมรีเทิร์นชิพ หรือแผนการสำหรับกลับมาทำงานอีกครั้ง ไม่ได้เพิ่มความหวังให้เพียงแวดวงเทคโนโลยี แต่ยังมีผลถึงหน่วยงานทางกฎหมาย งานบริการแบบมืออาชีพ และในด้านอื่นๆ เหล่าผู้หญิง 70%  ซึ่งกลับมาทำงานสายเทคโนโลยีอีกครั้งเชื่อว่าโปรแกรมดังกล่าว ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การฝึกฝน ปรับทักษะให้เหมาะกับงานปัจจุบันและอนาคต พัฒนาทักษะ และมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา ถือเป็นกุญแจสำคัญในการก้าวข้ามความท้าทายที่กลับมาทำงานอีกครั้ง โดยผู้หญิงที่หวนคืนวงการในสายนี้ต้องการรู้สึกว่ามีอำนาจและสร้างฐานจากประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว แทนที่จะรู้สึกว่าต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่จุดออกสตาร์ท ในขณะที่ 2 ใน 5 ซึ่งกลับมาทำงานนั้นกล่าวว่าโอกาสพัฒนาทักษะอย่างสม่ำเสมอถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในแวดวงเทคโนโลยี (41%) อย่างไรก็ตาม พวกผู้หญิงต่างเห็นพ้องต้องกันอย่างยิ่งว่า โปรแกรม รีเทิร์นชิพ ช่วยสร้างความมั่นใจให้ก้าวข้ามปัญหาที่พบจากการกลับมาทำงานอีกครั้ง (70%)

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ โปรแกรมเหล่านี้เปิดโอกาสให้เหล่าผู้หญิงสร้างทักษะและช่วยสนับสนุนสิ่งที่จำเป็นต่อความก้าวหน้า โดย 62% ของผู้ที่กลับเข้าวงการอีกครั้งกล่าวว่า สามารถรับคำปรึกษาจากพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาตอนที่กลับมาทำงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้หญิงในวงการเทคโนโลยีต่างเห็นพ้องว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จทางอาชีพ นอกจากนี้ 68% ก็กล่าวว่าเมื่อกลับมาทำงานแล้วบริษัทได้ช่วยปรับทักษะด้านเทคนิคและด้านอื่นๆ ให้ทันปัจจุบัน

เกาะกระแสเศรษฐกิจ กับ Line@มติชนเศรษฐกิจใกล้ตัว

เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image