แบงก์ชาติอาเซียนหนุนใช้สกุลท้องถิ่นลงทุนโดยตรง ผนึกยกระดับป้องกันภัยไซเบอร์

เมื่อวันที่ 5 เมษายน นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับผู้ช่วยผู้ว่าการ ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยในงานประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ณ จังหวัดเชียงราย จัดโดยกระทรวงการคลังร่วม และธปท. เปิดเผยว่า ธนาคารกลางอาเซียนได้มีการส่งเสริมให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อการค้าและการลงทุนในภูมิภาคสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขายแทนสกุลเงินหลักอย่างดอลลาร์สหรัฐที่ปัจจุบันใช้อยู่สัดส่วน 80% ของการค้าทั้งหมด จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดค่าใช้จ่ายการแลกเปลี่ยนเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐ และต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลง ปัจจุบันการใข้สกุลท้องถิ่นอาเซียน ได้แก่ บาท-ริงกิต มาเลเซีย บาท-รูเปียร์ อินโดนีเซีย ริงกิต-รูเปียร์ และล่าสุด ได้มีการลงนามความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ระหว่าง บาท-เปโซ ฟิลิปปินส์ ริงกิต-เปโซ รูเปียร์ -เปโซ และ บาท-จ๊าด เมียนมา เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนคาดว่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ เรียล กัมพูชา อยู่ระหว่างการศึกษาว่าแนวทางใดเหมาะสม ส่วนนอกอาเซียน สามารถใช้ บาท-หยวน จีน และบาท- เยน ญี่ปุ่น ในการซื้อขายได้

“การส่งเสริมใช้สกุลเงินท้องถิ่น นอกจากการค้าแล้วจะขยายกรอบให้กว้างขวางมากขึ้น โดยจะพิจารณาให้สามารถใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการลงทุนโดยตรงในประเทศอาเซียนต่างๆ ต่อไป โดยบาท-ริงกิต มาเลเซีย ได้เริ่มจากการค้า ก่อนจะขยายมาสู่การลงทุนโดยตรง ขณะนี้บาท-รูเปียห์ ได้เริ่มใช้ในการค้าแล้ว อยู่ระหว่างการไปสู่การลงทุนโดยตรงในระยะต่อไป” นางสาวอลิศรา กล่าว

นางสาวอลิศรา กล่าว ค่างินบาทเทียบดอลาร์สหรัฐมีความผันผวนมากขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองโลก สงครามการค้าสหรัฐ-จีน และยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนอื่นๆ เพิ่มเข้ามาอีก ทำให้การใช้สกุลเงินท้องถิ่นมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องตะหนักในการป้องกันและบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสม ในส่วนของ ธปท. มีเครื่องมือดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่น เพื่อดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้ความผันผวนจนอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดเสถียรภาพการเงิน และได้ส่งเสริมภาคธุรกิจป้องกันความเสี่ยง 

นางสาวอลิศรา กล่าวว่า ธนาคารกลางอาเซียนยังได้มีการหารือ เรื่องการยกระดับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ แนวปฏิบัติส่งเสริมความปลอดภัย ทั้งผู้กำกับดูแล และผู้ให้บริการทางการเงินในอาเซียน โดยกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภัยทางไซเบอร์ ซึ่งมีจะมีการแชร์ข้อมูลและทำงานร่วมกันเพื่อหามาตรการ แนวทางป้องกัน การแก้ไข ปัญหาร่วมกันในระยะต่อไป เพราะปัจจุบันระบบการเงินในอาเซียนมีการเชื่อมโยงกันและมีการใช้เทคโนโลยีใหม่มากขึ้น หากมีภัยคุกคามเกิดขึ้นกระทบเสถียรภาพการเงินของแต่ละประเทศได้ รวมทั้งเรื่องการธนาคารเพื่อความยั่งยืน ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมภิบาลที่ดี เพราะเหล่านี้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคมและเสถียรภาพเศรษฐกิจ และมีความสำคัญต่อมุมมองนักลงทุนมากขึ้น ที่ผ่านมาได้พัฒนาตลาดทุน เช่น พันธบัตรสีเขียว ปีนี้ ธปท. จะยกระดับมายังสถาบันการเงินมากขึ้น เรื่องที่สำคัญส่งเสริมให้สถาบันการเงินนำแนวปฏิบัติคำนึงสิ่งแวดล้อม การปล่อยสินเชื่อ และธนาคารกลางจะมีบทบาทสนับสนุนอย่างไรบ้าง และสร้างการตระหนักรู้ให้ประเทศสมาชิกอาเซียน 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image