แล้งกระทบหนัก! กสิกรไทยคาดสูญ 1.5หมื่นล้านบ. ข้าวนาปีแย่ผลผลิตลด

รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่าสถานการณ์ภัยแล้งนอกฤดูกาลในปี2562 (พฤษภาคมกรกฎาคม2562) ได้ส่งผลกระทบต่อความแห้งแล้งเป็นอย่างมากจากอิทธิพลของเอลนีโญกำลังอ่อนที่ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงและมีภาวะฝนน้อยน้ำน้อยพิจารณาได้จากปริมาณน้ำในเขื่อนที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลต่อความเสียหายของผลผลิตพืชเกษตรหลักอย่างข้าวนาปีที่ได้ปลูกไปแล้วทำให้ราคาข้าวนาปีเฉลี่ยขยับขึ้นได้ในช่วงนี้โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าผลกระทบจากภัยแล้งนอกฤดูกาลในครั้งนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปีเป็นหลักซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า15,000 ล้านบาทหรือคิดเป็นราว0.1% ของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ(จีดีพี)

ภัยแล้งนอกฤดูกาลครั้งนี้ที่ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงและภาวะฝนน้อยน้ำน้อยในช่วงเดือนพฤษภาคมกรกฎาคม2562 ได้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและยิ่งเป็นการซ้ำเติมรายได้เกษตรกรให้แย่ลงไปอีกโดยข้าวนาปีเป็รพืชเกษตรที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด จากปัญหายืดเยื้อยาวนานเพราะตรงกับฤดูกาลเพาะปลูกอีกทั้งผลผลิตข้าวนาปีส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดเป็นสัดส่วนผลผลิต46.4% ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งประเทศซึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่นอกเขตชลประทานมากถึง90% ของพื้นที่ปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงต้องอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นหลักซึ่งภัยแล้งในช่วงนอกฤดูกาลดังกล่าวนี้ทำให้ราคาข้าวนาปีเฉลี่ยขยับขึ้นส่งผลต่อภาพรวมราคาข้าวนาปีเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปี2562 เพิ่มขึ้น6.4% เทียบกับปีที่ผ่านมาอย่างไรก็ตามด้วยความเสียหายของผลผลิตข้าวนาปีที่ลดลงจึงยังเป็นแรงกดดันต่อภาพรวมรายได้เกษตรกรรายงานข่าวระบุ

รายงานข่าวระบุว่าต้องติดตามสถานการณ์ภัยแล้งนอกฤดูกาลที่อาจลากยาวได้อีกอาจกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่จะออกสู่ตลาดและจะส่งผลต่อมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก ซึ่งอิทธิพลของปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังอ่อนที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดในช่วงเดือนสิงหาคมธันวาคม2562 ซึ่งอาจกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปีที่จะออกสู่ตลาดจำนวนมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี2562 ดังนั้นคงต้องมีการติดตามระยะเวลาและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นระยะและอาจต้องมีการทบทวนตัวเลขความเสียหายตามความเหมาะสมในระยะต่อไปรวมถึงต้องติดตามสภาพภูมิอากาศในช่วงระยะข้างหน้าเนื่องจากความรุนแรงของภัยแล้งอาจมีระดับไม่เท่ากันในแต่ละเดือนรวมทั้งต้องจับตาสถานการณ์ภัยแล้งในปี2562 ที่ลากยาวเช่นนี้อันจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนซึ่งจะใช้เป็นน้ำเพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้งถัดไปในปี2563 (พฤศจิกายน2562-เมษายน2563) โดยจะกระทบต่อพืชเกษตรหลักที่มีฤดูกาลเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งที่สำคัญคือข้าวนาปรังมันสำปะหลังและอ้อยก็จะยิ่งทำให้ตัวเลขมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมีความเสียหายต่อเนื่องไปจนถึงปี2563 และกระทบรายได้เกษตรกรให้ยังคงลำบากต่อเนื่องไปอีกรวมถึงในระดับภูมิภาคจะยังส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อคนในพื้นที่และจะยิ่งเป็นการฉุดกำลังซื้อครัวเรือนภาคเกษตรการมีงานทำรวมทั้งปัญหาในภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image