ไทยขึ้นแท่นดาวรุ่งอุตฯการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุของอาเซียน

ไทยขึ้นแท่นดาวรุ่งอุตฯการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุของอาเซียน

นายแยน ลูเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธิสเซ่นครุปป์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า ผลการศึกษาเชิงลึกจากรายงานในหัวข้อ “Additive Manufacturing: Adding Up Growth Opportunities for ASEAN” (อุตสาหกรรมการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ การเพิ่มโอกาสการเติบโตสำหรับทวีปเอเชียน) ซึ่งเพิ่งได้รับการเผยแพร่โดยธิสเซ่นครุปป์ บริษัทวิศวกรรมยักษ์ใหญ่ระดับโลกระบุถึงความเป็นดาวรุ่งของประเทศไทยในการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุของอาเซียนด้วยการครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25 ในภูมิภาคนี้ โดยได้แรงขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และการดูแลสุขภาพ การผลิตแบบ AM ในประเทศไทยมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยดึงดูดบริษัทในประเทศและต่างประเทศให้หันมาสนใจการผลิตแบบ AM มากยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นผู้นำการผลิตแบบ AM ในประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกอย่างโตโยต้าและบีเอ็มดับเบิลยูได้ใช้ประโยชน์จากการผลิตแบบ AM แล้วในปัจจุบัน อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ลงนามเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับสถาบันวิจัยชื่อดัง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) จากสิงคโปร์เพื่อพัฒนาวัสดุสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ สำหรับกลุ่มสถาบันวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดตัวห้องปฏิบัติการต้นแบบดิจิตอล (Digital Prototyping Laboratory) ซึ่งนำเสนอบริการโรงงานพิมพ์ (printer farm) ด้วยระบบคลาวด์แห่งแรกในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการจัดการหลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยและการพัฒนางานวิจัย

โดยรัฐบาลไทยยังมีส่วนร่วมในการผลักดันการผลิตแบบ AM ล่าสุดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงนามบันทึกความเข้าใจกับออโต้เดสก์ (Autodesk) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือ “แพลตฟอร์มการผลิตแบบดิจิทัล” (Digital Manufacturing Platform) เพื่อช่วยสนับสนุนแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ บันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีเป้าหมายยกระดับขีดความสามารถทางการผลิตผ่านการใช้เทคโนโลยี 3D ที่ล้ำสมัยในทุกอุตสาหกรรมและศักยภาพการผลิตดิจิทัล

Advertisement

โอกาสมากมายในตลาดอาเซียนจะทำให้ได้ใช้ประโยชน์จากการผลิตแบบ AM โดยเฉพาะการช่วยส่งเสริมการผลิตระดับโลก และมีการคาดการณ์ว่าตลาดการผลิต AM จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 และช่วยส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตขึ้นร้อยละ 1.5 ถึง 2 ทำให้โอกาสแห่งการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิตแบบ AM ในภูมิภาคนี้มีมากมาย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image