รมว.กษ. นำทีมติดตามอุทกภัยอุบลฯ กรมชลฯติดตั้ง 300 เครื่องสูบน้ำ 29 ก.ย.สู่ปกติ

รมว.กษ. นำทีมติดตามอุทกภัยอุบลฯ กรมชลฯติดตั้ง 300 เครื่องสูบน้ำ 29 ก.ย.สู่ปกติ เร่งรัดการจ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังภายใน90 วัน

เมื่อวันที่ 22 กันยายน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ พร้อมตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ ณ สถานีวันน้ำท่า M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

นายเฉลิมชัยเปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ.อุบลราชธานีว่าในวันนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำซึ่งปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีปริมาณน้ำฝนสะสมตั้งแต่ปี2562 ถึงปัจจุบัน1,547.60 มิลลิเมตรน้อยกว่าปีที่แล้ว0.26% (ฝนสะสมเฉลี่ย30 ปีคือ1,581.70 มิลลิเมตร) โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ได้แก่เขื่อนสิรินธรมีความจุที่ระดับเก็บกัก1,966.47 ล้านลบ.. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ1,842.34 ล้านลบ.. (คิดเป็น93.69%) ปริมาณน้ำใช้การ1,010.96 ล้านลบ.. (มากกว่าปีที่แล้วคิดเป็น38.03%) และเขื่อนปากมูลมีความจุที่ระดับเก็บกัก225.00 ล้านลบ.. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ40.03 ล้านลบ.. (คิดเป็น17.79%) ปริมาณน้ำระบาย576.83 ล้านลบ../วันและสำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางมีจำนวน13 อ่างความจุที่ระดับเก็บกักรวม130.02 ล้านลบ.. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ132.80 ล้านลบ.. (คิดเป็น102.13%) มากกว่าปีที่แล้วคิดเป็น38.35 % อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการตามแนวทางมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในระยะเร่งด่วนโดยมอบหมายส่วนราชการในสังกัดเช่นกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำหลากน้ำท่วมน้ำล้นตลิ่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ102 เครื่องเครื่องผลักดันน้ำ342 เครื่องเครื่องจักรกลอื่นกรมปศุสัตว์แจกจ่ายพืชอาหารสัตว์15 จังหวัด840,700 กิโลกรัมอาหารสัตว์อื่น18,200 กิโลกรัมถุงยังชีพสำหรับสัตว์979 ถุงอพยพสัตว์114,604 ตัวสร้างเสริมสุขภาพสัตว์27,080 ตัวกรมประมงสนับสนุนเรือตรวจการประมงน้ำจืด21 ลำพร้อมเจ้าหน้าที่90 นายลำเลียงผู้ป่วยอพยพประชาชนสนับสนุนพื้นที่ประสบอุทกภัย15 จังหวัด866,800 กิโลกรัมสนับสนุนอาหารสัตว์(อาหารอื่นๆ) 18,200 กิโลกรัมสนับสนุนถุงยังชีพสำหรับสัตว์1,279 ถุงและอพยพสัตว์117,465 ตัวสร้างเสริมสุขภาพสัตว์33,392 ตัวนอกจากนี้ยังเร่งให้สำรวจความเสียหายเพื่อเร่งรัดการจ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบก.คลังภายใน90 วันนับแต่วันที่เกิดภัย

Advertisement

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากอิทธิพลพายุโพดุล เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณลุ่มน้ำชี-มูลประสบอุทกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำมูล กรมชลประทานได้เร่งดำเนินการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยมาโดยตลอด ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูลที่สถานีวัดน้ำ M.7 มีระดับสูงกว่าตลิ่งที่อำเภอวารินชำราบประมาณ 2.91 เมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,992 ลบ.ม./วินาที ซึ่งในขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขง ต่ำกว่าระดับน้ำแม่น้ำมูลประมาณ 3.05 เมตร การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงจึงสามารถระบายได้ดี ทำให้ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ M.7 ระดับน้ำลดต่ำลงเฉลี่ยประมาณวันละ 20 เซนติเมตร ส่งผลให้ระดับน้ำที่ท่วมขังบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำมูลเริ่มมีระดับลงลดอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำค้างทุ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำชี 880 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยแม่น้ำชี-มูล(ส่วนหน้า)จังหวัดอุบลราชธานี กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำบริเวณต้นน้ำ ด้วยการหน่วงน้ำไว้ที่อาคารบังคับน้ำต่างๆ ในขณะที่พื้นที่ปลายน้ำ สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำตลอดลำน้ำมูลจนถึงอำเภอโขงเจียม รวมทั้งสิ้น 300 เครื่อง แบ่งเป็นติดตั้งที่อำเภอพิบูลมังสาหารจำนวน 100 เครื่อง และที่อำเภอโขงเจียมอีกจำนวน 200 เครื่อง โดยดำเนินการติดตั้งพร้อมเดินเครื่องแล้วทั้งหมด เพื่อเร่งผลักดันน้ำจากลำน้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขงให้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันบางพื้นที่ประชาชนสามารถกลับเข้าที่พักได้แล้วตั้งแต่วันที่20กันยาน2562ที่ผ่านมา คาดว่าระดับน้ำจะลดลงเสมอตลิ่งกลับสู่สภาวะปกติ ในวันที่29กันยายน2562 เป็นต้นไป ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นการเข้าช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยหลังน้ำลด โดยมีมาตราการช่วยเหลือ 8 กิจกรรม ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรละสหกรณ์ อาทิ การเข้าสำรวจความเสียหาย โดย กรมส่งเสริมการเกษตร จัดหน่วยเคลื่อนที่ให้คำแนะนำฟื้นฟูด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ การแจกเมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ โดยกรมการข้าว และกรมปศุสัตว์ การปล่อยพันธุ์ โดยกรมประมง ในส่วนของกรมชลประทาน จะดำเนินการเร่งระบายน้ำและเข้าช่วยเหลือด้านการซ่อมแซมเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เสียหายจากน้ำท่วม นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ในวันที่ 23 กันยายน 2562 ปล่อยขบวนคาราวานเครื่องจักร เครื่องมือ และคณะจิตอาสา เข้าทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนที่ประสบอุทกภัย เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image