“สรท.” หั่นเป้าส่งออกทั้งปี’62 โตลบ 1.5% คาดปี’63 โตแค่ 0-1%

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สรท. ได้ปรับลดประเมินคาดการณ์การส่งออกปี 2562 จะติดลบที่ 1.5% จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 1% ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าขณะนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.42-30.66 บาทต่อเหรียญสหรัฐ รวมถึงคาดการณ์การส่งออกในปี 2563 จะเติบโตได้ที่ 0-1% โดยมีปัจจัยบวกสนับสนุนที่สำคัญคือ ความผ่อนคลายของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน (เทรดวอร์)  เนื่องจากสหรัฐได้เลื่อนการขึ้นภาษีอัตรา 30% มูลค่า 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากวันที่ ตุลาคม เป็น 15 ตุลาคมนี้แทน และจีนได้ประกาศงดเว้นภาษีสินค้าสหรัฐในกลุ่ม ยา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ มูลค่ากว่า 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มีภาพที่ผ่อนคลายมากขึ้น ถึงแม้จะยังไม่ได้ยุติลงในคราวเดียวก็ตาม รวมถึงการส่งออกทองคำยังเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยหนุนการส่งออก เพราะถูกพิจารณาว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย โดยการส่งออกทองคำ ในเดือน สิงหาคม ที่ผ่านมา โตกว่า 300%

นางสาวกัณญภัค กล่าวว่า สำหรับมูลค่าการส่งอออกของเดือนสิงหาคม 2562 ติดลบ 4% มูลค่ารวม 21,914.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2561 ส่งผลให้เดือน สิงหาคม ที่ผ่านมา ประเทศไทยเกินดุลการค้า อยู่ที่ 2,053  ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวมการส่งออกช่วง 8 เดือนแรก (มกราคม-สิงหาคม) 2562 ยังติดลบ 2.2% มูลค่ารวมที่ 166,091 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้การส่งออกช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ประเทศไทยเกินดุลการค้าอยู่ที่ 6,106 ล้านเหรียญสหรัฐ

นางสาวกัณญภัค กล่าวว่า ตัวปัจจัยบวกยังไม่แน่ใจว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยบวกบ้าง เนื่องจากยังไม่เห็นว่ามีปัจจัยบวกใดที่ชัดเจน เนื่องจากการเติบโตของภาคการส่งออก จะประเมินผ่านการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาก็พบว่ามีการชะลอการเติบโตลงในหลายประเทศ โดยถึงแม้ว่าสงครามการค้าจะบวชที่ขายมากขึ้นแต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ซึ่งในภาคของผู้ประกอบการต้องการเห็นความแน่นอนที่ชัดเจนเพราะความไม่แน่นอน ของสงครามการค้า ส่งผลให้ทั้งฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภคชะลอตัวลง ซึ่งปัจจัยบวกที่ไม่ชัดเจนก็ส่งผลให้เกิดปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยลบขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเป็นเรื่องของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จากผลของสงครามการค้า และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (เบร็กซิท) ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าชะลอตัวลง ซึ่งในฝั่งของผู้ประกอบการก็ยังไม่แน่ใจว่า เศรษฐกิจโลกจะสามารถเติบโตต่อไปได้หรือไม่ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจของหลายประเทศชะลอการเติบโตลง

“กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ปรับลดเป้าการส่งออก จึงยืนอยู่ที่ 3% แต่เข้าใจว่าเป็นความพยายามที่จะผลักดันให้การส่งออกไม่ติดลบมากกว่า ซึ่งในส่วนเอกชนเชื่อว่าน่าจะยืนบวกไม่ได้แล้ว จึงปรับลดเป้าคาดการณ์ลง เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ โดยเฉพาะค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ขณะนี้จะไม่ได้ผันผวนมากนัก แต่ก็ไม่ได้อ่อนค่าลง รวมถึงมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในประเทศไทยที่กระทบกับภาคการส่งออกมากที่สุด รวมถึงทำให้สินค้าเกษตรได้รับผลกระทบ ในส่วนของความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง โดยหากเปรียบเทียบกับคู่แข่งและปริมาณสต๊อกสินค้าที่มีอยู่จำนวนมากในตลาดโลก ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน ปริมาณการส่งออกของไทยถึงชะลอตัวลง อีกทั้งการเกิดน้ำท่วมในภาคอีสาน ที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับผลผลิตทางการเกษตร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของภาคการผลิตเพื่อการส่งออกของไทย ซึ่งหากมองตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ก็เคยเกิดขึ้นเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ด้วยการสร้างสิ่งป้องกันภัยพิบัติ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรในทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วมขึ้นเหมือนตอนนี้” นางสาวกัณญภัคกล่าว

Advertisement

นางสาวกัณญภัค กล่าวว่า สรท. มีข้อเสนอแนะคือ 1.ต่อยอดการเจรจาธุรกิจจากการเปิดตลาดศักยภาพระดับรอง (อินเดีย) เพราะตลาดอินเดียเป็นตลาดที่มีศัพภาพ และยังสามารถรองรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและสินค้าของไทย ที่มีความพร้อมในการเปิดตลาด อาทิ จิวเวอรี่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนยานยนต์ 2.เร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย สามารถส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก และคู่ค้ารองกับไทยเพิ่มมากขึ้น อาทิ ไทย-อียู ไทย-สหราชอาณาจักร และไทย-อินเดีย 3.การลดต้นทุนโลจิสติกส์ในประเทศ เพื่อลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการส่งออกของไทย จากสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทั้งสงครามการค้า และค่าเงินบาทที่ปัจจุบันไทยยังคงแข็งค่ากว่าคู่ค้าและคู่แข่งจำนวนมาก

เกาะกระแสเศรษฐกิจ กับ Line@มติชนเศรษฐกิจใกล้ตัว

Advertisement

เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image