‘ไสลเกษ’ผงาดนั่ง ปธ.สภาศาลสูงอาเซียน เปิดผลประชุม 7 ประเด็น ติงข้อระวังใช้’เอไอ'(ชมคลิป)

“ไสลเกษ”ผงาดนั่ง ปธ.สภาศาลสูงอาเซียน สรุปผลประชุม 7 ประเด็น เตรียมทำเว็บไซต์ กม.อาเซียน – ประกาศหลักสูตรอบรมทางเว็บไซต์ – ขยายความร่วมมือทางศาลอาเซียน +3 เผย สิงคโปร์-มาเลย์ฯเสนอศึกษานำ’เอไอ’ มาพิจารณาคดี เห็นยังมีข้อระวังให้เครื่องมือมาบังคับมนุษย์ไม่ได้จะลำบาก เเต่เห็นควรใช้เป็นเครื่องมือ

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ที่โรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ทแอนด์สปา เมอร์ลินบีช จ.ภูเก็ต มีการประชุมสภาประธานศาลสูงสุดอาเซียน ครั้งที่ 7 (7th Council of ASEAN Chief Justices Meeting – CACJ) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ร่วมประชุมกับประธานศาลสูงสุดอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

โดยในช่วงเช้า นายไสลเกษ ประธานศาลฎีกา ได้รับเลือกเป็นประธานสภาประธานศาลสูงสุดอาเซียน ในการประชุมสภาประธานศาลสูงสุดอาเซียน ครั้งที่ 7 ซึ่งศาลฎีกาของไทยได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ตามความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาประธานศาลสูงสุดอาเซียนครั้งก่อนที่ประเทศสิงคโปร์ และจะนำข้อสรุปของการประชุมที่ได้ไปจัดทำเป็นปฏิญญาเพื่อให้ประธานศาลฎีกาของประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันลงนามที่ศาลฎีกา กรุงเทพฯ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ต่อไป

ต่อมาเวลา 15.30 น.นายไสลเกษ เปิดเผยถึงผลการประชุมว่า ได้ข้อยุติในการแสวงหาความร่วมมือ ของทั้ง10 ประเทศประกอบด้วย 1.จะมีจัดทำเว็บไซต์กลาง ของศาลในการนำกฎหมายกลุ่มประเทศอาเซียนมาเผยแพร่ จะลงข้อมูลที่เกี่ยวกับศาลทั้งระบบ ซึ่งเเต่ละประเทศก็ได้รับมอบหมายให้ประมวลคำพิพากษาที่สำคัญของแต่ละประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ แนวการวินิจฉัย คดีสำคัญเเต่ละประเทศเเละให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ ใครจะทำธุรกิจธุรกรรมติดต่อภายใน 10 ประเทศอาเซียน สามารถค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์นี้ได้ ส่วนอุปสรรคจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานซึ่งที่ผ่านมาได้รับสนับสนุนจากประเทศนอร์เวย์ แต่เชื่อว่าหากทุกประเทศให้ความร่วมมือ ก็จะเป็นประโยชน์ เชื่อว่าปัจจุบันธุรกิจไร้พรมแดน จำเป็นต้องรู้กฎหมาย เข้าใจ เข้าถึงง่าย เพื่อธุรกิจมีประสิทธิภาพ

Advertisement

2.ความร่วมมือกันส่งหมายเอกสารคดีที่เกี่ยวพันกันของส่วนราชการ คดีที่คู่ความอยู่ต่างประเทศ เเต่ถ้าแต่ละประเทศไม่มีข้อตกลงร่วมกัน มันก็จะเกิดความยากลำบาก ไม่สามารถส่งหมายดำเนินคดีได้ ก็มีการตั้งคณะทำงานศึกษาเพื่อหาข้อยุติอย่างไร ที่จะส่งหมายที่มีผลบังคับตามกฎหมายในศาลที่เเตกต่างกันได้ด้วย เเต่ข้อนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงต้องศึกษาที่จะหาเเนวทางให้มีความเท่าเทียม ปฏิบัติร่วมกันเเละต่างตอบแทน กันใน10ประเทศ

3.การบริหารจัดการคดีในศาล โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งหลายประเทศในอาเซียนตื่นตัว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ในส่วนนี้สำนักงานศาลยุติธรรมของไทยมีนโยบายชัดเจน วางเป็นเเผนยุทธศาสตร์ชาติ5ปี ในไทยเองก็มีนโยบายชัดเจนมีการเริ่มเเละสนับสนุนเพื่อสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ถ้าได้รับงบสนับสนุนผลักดันการใช้เทคโนโลยีในศาล อำนวยความสะดวกประชาชน และไม่ทิ้งคนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี .ก็ใช้เทคโนโลยีควบคู่กับการพิจารณาคดีเเบบเก่าเเต่เชื่อว่าสักวันจะลดขั้นตอนเเละใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นทุกวันๆ โดยแนวพัฒนาของคณะทำงานจะลดขั้นตอนใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ถึงขั้นที่ว่ามีคณะทำงานศึกษาลงลึก รวมถึงการศึกษาข้อเสนอการนำปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอมาใช้ประมวลข้อเท็จจริงโดยการคำณวนเเละหาออกมาว่าคดีประเภทไหนจะตัดสินอย่างไร เเต่สิ่งนี้ต้องทำการบ้านกันต่อไป เพราะการนำAIที่สมาชิกหลายประเทศพูดถึงว่าเราจะสามรถตรวจสอบความถูกต้องได้จริงหรือไม่ ตรงนี้ยังถือเป็นข้อกังวล ว่าการพิจารณาพิพากษาตัดสอนคดีจะ ตรวจสอบโปร่งใสถูกต้องจริงหรือไม่

4.การฝึกอบรมทางการศาล เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นในการประชุม เพราะการพัฒนาบุคลากรในศาลให้ทันเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก หลายประเทศมีการเเสวงหาความร่วมมือกัน เเละบรรจุลงในเว็ปไซต์ที่จะมีการเเจ้งหมดว่าประเทศไหนจะจัดอบรมอะไร เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่หรือไม่เสียโดยจะบรรจุรายละเอียดหลักสูตรประมวลไว้ในเว็บไซต์ ให้แต่ละศาลเลือกช็อปปิ้งได้อยากเพิ่มการอบรมด้านไหน มากขึ้น ซึ่งทำได้ง่ายสุดเเละเป็นประโยชน์มาก ซึ่งปัจจุบันศาลไทยก็ได้อบรมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแบ่งปันความรู้และสร้างมิตรภาพที่ดี ประเทศที่แข็งแรงทางเศรษฐกิจสามารถจัดหลักสูตรฝึกอบรมได้ดี ประเทศที่ไม่แข็งแรงต้องช่วยเหลือกันเเละเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะสร้างความสัมพันธ์มีมิตรภาพต้องเป็นวันของเรา

Advertisement

5.การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับเด็ก กรณีพ่อแม่ประเทศหรือต่างสัญชาติกัน เด็กเกิดอีกประเทศ ถ้าแยกทางกันเด็กจะได้รับผลกระทบเเละเด็กจะอยู่กับใคร ใช้กฎหมายของประเทศใดในการวินิจฉัย ว่าใครมีอำนาจปกครอง รวมถึงเรื่องทรัพย์สินที่จะตกแก่เด็กจะใช้กฎหมายประเทศใดตรงนี้เป็นปัญหาในหลายประเทศ ประเทศของเรามีการติดต่อสื่อสารกับหลายประเทศความสัมพันธ์ในทางครอบครัวมีโอกาสขยายออกไปมาก ปัญหาจึงตามมาการให้การคุ้มครองเด็กเป็นเรื่องสำคัญ ร้านเป็นนโยบายหลักหลักในประเทศของเราที่จะดูแลลดความขัดแย้งในครอบครัวและลดปัญหาที่เกิดกับเด็กเพราะทุกคนเข้าใจดีว่าเด็กคืออนาคตของประเทศชาติพลาทำงานเองก็ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเด็กข้ามชาติซึ่งจะต้องหาข้อยุติจากคณะทำงาน เเละวางเเพลนไว้ว่าขณะทำงานที่นำผลการศึกษาไปศึกษาจะหาข้อยุติมาเป็นแนวปฏิบัติต่อไปในการประชุมครั้งหน้า

6.ความร่วมมือทางการศาล มาจากแนวความคิดที่ว่าอาเซียนเป็นการร่วมมือใน 10 ประเทศแต่โลกมันกว้างใหญ่ ความร่วมมือมันน่าจะขยายไปยังประเทศกลุ่มอื่นอีกเราจึงคิดว่า คณะทำงานอาเซียนควรจะร่วมกับประเทศอื่นได้อย่างไรบ้าง โดยจะขยายขอบเขตความร่วมมือทางการศาลอาเซียน +3 ซึ่งทั้ง3ประเทศที่ใกล้ตัวและมีบทบาททางการค้าระหว่างประเทศกับเรามากคือญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ซึ่งทั้ง3ประเทศมีเศรษฐกิจที่แข็งแรง เเละเป็นประโยชน์ต่ออาเซียน ส่วนกลุ่มที่สองพอใจยังมีการขยายขอบเขตว่าถ้าเราได้ร่วมกับ3ประเทศที่บอกเเล้ว ระยะต่อไปกลุ่มประเทศที่นอกจาก3ประเทศนี้จะได้ร่วมมือกัน ในส่วนนี้อาจจะมีการทำครบคู่กัน ส่วนองค์กรอื่นๆที่ไม่ใช่ศาล คณะทำงานชุดนี้เค้ามีการเสนอเป็นข้อศึกษามาว่าจะกำหนดแผนงานว่าหน่วยงานอื่นๆที่ไม่ใช่ศาลก็จะเเสวงหาความร่วมมือต่อไป

และ 7.มีคณะทำงานศึกษาบทบาทสภาศาลสูง ยกระดับมาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพผู้พิพากษาให้ทุกประเทศ ทุกสังคมยอมรับ ศาลไทยมีประมวลจริยธรรม เป็นแนวปฏิบัติ กฎแห่งการประพฤติศีลธรรมทางวิชาชีพ และมีโทษทางวินัย เราเข้มงวดอยู่แล้ว ซึ่งทุกประเทศจะยกระดับให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด

ทั้งนี้ ในการประชุม CACJ ครั้งที่ 8 ประเทศเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพต่อไปในปี ค.ศ.2020 และหลังจากนี้ จะมีการลงนามความร่วมมือที่ศาลฎีกา กรุงเทพฯ ถึงข้อสรุปที่กล่าวมานี้ เป็นความตกลงร่วมกันของกลุ่มประเทศอาเซียน

ผู้สื่อข่าวถามถึงคดีสำคัญที่จะมีการนำขึ้นเว็บไซต์กลางเป็นคดีประเภทใด นายไสลเกษ กล่าวว่า ทั้ง 10 ประเทศ ให้อยู่ในอำนาจตัดสินใจของแต่ละประเทศ ที่เห็นว่าคดีใดจะนำมาลงเเต่ตนมองว่าคดีเศรษฐกิจ การค้า น่าจะมีประโยชน์ มากกว่าเเต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คณะทำงานของไทยต้องพิจารณาอีกครั้ง ว่าต้องไม่กระทบเสียหายต่อคู่ความและบุคคลที่ 3 เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน คนทำธุรกิจการค้าปฏิบัติตัวได้ถูก

ถามถึงข้อเสนอเรื่องการใช้เอไอ ตัดสินคดีเเทนผู้พิพากษาประเทศใดเสนอมานายไสลเกษ กล่าวว่า ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียเป็นผู้เสนอ เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อนำมาศึกษา เรื่องของการนำเอไอ มาใช้ในความเห็นส่วนตัวตนมองว่ามันเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มีข้อมูลในการตัดสินใจเเละเห็นถึงมาตรฐาน หรือแนวที่เคยตัดสินมาว่าในอดีตมีคดีประเภทนี้ศาลเคยตัดสินว่าอย่างไร แต่ก็ยังมีข้อจำกัด บางครั้งคดีคล้ายกัน แต่พฤติการณ์ต่างกันเอไอ มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเข้าใจทุกอย่างได้ ถ้าพูดถึงการพิจารณาพิพากษาคดีเราใช้ผู้พิพากษา เพราะเป็นคดีที่เกี่ยวกับมนุษย์เอไอไม่ใช่มนุษย์เอไอ เป็นเครื่องจักรถ้าเมื่อไหร่ที่เรายอมจำนนกับเครื่องจักรกลโดยสิ้นเชิงพวกเราจะลำบากขึ้นมนุษย์จะถูกสั่งการ ฉะนั้นมนุษย์ต้องใช้เอไอ เป็นเครื่องมือเสริมหรือเป็นข้อมูลในการพิจารณาคดีมากขึ้น


เมื่อถามถึงบทบาทที่นายไสลเกษได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภาศาลสูงอาเซียน นายไสลเกษ กล่าวว่า ได้รับความไว้วางใจจากที่ประชุม ยอมรับเป็นภาระหนักที่ต้องทำให้เต็มที่ ให้ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานอาเซียน เป็นโอกาสในการพัฒนาบุคลากรให้แข่งขันเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อนบ้านได้ ที่สำคัญเราต้องปรับระบบการศึกษาของเรา ให้คนรุ่นต่อไปใช้ภาษาต่างประเทศแข่งกับประเทศอื่นได้ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะนิติศาสตร์ไทยบางมหาวิทยาลัยก็มีการตั้งศูนย์ศึกษาอาเซียนแล้ว ศาลเราก็ตั้งศูนย์สารสนเทศสำหรับศึกษาค้นคว้าระบบกฎหมายอาเซียน

เมื่อถามถึงเทคโนโลยีที่น่าสนใจในประเทศอาเซียน ต่างๆ นายไสลเกษได้อธิบายถึงการฟ้องคดีอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ อย่างประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียที่ฟ้องได้ เพราะมีองค์ความรู้จัดการได้ง่าย วางระบบให้ใกล้เคียงกัน ลดช่องว่าง ซึ่งเขารวมถึงคดีอาญา แต่ไม่ใช่คดีร้ายแรง การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ลบล้างหลักพื้นฐานที่ต้องพิจารณาคดีเปิดเผยในศาล ใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวก ลดการเดินทางมาศาล ลดการใช้กระดาษ เมื่อเห็นตัวอย่างการพัฒนากระบวนการศาลของประเทศเพื่อนบ้านแล้ว หลังจากนี้จะประมวลประโยชน์ที่ใช้ได้ ในเรื่องใดที่เป็นกรอบพื้นฐาน ไม่ขัดกฎหมาย แบกรับค่าใช้จ่ายได้ ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image