‘ทีโอที’ ต้อนรับคณะฯ หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง ดูงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

นายพิพัฒน์ ขันทอง กรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในการตัอนรับคณะนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 10 (พตส.10) ของ กกต. ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคการเมือง ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการและสื่อมวลชนในการศึกษาดูงานการบริหารจัดการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และศูนย์บริหารจัดการโครงข่ายเน็ตประชารัฐ โดยมี นางวรรณพร ลีฬหาชีวะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจขายและบริการลูกค้าองค์กร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และนางสาวจันทนา เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจคลาวด์และดิจิทัล ร่วมให้การตัอนรับ ว่า ทีโอที เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดีอีเอส โดย ทีโอที ได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในทุกๆ ด้าน

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทีโอที ได้สร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของภาครัฐ ในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมไทยให้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล ตามกรอบยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี ประสิทธิภาพทั้งด้านคุณภาพ บริการ และความปลอดภัยในการใช้บริการ เป็นปัจจัยสำคัญที่ ทีโอที มุ่งมั่นดูแลรักษา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ให้คนไทยทุกคน สามารถใช้บริการโทรคมนาคม ด้วยโครงข่ายโทรคมนาคมของ ทีโอที ของคนไทย ของรัฐที่มีเพื่อตอบสนองและเป็นกลไกของภาครัฐ

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า โครงการสำคัญที่ ทีโอที ได้รับมอบหมาย อาทิ การให้บริการโครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม (โครงการเน็ตประชารัฐ) โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โครงการสุขศาลาพระราชทาน สำหรับการศึกษาดูงานในวันนี้ ทีโอที ขอขอบคุณที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เล็งเห็นประโยชน์และให้เกียรติ ทีโอที นำเสนอคือ

Advertisement

ระบบการบริหารจัดการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของกระทรวงดีอีเอส ที่ ทีโอที ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ทีโอที มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์และระบบอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด ต่อสังคม ตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์และความมั่งคงภายในประเทศ พร้อมกับเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องสู่ประชาชน และสาธารณชน

การบริหารศูนย์บริหารจัดการโครงข่ายเน็ตประชารัฐ มีวัตถุประสงค์ เพื่อบริหารจัดการและบริการผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 24,700 หมู่บ้าน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน และเพื่อให้เข้าถึงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้อย่างเท่าถึงและเท่าเทียม และเพื่อรับแจ้งเหตุขัดข้อง ให้คำแนะนำ คำปรึกษา แนวทางแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการใช้งาน อินเทอร์เน็ต และติดตาม การแก้ไข เหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบโครงข่ายและอุปกรณ์กลับมา ใช้งานได้โดยเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจชุมชน เกิดการเติบโต มีการจ้างงาน ในพื้นที่ เป็นการเพิ่มรายได้ครัวเรือน และมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศ

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image