‘ประธานศาลฎีกา’ คลอดระเบียบจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์  ประธานศาลฎีกา ได้ลงนามในระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมในการจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นตันโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ง, ด้านกระบวนการยุติธรรม (1) บัญญัติให้มีการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม โดยกำหนดให้มีการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ขัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติรรรมโดยไม่ล่าช้ากับคำพิพากษาหรือคำสั่งต้องมีความถูกต้องและละเอียดรอบคอบควบคู่กันไปด้วยจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระยะวลาในการจัดพิพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นตันเสียใหม่ให้เหมาะสม อันจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และสอดคล้องกับนโยบายประธานศาลฎีกา

ข้อ 2.2ที่กำหนดให้ความยุติธรรมได้ปรากฎในเวลาอันควร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประธานศาลฎีกาจึงออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบราชการฝ่ยตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยกรอบระยะเวลา ที่เหมาะสมในการจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นพ.ศ.2562”

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศเป็นต้นไป

Advertisement

ข้อ 3 ให้ยกเลืกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยระยะวลาในการจัดพิมพ์

คำทิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น พ.ศ.2562ฉบับประกาศ ณ วันที่ 13  มีนาคม 2562

บรรดาระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดที่ออกตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยระยะเวลาในการจัดหิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น พ.ศ. 2562 ฉบับประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2562ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้

Advertisement

ข้อ 4 ในระเบียบนี้

“คำสั่ง” หมายความว่า คำสั่งศาลที่ทำในรูปแบบคำพิพากษา

ข้อ 5  เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟังแล้วให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนส่งร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งให้เรียบร้อยเพื่อให้คู่ความสามารถคัดถ่ายสำเนาได้ภายใน 10 วันทำการนับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทั้งนี้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอาจกำหนดให้มีการจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งเร็วกว่านั้นสำหรับแต่ละประเภทคดีตามความเหมาะสมของแต่ละศาลก็ได้

ข้อ 6 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นตันหรือผู้พิพากษาหัวหน้ศาลมีหน้าที่ตรวจสอบและติดตามให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและเจ้าพนักงานศาลในสังกัดส่งร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งและจัดพิมพ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ 5

ข้อ 7 ถ้ามีกรณีไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรายงานไปยังประธานศาลฎีกาผ่านเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมระบุเหตุผลความจำเป็น

ประกาศ ณ วันที่ 27  พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

(นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์)

ประธานศาลฎีกา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image