ศิลปะเปลี่ยนโลก ทึ่งผลงาน “ดาวเด่นบัวหลวง”

ศิลปะเปลี่ยนโลก ทึ่งผลงาน “ดาวเด่นบัวหลวง”

 

เราล้วนต่างประสบปัญหาจากภาวะโลกร้อนไม่มากก็น้อย เดินทางไปเรียน ไปทำงาน ท่ามกลางอากาศร้อนเกินเบอร์ จากสภาพดินไฟอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนแปลงเกษตร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ก็เป็นอันต้องสูญเปล่าไปกับภัยธรรมชาติที่เกิดถี่ขึ้น

จึงเป็นวาระสำคัญที่ทุกคน ในฐานะ “ผู้ร่วมชะตากรรม” ต้องตระหนัก ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งการประกวดดาวเด่นบัวหลวง 101 ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ในหัวข้อ “ร่วมมือร่วมใจ พัฒนา ยั่งยืน” จัดโดย มูลนิธิบัวหลวง ร่วมกับหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ซึ่งเป็นงานประกวดศิลปะสด เวทีแจ้งเกิดของศิลปินคนรุ่นใหม่ ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษาสู่การเป็นศิลปินอาชีพ โดยปีนี้มีนิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศ 34 สถาบัน จำนวน 74 คน เข้าร่วมประกวด ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

Advertisement

ทั้ง 74 ผลงาน ได้รับการชื่นชมจากคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งมี อาทิ ศ.เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง, ศ.เมธี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร ว่าผลงานมีมาตรฐานสูงกว่าทุกปี สำคัญที่สุดคือ ทุกคนสามารถใช้ความคิดตีความหัวข้อออกมาเป็นผลงานสุดสร้างสรรค์แตกต่างกันไป เป็นความงอกงามทางความคิดที่ทั้ง 3 อาจารย์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ตัดสินใจยากมาก” จนต้องขอเพิ่มรางวัลดีเด่นอีก 1 รางวัล เพราะผลงานสูสีเหลือเกิน

เริ่มที่ผลงานคว้ารางวัลดาวเด่นบัวหลวง ประเภทดีเด่น รับเงินรางวัล 50,000 บาท

ธนพล ดาทุมมา นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าถึงผลงาน “มิสเอิร์ธ นางงามพิทักษ์โลก” ใช้เทคนิคเย็บปักและวัสดุผสม ว่า ผลงานนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้จัดพาผู้เข้าประกวดไปศึกษาดูงานและเก็บขยะที่คลองแสนแสบ มันทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนว่าได้มาทำภารกิจเก็บตัวประกวดนางงามด้านสิ่งแวดล้อม คือ มิสเอิร์ธ จึงเป็นแรงบันดาลใจนำขยะ เช่น ขวดพลาสติก ฝาขวด หลอด มาตัดเย็บด้วยมือ แล้วแต่งเติมสีสันสดใส ถือเป็นงานที่ทำยากมาก แต่เป็นงานที่ถนัด

Advertisement

“ถือเป็นผลงานศิลปะแรก ที่นำวัสดุที่คนทั่วไปเรียกว่าขยะมาใช้ มันทำให้ดิฉันมีมุมมองต่อขยะพลาสติกที่เปลี่ยนไป ว่าบางอย่างก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ควรนำกลับมาใช้ เพราะถ้าปล่อยไปขยะเหล่านี้ย่อยสลายยากมาก” ธนพลกล่าวทั้งรอยยิ้ม

ส่วนผู้ได้รับรางวัลประเภทดีเด่นอีกคน จริยา จันทร์เกศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยิน เล่าถึงผลงาน ไม้-ถุงพลาสติก ใช้เทคนิคประกอบไม้ ผ่านล่ามภาษามือว่า ดิฉันมีความรู้สึกตระหนักในขยะพลาสติกล้นโลก จึงอยากสื่อสารออกมาด้วยงานไม้ที่ถนัด ด้วยผลงานไม้ที่สื่อถึงธรรมชาติในรูปทรงถุงพลาสติก ใช้เทคนิคสร้างสรรค์ให้งานมีมิติ ทั้งนี้ ดิฉันขอร่วมลดใช้ถุงพลาสติก และอยากเชิญชวนทุกคนมาลดใช้ถุงพลาสติก

ศ.เมธี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ศ.เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง และ อ. ปัญญา วิจินธนสาร
ศ.เมธี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ศ.เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง และ อ. ปัญญา วิจินธนสาร

ธนพล ดาทุมมา ผลงาน ‘มิสเอิร์ธ นางงามพิทักษ์โลก’
ธนพล ดาทุมมา ผลงาน ‘มิสเอิร์ธ นางงามพิทักษ์โลก’
จริยา จันทร์เกศรี ผลงาน ไม้ – ถุงพลาสติก
จริยา จันทร์เกศรี ผลงาน ไม้ – ถุงพลาสติก

ด้าน เกริกเกียรติ ตรีเนตร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปกรรมศสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลประเภทความคิดสร้างสรรค์ รับเงินรางวัล 70,000 บาท เล่าถึงผลงานสังคมกะลาแลนด์ ใช้เทคนิคสีน้ำมัน ว่ามีแรงบันดาลใจจากสังคมปัจจุบัน สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา ผ่านกะลาคือ สังคมในปัจจุบัน ฉัตรตรงกลางคือธรรมชาติและต้นไม้ ในภาพกะลากำลังเอนเอียง ใต้กะลามีไม้ค้ำไม่ให้เอียง พยายามสื่อถึงมนุษย์ที่กำลังช่วยสร้างสมดุลโลก อย่างไรก็ตาม อยากให้คนชมผลงานได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดใช้ถุงพลาสติก แทนด้วยถุงผ้าอย่างที่ดิฉันใช้มาสักพักหนึ่งแล้ว

“การอบรมนอกจากได้ตระหนักเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ดิฉันยังได้เปิดโลกใบใหม่ โลกที่ชื่อว่า “ประสบการณ์” เพราะเดิมเป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยส่งผลงานประกวด แต่พอได้เปิดโอกาสให้ตัวเอง ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ รู้จักวิธีคิดคิดมุมมองใหม่ จึงอยากเชิญชวนเพื่อนๆ น้องๆ ที่กำลังศึกษา ได้ออกมามาหาความรู้นอกห้องเรียน” เกริกเกียรติเล่าทั้งน้ำเสียงตื่นเต้น

เจนณรงค์ แคะมะดัน นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คว้ารางวัลประเภทยอดเยี่ยม รับเงินรางวัล 100,000 บาท เล่าถึงผลงาน เศษซากของชีวิต ใช้เทคนิคปั้นอีพ็อกซี่บนวัสดุ ว่าช่วงนี้จะเห็นข่าวสัตว์ที่ตายด้วยขยะเกิดขึ้นตลอด อย่างเร็วๆ นี้ก็กวางป่าตาย พบว่าในท้องมีแต่ขยะ จึงพยายามสื่อความหมายผ่านขยะให้มีชีวิต ด้วยการทำให้มีเนื้อหนังเหมือนคน ด้วยการผ่าครึ่งให้ภาพเหมือนอวัยวะ อีกทั้งนำสัตว์ป่า เช่น งู ลิง นก กวางมาปั่นรวมในงาน เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นแล้วรู้สึกคิด ว่าบางสิ่งบางอย่าง มันไม่ควรไปอยู่ตรงนั้น

“การประกวดนี้ได้เปลี่ยนมุมมองเรื่องสิ่งแวดล้อมของผมตลอดไป ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราควรใช้พลาสติกให้น้อยลง ต้องใช้อย่างมีคุณค่าสูงสุด” เจนณรงค์กล่าวทิ้งท้ายอย่างออกรส

คนรางวัลดาวเด่นบัวหลวง

เกริกเกียรติ ตรีเนตร์ ผลงานสังคมกะลาแลนด์
เกริกเกียรติ ตรีเนตร์ ผลงานสังคมกะลาแลนด์
เกริกเกียรติ ตรีเนตร์ ผลงานสังคมกะลาแลนด์
เกริกเกียรติ ตรีเนตร์ ผลงานสังคมกะลาแลนด์
เจนณรงค์ แคะมะดัน ผลงาน เศษซากของชีวิต
เจนณรงค์ แคะมะดัน ผลงาน เศษซากของชีวิต
เจนณรงค์ แคะมะดัน ผลงาน เศษซากของชีวิต
เจนณรงค์ แคะมะดัน ผลงาน เศษซากของชีวิต
ผู้เข้าร่วมประกวด
ผู้เข้าร่วมประกวด
ผลงานประกวด
ผลงานประกวด
ผลงานประกวด
ผลงานประกวด
ผลงานประกวด
ผลงานประกวด
ผลงานประกวด
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image