นิสิตจุฬาฯ กดดัน รบ. แก้ปัญหาเชิงรุก PM2.5 ออก กม.อากาศสะอาดลดมลพิษ

นิสิตจุฬาฯ กดดัน รบ. แก้ปัญหาเชิงรุก PM2.5 ออก กม.อากาศสะอาดลดมลพิษ

เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับหนังสือ พร้อมจัดกิจกรรมไล่ฝุ่น#NotMyPM (2.5) ชูป้ายข้อความแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล

เพื่อขอให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันเชิงรุกในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลให้เกิดวิกฤตคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครจังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทย ที่ผ่านมารัฐบาลเคยประกาศให้ ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ผ่านมาเกือบหนึ่งปี ปัญหากลับซ้ำรอยเดิม การตอบสนองของภาครัฐกลับเฉื่อยชา ไม่มีการประกาศหรือมาตรการเฝ้าระวังอย่างชัดเจน

รวมถึงไม่พบการสนับสนุนเร่งด่วนที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ทันเวลา ดังนั้นกลุ่มนิสิตฯ จึงรวมตัวกันแสดงพลังและเรียกร้องให้ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหา ฝุ่น PM2.5 ใน 3 ด้าน คือ

1.ด้านการรับมือปัญหาฝุ่น PM2.5 ในระยะเร่งด่วน ขอเรียกร้องให้ ภาครัฐกระจายข้อมูลข่าวสารและสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชน เตรียมพร้อมและรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างกะทันหัน, หน่วยงานที่เก่ียวข้องต้องแจ้งสถานการณ์ฝุ่นละอองผ่าน SMS โทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนอย่างรวดเร็วและทันสถานการณ์, ระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้า แจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละอองให้ผู้ใช้บริการ รับทราบ ผ่านโทรทัศน์ที่ติดตัวบนรถโดยสาร, รายงานค่าดัชนีคุณภาพอากาศต้องเป็นการรายงานภายในเวลา 3 ชั่วโมงย้อนหลัง ให้สอดคล้องกับ ระยะเวลาจริง,

Advertisement

ในกรณีที่สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วิกฤตหนัก ภาครัฐต้องควบคุมให้กิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษทุกชนิด หยุดลงทันที รวมถึงให้โรงเรียน สถานประกอบการ โรงงาน หยุดงานชั่วคราวจนกว่าปัญหาจะทุเลา รวมทั้งมีมาตรกรรองรับผู้เดือดร้อนหากมีการหยุดงานที่อาจส่งผลให้สูญเสียรายได้, โรงงานอุตสาหกรรมต้องจัดทำบัญชีระบายมลพิษ แจ้งให้ภาครัฐและเปิดเผยต่อภาคประชาชน เพื่อทราบปริมาณควันพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตอันนาไปสู่การป้องกันและดำเนินการทางนโยบาย ต่อไป

2.ด้านการรับมือปัญหาฝุ่น PM2.ในระยะสั้น ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มจุดตรวจ PM 2.5 ให้ท่ัวประเทศ และมีมาตรฐานเดียวกัน, ภาครัฐต้องสนับสนุนและอุดหนุนราคาหน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์ฟอกอากาศ เพื่อลดภาระของ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ รวมถึงอำนวยความสะดวกประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านีได้, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อหาสาเหตุของฝุ่น PM2.5

เนื่องจากจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุออกมาชัดเจนว่าสาเหตุที่แท้จริงของฝุ่นพิษเกิดจากอะไร ส่งผลให้ไม่สามารถแก้ไข ปัญหาฝุ่นพิษได้อย่างตรงจุด, รัฐบาลดำเนินการทูตในเชิงรุก กรณีปัญหาในระดับภูมิภาคหรือระดับนานาชาติ เช่น กรณีไฟป่าจาก ประเทศอินโดนีเซีย, รัฐบาลพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ท่ีขยายพื้นที่ อุตสาหกรรมโดยขาดการวางผังเมืองร่วมกับคนในท้องที่ รวมถึงเปิดโอกาสให้นายทุนข้ามชาติตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ปล่อยควันพิษที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพประชาชนโดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งเป็นส่วนหน่ึงที่ทาให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 เรื้อรัง

3.ด้านการรับมือกับค่าฝุ่นละออง PM2.5 ระยะยาว โดยรัฐบาลควรออกกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ที่เป็นรูปธรรมและใช้ได้จริง โดยร่วมมือกับ หน่วยงานและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยเฉพาะ, ปรับมาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ให้ต่ำลง อ้างอิงตามองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ทั้งมาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 1 ปี และเฉลี่ย 24 ชั่วโมง รวมถึงเกณฑ์ ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ด้วย

เนื่องจากประเทศไทยกำหนดมาตรฐานที่ยอมรับได้ดังกล่าวสูงกว่า ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก(WHO) มาก ทำให้รัฐไม่สามารถแก้ปัญหาฝุ่นละอองที่มาจาก ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคอื่นๆ ได้อย่างจริงจัง และทาให้การแสดงผลค่าฝุ่นละอองในประเทศไทย ผ่าน AQI มีระดับความรุนแรงที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับความเป็นจริง,

ภาครัฐต้องต้องจัดบริการขนส่งสาธารณะที่ราคาถูกและเข้าถึงได้ เพื่อสนับสนุนให้คนใช้บริการขนส่ง สารธารณะ ลดการใช้รถส่วนบุคคล, ภาครัฐต้องออกแบบและวางผังเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแก้ไขหรือวางผังเมืองใหม่โดย คำนึงถึงการลดปัญหามลพิษทางอากาศ รวมถึงกระจายอานาจการบริหารจัดการสู่ท้องถิ่นและ กระจายเจริญด้านวัตถุสู่ที่อื่นนอกจากกรุงเทพมหานครฯ เพื่อเพิ่มอำนาจประชาชนในการแก้ปัญหา เฉพาะพืนที่ รวมทั้งลดความแออัดและการกระจุกตัวของประชากร, ภาครัฐต้องควบคุมวิถีการผลิตที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาคเอกชนอย่างเคร่งครัด และออก กฎหมายควบคุมการผลิตของภาคเอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงการผลักภาระให้ประชาชน, ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต้องจัดตั้งองค์กรดูแลด้านสิ่งแวดล้อมท่ีมีอานาจครอบคลุม ทั่วถึงในการดูแลและแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทั้งหมด และการปฏิบัติขององค์กรต้องเป็นไปอย่าง รวดเร็วและโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image