นักวิชาการสิ่งแวดล้อมโพสต์ 6 ปัจจัยเสี่ยงเจอสารก่อมะเร็ง สูดควันดำจากท่อไอเสียรถดีเซล

เมื่อวันที่ 17 มกราคม นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sonthi Kotchawat ระบุว่า ระวังการสูดดมควันดำจากไอเสียรถเครื่องยนต์ดีเซลเนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งตามข้อสรุปขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ช่วงนี้ในเขตกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะถนนที่มีการจราจรติดขัดหรือถนนที่มีตึกสูงสองข้างและการจราจรติดขัดจะมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือPM 2.5เกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อเราหายใจเข้าไป จากการศึกษาองค์ประกอบของสารพิษที่อยู่ในฝุ่นละอองขนาดเล็กที่อยู่ริมถนนโดยใช้เครื่องมือ dichotomous Partisol samplers โดยนักวิจัยมหาวิทยาลัย Birmingham ทำการศึกษาในหลายประเทศในแถบเอเซียรวมทั้งประเทศไทยด้วย พบว่า

1.ในองค์ประกอบของควันดำจากรถเครื่องยนต์ดีเซลพบว่าเกือบทั้งหมด(ร้อยละ92)เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า100 นาโนเมตรหรือขนาด 0.1 ไมครอนที่เรียกว่า ultrafine particlesหรือ UFP มารวมกันเป็นควันดำซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการตรวจวัดเป็นการเฉพาะ เราวัดได้เฉพาะฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนเท่านั้น ดังนั้นในฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนที่ปล่อยออกมาจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลเกือบทั้งหมดก็คือฝุ่นขนาด 0.1ไมครอนนั่นเอง (ร้อยละ 92)ซึ่งหากหายใจเข้าไปจะสามารถทะลุถุงลมปอดเข้าในกระแสเลือด(Blood stream) และไปทำให้เกิดการอักเสบและทำลายเซลล์ในอวัยวะภายในของร่างกายเป็นที่มาของโรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือ chronic obstructive pulmonary disease (COPD),หัวใจขาดเลือด (Ischaemic heart disease)และโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน (stroke)รวมทั้งเป็นมะเร็งปอด

2.เมื่อนำฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า0.1ไมครอนที่ปล่อยออกจากรถเครื่องยนต์ดีเซลมาวิเคราะห์พบว่า องค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นเขม่า,ละอองฝุ่นและละอองโลหะ ซัลเฟต ไนเตรท แคลเซี่ยม และซิลิกาโดยจะเป็นกลุ่มของสาร polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs)มากที่สุดถึงร้อยละ80 ซึ่งPAHs ดังกล่าวจัดเป็น Aromatic compoundsหรือสารที่ทำลายDNA และก่อมะเร็งในมนุษย์..

3.IRACซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การอนามัยโลก(WHO)ได้สรุปและประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2012 ให้ไอเสียจากรถยนต์ดีเซลเป็นสารก่อให้มะเร็งกลุ่มที่1 ที่ทำให้มนุษย์เป็นมะเร็ง(กลุ่มที่1คือยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์)

Advertisement

4.ดังนั้นเมื่อหายใจเอาฝุ่นขนาดเล็กริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่นและติดขัดเข้าไปในปริมาณมากจึงมีโอกาส เป็นโรคมะเร็งปอด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจ เป็นต้น

6.ประชาชนจึงต้องระวังสุขภาพควรใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นเมื่อเดินหรือทำงานบนถนนที่มีอาคารสูงสองข้างและการจราจรติดขัดรวมทั้งถนนข้างใต้สถานีรถไฟฟ้า ถนนที่มีการก่อสร้างต่างๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image