งานวิจัยชี้ ‘ติดเกม’ เสี่ยงมีอาการคลุ้มคลั่งลงแดง สู่อาชญากรได้ เพราะเห็นความรุนแรงจนชินชา

งานวิจัยชี้ ‘ติดเกม’ เสี่ยงมีอาการคลุ้มคลั่งลงแดง สู่อาชญากรได้ เพราะเห็นความรุนแรงจนชินชา

 

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ห้องธาราเทพ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค รัชดา กรุงเทพฯ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และภาคีเครือข่าย จัดเสวนาสาธารณะความรุนแรง และการพนันในเกมออนไลน์

 

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กล่าวว่า เกมออนไลน์ในปัจจุบันเข้าถึง ติดง่าย และฝังลึกถึงยีนส์ แม้จะมีการจัดเรตติ้งเกม แต่เป็นเพียงการโชว์ตัวเลขที่ไม่สามารถบังคับใช้หรือเอาผิดผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้จริง ซ้ำร้ายเกมส่วนใหญ่เป็นเกมต่อสู้ฆ่าฟันทำลายล้าง ล่าแต้มเพื่อไต่อันดับให้สูงขึ้น รับรางวัลเหรียญไอเทมต่างๆ หยุดเล่นไม่ได้ จนทำให้เกิดการเสพติดเป็นพฤตินิสัยเริ่มจากจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เช่น เล่นจนไม่กินข้าว

Advertisement

จากนั้นจะเล่นหนักและมากขึ้นจนเข้าสู่การไม่ได้เล่นแล้วเกิดอาการคลุ้มคลั่งลงแดง จากข่าวที่เคยมีเด็กทำร้ายพ่อแม่ที่ห้ามเล่นเกม นี่ถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างยิ่ง เพราะพฤตินิสัยดังกล่าว ทำให้สมองส่วนคิดถูกทำลาย เป็นผลว่าเมื่อเวลาเกิดวิกฤตในชีวิต ก็จะแสดงออกโดยขาดการควบคุมยั้งคิด แก้ปัญหาไม่ได้ และที่สำคัญความเครียดจากการเล่นเกมที่ร่างกายจะหลั่งสาร คอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับความสุขอยู่ตลอด นานวันเข้าก็จะฝังลึกเป็นยีนส์โน้มนำถึงลูก ทำให้ลูกอ่อนไหวง่าย เลี้ยงยาก และระเบิดอารมณ์ง่าย

อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงสะท้อนจากเด็กว่าหากไม่ให้เล่นเกมแล้วจะให้ทำอะไร ก็เป็นส่วนที่รัฐจะต้องเสริมพลังบวกเปิดพื้นที่กิจกรรมในโรงเรียนละชุมชน ขณะที่กลไกครอบครัวต้องมีเวลาและเปิดใจรับฟังเสียงเด็ก หากมีคนรับฟังสนับสนุนพลังบวกและเหลาความคิด จะทำให้เด็กไม่ติดเกม

ด้าน ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ รองคณบดีคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า มีงานวิจัยค้นพบถึงพฤติกรรมเด็กที่เล่นเกมรุนแรงและเล่นการพนันต่อเนื่อง มีความเสี่ยงที่จะเป็นอาชญากรในอนาคต เนื่องจากเด็กได้ซึมซับความรุนแรงในโลกเสมือนจริง ที่กระตุ้นเร้าใจจนนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ

อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงดูอย่างมีเหตุผลและความมีวินัยในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ในการบ่มเพาะกระบวนการคิดให้กับเด็กในการปกป้องสิ่งที่เป็นลบต่างๆ

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์
ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image