แจกอีก! รบ.เตรียมอัดงบกว่าแสนล.เยียวยาผลกระทบโควิด พร้อมแจกเงินเดือนละพันให้ผู้มีรายได้น้อย

 

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมชุดมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่(โควิด-19) ชุดที่ 1 เสนอครม.เศรษฐกิจในวันที่ 6 มีนาคม เพื่อนำเสนอครม.ในวันที่ 10 มีนาคม โดยวงเงินที่เตรียมไว้ช่วยเหลือนั้นอยู่ในหลายแสนล้านบาท  มาตรการนำมาใช้เป็นชั่วคราวใช้ให้เกิดผลในช่วง 2-3 เดือน หรือในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม หากครม.เศรษฐกิจเห็นชอบจะเสนอครม.ชุดใหญ่เพื่อนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ทันที เพื่อดูแลผู้ได้รับผลกระทบจาดโควิด-19 ในทุกกลุ่ม ซึ่งคงไม่ใช่แค่ภาคท่องเที่ยวอย่างเดียว  แบ่งการช่วยเหลือเป็น กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มประชาชน แยกกลุ่ม เช่น รายได้น้อย เกษตรกร อาชีพอิสรถ กลุ่มเงินเดือนน้อย

นายอุตตมกล่าวต่อว่า  มาตรการเตรียมไว้ คือ เตรียมให้เงินด้วยการโอนผ่านพร้อมเพย์ให้กับกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร เงินเดือนน้อย อาชีพอิสระ ไม่ต่ำกว่าคนละ 1,000 บาท เป็นรายเดือน เพื่อสนับสนุนค่าครองชีพในช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เมื่อโอนเงินดังกล่าวไปยังบัญชีพร้อมเพย์ผู้ได้รับเงินสามารถกดเงินสดมาใช้จ่ายได้ทันที โดยกลุ่มคนที่จะได้รับเงินจะมีจำนวนมากกว่าผู้มีรายได้น้อยมีตัวเลข 14 ล้านคน ส่วนรายละเอียดหรือเกณฑ์ผู้ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ขอให้ผ่านครม.ก่อนจึงจะเปิดเผยรายละเอียดได้

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

Advertisement

 

นายอุตตมกล่าวต่อว่า นอกจากนี้สั่งให้ปรับแก้กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ให้ใกล้เคียงกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) เคยให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี 5 แสนบาทต่อปี เพื่อให้กองทุนดังกล่าวมาช่วยดูแลตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาก โดยการปรับแก้เงื่อนไขดังกล่าวเป็นการชั่วคราวหลังจากนั้นถ้าสถานการณ์หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ดีขึ้น จะกลับไปใช้เงื่อนไขของSSF เหมือนเดิม

นายอุตตมกล่าวต่อว่า นอกจากนี้มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟท์โลน)วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงนี้ รวมถึงจะมีมาตรการภาษี  ประกบด้วย ยื่นเวลาชำระภาษีนิติบุคคลเหมือนกับกรณีบุคคลธรรมดา รวมถึงมีมาตรการสนับสนุนให้บริษัท ห้างร้าน ให้รักษาแรงงานไว้ เช่น นำค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานมาหักลดหย่อนภาษีมากกว่า 1 เท่า และจะมีกลไกของเงินทุน ที่ดูแลกลุ่มที่ได้รับผลกระทบไวรัสโควิด-19  รวมถึงให้บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายน้อยลง เพื่อให้บริษัทมีสภาพคล่องมากขึ้น

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image