อึ้ง! ครอบครัวขาดความอบอุ่น สร้าง ‘เด็ก’ ที่ชอบ ‘บูลลี่’ คนอื่น

Teenagers larking about on waste ground, UK. (Photo by: Photofusion/Universal Images Group via Getty Images)

อึ้ง! ครอบครัวขาดความอบอุ่น สร้าง ‘เด็ก’ ที่ชอบ ‘บูลลี่’ คนอื่น

 

การกลั่นแกล้งกัน หรือบูลลี่ มีมานมนาน คนรุ่นก่อนมองเป็นน่าขบขำ กระทั่งโลกออนไลน์เข้ามา พัฒนาเป็น “ไซเบอร์บูลลี่” ทีนี้ขำไม่ออก เพราะมีความรุนแรงกว่า สามารถสร้างบาดแผลทั้งชีวิต หรือทำลายชีวิตคนคนหนึ่งได้เลย

เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวและสังคมไทยเข้มแข็ง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสังคม ก่อนถูกนำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายด้านครอบครัว ครั้งที่ 2 หนึ่งในนั้นมีงานวิจัยเกี่ยวกับไซเบอร์บูลลี่ จำนวน 2 ผลงาน โดย ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

งานวิจัยแรกได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพ เรื่องพฤติกรรมไซเบอร์บูลลี่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวขาดความอบอุ่น ความเข้าใจ และมีความรุนแรงในบ้านที่เด็กรับรู้ได้ ทำให้เด็กมองความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ เด็กเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์ ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย และอาชีวศึกษา อายุระหว่าง 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมไซเบอร์บูลลี่สูงที่สุด

Advertisement

“ปัจจุบันเยาวชนเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ได้ง่าย และใช้อินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง แต่กลับไม่มีหน่วยงานใดเข้าทำหน้าที่ดูแล ออกข้อบังคับเพื่อป้องกัน ฉะนั้นงานวิจัยจึงเสนอให้มีการแก้ไขปัญหาก่อนจะลุกลาม”

ไม่เพียงบทบาทภาครัฐที่ต้องเข้ามาดูแล งานวิจัยยังศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในการแก้ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ จากการศึกษาครอบครัวกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความคิดจะแก้ปัญหาด้วยการต่อว่า ตักเตือน ห้ามปราม ควบคุมการใช้สื่อ ลงโทษ และคอยสอดส่องพฤติกรรมในกรณีลูกเป็นฝ่ายกระทำ

แต่หากเป็นกรณีลูกถูกกระทำ ส่วนใหญ่จะสืบหาตัวผู้กระทำ เจรจาปัญหา ให้กำลังใจลูก และบอกให้หลีกเลี่ยงและระมัดระวังตัวมากขึ้น

Advertisement

“มีผู้ปกครองจำนวนน้อย ที่จะมีมาตรการเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การแจ้งความ ตรวจสอบประวัติการใช้สื่อ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การแก้ปัญหาส่วนใหญ่ ยังใช้ลักษณะวิถีเชิงอุดมคติทั่วไปอย่างที่ควรจะเป็น มากกว่าการเฉพาะเจาะจงต่อปัญหา ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อปัญหาอย่างเร่งด่วนตั้งแต่บัดนี้ เช่น การสร้างและกระจายองค์ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครอง ปัญหาก็อาจทวีความรุนแรงขึ้น”

ไซเบอร์บูลลี่เลี่ยงไม่ได้

ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์
ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน
 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image