‘สราวุธ’ไลฟ์แจ้งศาลทั่วประเทศเข้ม! ทำความสะอาดฆ่าเชื้อห้องพิจารณาคดี-ห้องควบคุมทุกวัน

“สราวุธ” ออกหนังสือเวียนด่วนเพิ่มอีก 3 ฉบับ ไลฟ์สดแจ้งศาลทั่วประเทศเข้มแนวปฏิบัติ สั่งการทำความสะอาดฆ่าเชื้อห้องพิจารณาคดี-ห้องควบคุมทุกวัน ใช้คอนเฟอเรนซ์ร่วมราชทัณฑ์ผัดฟ้องฝากขัง อ่านคำตัดสิน ลดการคุมตัวผตห จำเลยมาศาลใช้เทคโนโลยีเเทน ป้องกันระบาดโควิด-19 ขอประชาชนร่วมมือไม่จำเป็นอย่ามาศาล ส่วนผู้เกี่ยวข้องต้องทำตามกฎเคร่งครัด

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 26 มีนาคม ที่สำนักงานศาลยุติธรรม นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้แถลงผ่านระบบสตรีมมิ่งถึงศาลทั่วประเทศ ชี้แจงแนวปฏิบัติการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริหารจัดการคดี และสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย รวมทั้งเรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในห้องคุมขังศาล

โดยการชี้แจงดังกล่าว ได้มีการไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก “สื่อศาล” ด้วย ซึ่ง นายสราวุธ ระบุว่า การสตรีมมิ่งถึงศาลทั่วประเทศวันนี้ เพื่อต้องการประสานงานราชการหน่วยงาน ตามที่ได้มีการลงนามความตกลงระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรมกับกรมราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา

หลังจากที่ได้ประชุมหารือมาตรการร่วมกัน ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 สำนักงานศาลยุติธรรม ได้มีมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ทั้งนี้ได้มีการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเพื่อให้กรมราชทัณฑ์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ว่า การเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกระหว่างการดำเนินงานของศาลกับราชทัณฑ์ ในการใช้ระบบประชุมทางจอภาพ (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) เพื่อสืบพยานในคดีอาญา , การผัดฟ้อง-ฝากขัง , การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ทุกกระบวนการเป็นการลดการเคลื่อนย้ายตัวผู้ต้องหา/จำเลยที่ต้องเดินทางมาศาล ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกหนังสือเวียน 3 ฉบับ ในวันนี้ (26 มี.ค.) คือฉบับที่ ว.66 ,ว.67 และ ว.68 ลงวันที่ 26 มี.ค.63

Advertisement

โดยฉบับที่ ว.66 มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ทราบจากว่า เทคโนโลยีที่ศาลใช้กับกรมราชทัณฑ์ อาจจะมีความพร้อมของแต่ละหน่วยงานไม่เท่ากัน ดังนั้นอุปกรณ์เครื่องมือเทคโนโลยีใดๆ ก็ตามที่สามารถถ่ายทอดภาพ-เสียงได้ในระหว่างการพิจารณาของศาลกับสถานที่ที่ซึ่งมีการสืบพยาน , ผัดฟ้อง-ฝากขัง , อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล สามารถดำเนินการได้

เช่นเดียวกับหนังสือฉบับที่ ว.67 ได้กำหนดแนวทางขั้นตอนการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในลักษณะการประชุมผ่านจอภาพ
“ถ้ายังไม่ได้ติดตั้งระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ แต่ว่ามีโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายทอดภาพและเสียง ไม่กระทบต่อการสื่อสาร สามารถเข้าใจกันได้ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการได้ในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ออกขั้นตอนต่างๆเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ ซึ่งพยายามทำขั้นตอนให้น้อยลงที่สุดเพื่อความสะดวกกับทุกฝ่ายและไม่กระทบสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย”

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ย้ำด้วยว่า การดำเนินการทั้ง 2 เรื่องนี้ตามหนังสือฉบับที่ ว.66 – ว.67 นี้เป็นการคุ้มครองทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในศาลทั้งหมดทุกคน จะได้ปลอดภัยจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19

Advertisement

สำหรับหนังสือฉบับที่ ว.68 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่ประกาศในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.- 30 เม.ย.นี้ ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการลดการแพร่กระจายของไวรัสดังกล่าวในเรื่องว่าด้วยการเยี่ยมหรือส่งของเยี่ยมให้ผู้ต้องขังที่มาอยู่ที่ศาล เรื่องนี้ขอยืนยันในหนังสือเวียนเดิมที่ออกตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย.62 ว่าให้งดการเยี่ยมและงดการฝากสิ่งของจากญาติของผู้ต้องขังทุกศาล ซึ่งวัตถุประสงค์ของหนังสือเวียนเดิมเพื่อเป็นการป้องกันความไม่ปลอดภัยในศาล แต่วันนี้เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย

“หลักการที่สำคัญของหนังสือเวียน ว.68 การคัดกรองของบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ต้องเข้ามาในบริเวณศาล , สำนักงานศาลฯ จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมฟังพิจารณาให้มีความเหมาะสมไม่มีจำนวนมากเกินไป สิ่งที่สำคัญก็คือให้เว้นระยะห่างของบุคคลที่อยู่ในห้องพิจารณาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในคดีและผู้ที่มาเป็นเพื่อนคู่ความ หากไม่มีเหตุจำเป็นก็ขอความร่วมมืองดการเข้ามาภายในบริเวณศาล ขอให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นเท่านั้น เพื่อลดความแออัด”

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวอีกว่า สำนักงานศาลฯ ได้มีการเสนอแนะ กรมราชทัณฑ์ว่า ควรจะจัดที่นั่งของจำเลยที่เป็นผู้ต้องขังในห้องพิจารณาแยกเป็นสัดส่วน มีระยะห่างอย่างเหมาะสมด้วย ขณะที่การดำเนินงานของสำนักงานศาลฯ เอง ก็ได้จัดหาทั้งเจลล้างมือ , เครื่องวัดอุณหภูมิของผู้เข้ามาใช้บริการภายในศาล , การให้สวมหน้ากากอนามัย , การแจ้งให้พนักงานทำความสะอาดบริเวณห้องพิจารณา/ห้องโถง/ห้องที่พักของโจทก์-จำเลย -พยานที่ใช้ในระหว่างการพิจารณาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกวันเมื่อคดีแล้วเสร็จ รวมทั้งทำความสะอาดห้องควบคุมผู้ต้องขังให้ถูกสุขลักษณะอนามัย โดยขอให้ดำเนินการโดยเคร่งครัด

ส่วน รปภ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาประจำศาล ก็มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจบุคคลที่เข้าออกบริเวณศาลให้ปฏิบัติตามแนวทางที่แจ้งไว้ ถ้ามีการฝ่าฝืนก็ให้แจ้งรายงานไปที่ผู้อำนวยการ จะมีการพิจารณาดำเนินการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือเวียนที่ ว.66 เรื่องแนวปฏิบัติการนำระบบการประชุมทางจอภาพมาใช้ในการบริหารจัดการคดี มีรายละเอียดดังนี้

ตามที่ขณะนี้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบกับประธานศาลฎีกาได้ออกคำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2563 และโดยที่สำนักงานศาลยุติธรรมได้นำระบบการประชุมทางจอภาพมาใช้บริหารจัดการคดีเช่น
1. การสืบพยานในลักษณะการประชุมทางจอภาพ ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทางการนำสืบพยานหลักฐานและการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม2556

2. การสืบพยานคดีอาญาตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 ลงวันที่ 19 กันยายน 2556

3. การผัดฟ้อง ฝากขังในลักษณะการประชุมทางจอภาพ ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 ลงวันที่ 19 กันยายน 2556

4. การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในลักษณะการประชุมทางจอภาพ ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลสูงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2562 ลงวันที่ 5 กันยายน 2562 ประกอบประกาศสำนักงานศาลยุติธรรมเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลสูงในลักษณะการประชุมทางจอภาพลงวันที่ 16 กันยายน 2562
ในการนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของศาลเป็นไปในแนวทางเดียวกัน การสืบพยาน การผัดฟ้อง ฝากขัง การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ในลักษณะการประชุมทางจอภาพ ตามข้อกำหนดข้อบังคับและระเบียบดังกล่าวให้ดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานศาลยุติธรรม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้หรือหากการดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้เกิดคดีเกิดความล่าช้า ศาลอาจดำเนินการดังกล่าวผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงระหว่างศาลที่พิจารณาคดีและสถานที่ซึ่งจะทำการสืบพยาน ผัดฟ้อง ฝากขัง อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลก็ได้
รายละเอียดของ หนังสือเวียนที่ ว.67 แนวทางปฏิบัติในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในลักษณะการประชุมทางจอภาพเพื่อให้การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพและจะต้องมีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ และกำหนดแนวทางปฏิบัติงานด้านธุรการของศาลต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และเป็นแนวทางเดียวกัน อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ศาล คู่ความ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 ของข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ. 2556 สำนักงานศาลยุติธรรมจึงกำหนดแนวปฏิบัติในการดำเนินกระบวนพิจารณาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในคดีที่จำเลยต้องขังระหว่างพิจารณาดังต่อไปนี้

1. ในแนวปฏิบัตินี้ “ศาล” หมายความว่าศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี “เรือนจำ” หมายความว่าเรือนจำซึ่งจำเลยต้องขังอยู่และให้หมายความรวมถึงสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน “เจ้าหน้าที่” หมายความว่าเจ้าหน้าที่ของศาลที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่

2. ในคดีอาญาที่จำเลยให้การรับสารภาพและต้องมีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ เมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดร้องขอหรือศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นอันทำให้ไม่ควรเบิกตัวจำเลยมาศาลในวันนัด ศาลอาจจัดให้มีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจําเลยในลักษณะการประชุมทางจอภาพระหว่างศาลกับเรือนจำในคดีที่จำเลยต้องขังระหว่างพิจารณา โดยไม่ต้องเบิกตัวจำเลยมาศาลก็ได้ ทั้งนี้คำนึงถึงความจำเป็นและสิทธิกับสุขอนามัยของคู่ความทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของจำเลย

3. ในกรณีที่ศาลเห็นสมควรกำหนดนัดให้มีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในคดีที่จำเลยต้องขังระหว่างพิจารณาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ ให้เจ้าหน้าที่ของศาลตรวจสอบสำนวนคดีดังกล่าวว่า มีจำเลยที่คน จำเลยถูกควบคุมอยู่ที่เรือนจำใด เพื่อตรวจสอบเรือนจำที่จำเลยถูกคุมขังอยู่

4. ให้เจ้าหน้าที่ของศาลประสานไปยังเรือนจำที่จำเลยถูกคุมขังอยู่ เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพในลักษณะการประชุมทางจอภาพกับเรือนจำดังกล่าว

5. ให้เจ้าหน้าที่ของศาลประสานไปยังเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของเรือนจำที่จำเลยถูกคุมขังอยู่ ก่อนวันนัดเพื่อตรวจสอบวันนัดอีกครั้ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ให้ตรงกันในเรื่องลำดับเวลา และความพร้อมด้านระบบการสื่อสารในลักษณะการประชุมทางจอภาพ

6. เมื่อการสืบพยานในลักษณะการประชุมทางจอภาพเสร็จแล้ว ให้เรือนจำนำเอกสารที่เกี่ยวข้อง รายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลส่งมาทางระบบเพื่อให้จำเลย และผู้ทำหน้าที่สักขีพยานลงลายมือชื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วส่งไปยังศาลเพื่อให้บุคคลอื่นลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน

7. การสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในลักษณะการประชุมทางจอภาพให้ดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานศาลยุติธรรม ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือหากการดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้เกิดคดีเกิดความล่าช้า ศาลอาจดำเนินการดังกล่าวผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงระหว่างเรือนจำและศาลก็ได้
และ รายละเอียดของหนังสือเวียนที่ 68 เรื่องแนวปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
หนังสือสำนักงานศาลยุติธรรม ด่วนที่สุดที่ศย 029 / ว251 (ป) ลงวันที่ 13 พ.ย. 2562 ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานศาลยุติธรรมได้กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยในบริเวณศาล สำหรับการเยี่ยมและของเยี่ยมสำหรับผู้ต้องขังขณะอยู่ที่ศาล โดยให้งดเยี่ยมและรับฝากสิ่งของจากญาติผู้ต้องขังทุกศาล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในบริเวณศาลนั้น

ด้วยขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรค คือการที่ประชาชนจำนวนมากมารวมกันในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งในการนัดพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นในแต่ละวันมีจำนวนคดี จำนวนคู่ความ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมากจนมีความแออัด ประกอบกับมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image