ซีอีโอสตางค์เฉลย!! ทำไมสินทรัพย์ดิจิทัลยังขาขึ้น สวนกระแสโควิด-19ระบาดทั่วโลก

นายปรมินทร์ อินโสม ซีอีโอ บริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัดหนึ่งบริษัทให้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล  ผู้ก่อตั้งสตางค์ และเหรียญZcoin กล่าว ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี ถึงแม้จะมีผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ถ้ามองจากภาพรวมของการเทรดในตลาดโลกที่ Market Capไต่ระดับขึ้นไปมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ดูจากข้อมูลจาก Coinmarketcap ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นแนวโน้มการเติบโตขึ้นของตลาด

“การเพิ่มเหรียญใหม่เข้ามาก็เพื่อเป็นทางเลือกแก่นักลงทุน และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล โดยสตางค์มีเป้าหมายที่จะเพิ่มให้ครบ 100  เหรียญ ภายในไตรมาสแรกนี้”  

นายปรมินทร์ กล่าวว่า สรุปมุมมองต่ออนาคตของอุตสาหกรรมคริปโทเคอร์เรนซี่ และสินทรัพย์ดิจิทัลในปี 2563 จากการเข้าร่วมบรรยายในหัวข้อFuture of Crypto Trading ของงานThe Conference Exchanges ที่ อัมสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นวิทยากรหนึ่งเดียวที่ได้รับเชิญจากผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า ปัจจุบันจากข้อมูลของ Coinmarketcap  มีตลาดแลกเปลี่ยนหรือ Exchange อยู่ที่ 20,000 แห่ง ซึ่งถ้าเรานำมาเฉลี่ยปริมาณการซื้อขายต่อวันจะพบว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีคนใช้งาน Exchange เหล่านั้น มันเหมือนกับการสร้าง Local Bank ในแต่ละพื้นที่แต่ไม่นานเหล่า Local Bank นั้นก็จะถูก Take Over โดยธนาคารใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในวงการธนาคาร ปัจจุบันเราก็จะเห็นการที่ Exchange ใหญ่พยายามรุกไปยังตลาดในประเทศต่าง ๆ ซึ่งในแง่ของตัวผู้ใช้งานก็ยินดีที่จะใช้ Exchange เหล่านี้เพราะในด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือนั้นมีมานานกว่า Exchange ที่เพิ่งเปิดใหม่

นายปรมินทร์ กล่าวอีกว่า การเทรด Margin จะได้รับความนิยมขึ้น ในตลาดเก่านั้นการเปิดเทรด Margin หรือแม้แต่การที่เราเป็นนักลงทุนจะเข้าไปลงทุนในตลาด Margin นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในคริปโทเคอร์เรนซี่ มันกลับเป็นเรื่องง่ายที่จะเทรด บางคนอาจจะเข้าใจว่า Margin เป็นเครื่องมือสำหรับนักพนันเท่านั้น แต่ในอีกแง่หนึ่งแล้วมันคือการควบคุมความเสี่ยงในรูปแบบหนึ่งที่มีทั่วไปในการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ ถ้าเราเป็นนักลงทุน Bticoin การที่เราสามารถ Short Bitcoin เพื่อป้องกันความเสี่ยงนั้นเป็นประโยชน์ที่ดีมากสำหรับนักลงทุน

Advertisement

“หลังจากที่กระแส ICO ได้ตายลงไปจากฟองสบู่ที่เกิดขึ้น แต่กระบวนการระดมทุนนั้นยังเป็นสิ่งที่คนยังให้ความสนใจ แนวคิดของการนำ Asset-back-token จึงได้เกิดขึ้น เราจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนจากการพยายามสร้าง Stablecoin ของทุกประเทศ หรือแม้แต่ DAI ที่สร้างขึ้นมาโดยอ้างอิงกัน Ethereum ซึ่งจะไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้ในอนาคตอาจจะเป็นหุ้น เป็นตราสารหรืออาจจะเป็นรูปแบบการลงทุนอื่น ๆ ที่เราอาจไม่เคยนึกว่าจะเกิดขึ้น เพราะเทคโนโลยีบล็อกเชนและอื่น ๆ ที่ก้าวหน้า ทำให้ทุกเรื่องเป็นไปได้

 นายปรมินทร์  กล่าวเสริมว่า แนวคิดของ Stablecoin มีมานานแล้วแต่ Libra เป็นผู้จุดกระแสนี้ขึ้นมาทำให้โลกตื่นตัวเรื่อง Stablecoin เราจะเห็นได้ชัดจากการที่ธนาคารกลางของทุกประเทศกำลังศึกษารูปแบบของ CBDC หรือสกุลเงินกลางของประเทศในรูปแบบดิจิทัล การระบาดของโควิด-19 มีส่วนกระตุ้นให้การเกิดของสกุลเงินกลางของแต่ละประเทศเร็วขึ้น

ล่าสุด BIS หรือธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ ได้ออกรายงานแนะนำให้ธนาคารกลางทั่วโลกนำสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) รวมถึงการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ในช่วงที่ไวรัสโควิดกำลังระบาด หนึ่งในปัญหาของ Cryptocurrenyc คือมูลค่าที่ไม่คงที่ แนวคิด Stablecoin จึงเข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ จะเห็นว่าปัจจุบันมี Stablecoin มากมายที่พยายามสร้างมูลค่าโดยนำเอาสินทรัพย์มา Back ไม่ว่าจะเงินหรือทองคำ ทำให้อำนาจของการสร้างสกุลเงินที่มีความมั่นคงไม่ผูกขาดอยู่ที่รัฐและอีกไม่นานเราจะได้เห็นภาคเอกชนเป็นผู้ผลิตเงิน

Advertisement

“สตางค์ก็กำลังศึกษาแนวทางในการสร้าง Stablecoin และ Security Token เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปของเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency เพื่อให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตขึ้น” นายปรมินทร์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image