‘ธปท.’ ยันกองทุนระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ ช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น

นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า โครงการกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (บีเอสเอฟ) สถานการณ์การออกตราสารหนี้ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา ถือว่ายังมีระดับใกล้เคียงกับในเดือนก่อนๆ แต่ผู้ออกตราสารหนี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) อยู่ในกลุ่ม A- ขึ้นไป ขณะที่กลุ่ม credit rating BBB+ ลงมามีการออกตราสารหนี้ลดลง เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนมีความกังวลในฐานะการดำเนินงานของบางบริษัท ทำให้บางบริษัทไม่สามารถระดมทุนได้เต็มจำนวน แต่หลังจากที่มีการประกาศมาตรการกองทุนบีเอสเอฟ นักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ซื้อขายในตลาดรองมีความผันผวนลดลง โดยธปท.คาดว่าความต้องการในการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในภาวะภายใต้ความผันผวนจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อาจส่งผลให้บางบริษัทไม่สามารถระดมทุนจากตลาดนี้ได้เหมือนช่วงก่อนหน้านั้น แต่หากในอนาคตโควิด-19 มีสถานการณ์ดีขึ้น ธุรกิจต่างๆ กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ คาดว่าสถานการณ์การระดมทุนจะปรับดีขึ้นตามลำดับ

แม้ว่าขนาดของกองทุนที่ตั้งไว้จะมีขนาด 4 แสนล้านบาท แต่ในเบื้องต้นคาดว่าความต้องการใช้เงินกองทุนจะไม่ได้สูงมาก เนื่องจากหลายบริษัทยังสามารถระดมทุนได้เอง ซึ่งหากระดมทุนจากตลาดตราสารหนี้ได้ไม่ครบทั้งจำนวนหลายบริษัทก็ยังมีช่องทางในการกู้เงินจากสถาบันการเงินอยู่ ทำให้กองทุนบีเอสเอฟจึงน่าจะเป็นช่องทางสุดท้ายที่บริษัทจะเลือก เนื่องจากต้นทุนในการกู้ยืมจากกองทุนบีเอสเอฟจะสูงกว่าที่บริษัทจัดหาด้วยตัวเอง โดยตามประกาศของคณะกรรมการกำกับกองทุนแล้ว หากบริษัทไม่สามารถจัดหาเงินทุนจากแหล่งอื่นได้อย่างน้อย 50% จะไม่สามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนบีเอสเอฟได้ ซึ่งบริษัทที่ยอดคงค้างตราสารหนี้เดิมที่ครบกำหนดสูง มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มี credit rating ดี และในช่วงที่ผ่านมาบริษัทในกลุ่มนี้ยังมีความสามารถระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ได้ อีกทั้งบริษัทเหล่านั้นมักมีช่องทางในการจัดหาเงินทุนผ่านสถาบันการเงินอีกทางหนึ่งนางสาววชิรากล่าว

นางสาววชิรากล่าวว่า การออกหุ้นกู้เพื่อโยกย้ายเงินหรือการลงทุนไปที่อื่น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนดีกว่า (rollover) แต่เนิ่นๆ ถือเป็นสิ่งที่บริษัทควรปฏิบัติในการบริหารสภาพคล่อง แต่การดำเนินการดังกล่าวมีต้นทุนต่อบริษัทหากออกล่วงหน้านานเกินไป

กองทุนบีเอสเอฟให้ความยืดหยุ่นแก่บริษัทที่จะมาขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน โดยในวันที่มาขอรับความช่วยเหลือ บริษัทสามารถยื่นเพียงประมาณการหุ้นกู้ที่จะออกใหม่ที่ประเมินว่าจะออกขายได้จริง มาเพื่อประกอบการพิจารณาของกองทุนได้ แม้กองทุนบีเอสเอฟจะอนุมัติให้ความช่วยเหลือแล้ว แต่บริษัทไม่สามารถออกหุ้นกู้ได้ตามที่ประเมินไว้ กองทุนดังกล่าวได้ อาจพิจารณาทบทวนการให้ความช่วยเหลือต่อไป โดยในเดือนพฤษภาคมมิถุนายนนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดรวมกันประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยเป็นหุ้นกู้ที่มี credit rating สูงกว่า A- ขึ้นไป ประมาณ 68% ของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดทั้งหมด และเป็นกลุ่ม BBB+ ถึงBBB- ประมาณ 22% ซึ่ง ธปท. จะมีการติดตามสถานการณ์ตลาดตราสารหนี้ ที่จะโยกย้ายเงินลงทุนหรือเม็ดเงินของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดอย่างใกล้ชิด ขณะนี้ข้อมูลล่าสุด วันที่24 เมษายน 2563 มียอดคงค้างธุรกรรม Mutual Fund Liquidity Facility (MFLF) สุทธิ 56,047 ล้านบาท โดยมีธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกรรมกับ ธปท.ทั้งหมด 9 ราย และกองทุนที่ได้รับความช่วยเหลือกว่า 30 กองทุน ทั้ง ธปท. มีการประกาศยอดคงค้างธุรกรรม MFLF รายสัปดาห์โดยจะประกาศในวันทำการแรกของสัปดาห์ถัดไป

Advertisement

นางสาววชิรากล่าวว่า การพิจารณาให้ความช่วยเหลือของกองทุน BSF ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข คือ 1.จะต้องมีตราสารหนี้เดิมครบกำหนดและต้องการโยกย้ายเงินหรือการลงทุน 2.ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งอื่นให้ได้อย่างน้อย 50% ซึ่งประกอบด้วย 2.1จะต้องออกหุ้นกู้ใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างน้อย 20% และ 2.2จะต้องจัดหาเงินทุนจากสถาบันการเงินอย่างน้อย 20% และ 3.บริษัทจะต้องเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่ดีและมีความสามารถในการชำระหนี้โดยได้รับการจัดอันดับ credit rating ตั้งแต่ BBB- ขึ้นไป ซึ่งในกรณีที่ออกหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท เพื่อโยกย้ายการลงทุนหรือเงินที่ครบกำหนด 5,000 ล้านบาท จะถือว่าผ่านเงื่อนไขข้อ 2.1 เพียงข้อเดียว ซึ่งหากบริษัทสามารถผ่านเงื่อนไขข้ออื่นๆ ได้ครบถ้วน ก็จะเข้าข่ายที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนบีเอสเอฟได้ สำหรับจำนวนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในช่วงเดือน พฤษภาคมธันวาม 2563 รวมทุกประเภทธุรกิจประมาณ 670,000 ล้านบาท แยกประเภทธุรกิจหลักๆ ได้ดังนี้ ธนาคารและสถาบันการเงิน 220,000 ล้านบาท, อสังหาริมทรัพย์ 115,000 ล้านบาท, อาหาร 65,000 ล้านบาท และพลังงาน 59,000 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้แนวโน้มต้นทุนการออกหุ้นกู้มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นจากผลประกอบการของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับความต้องการลงทุนของนักลงทุนบางกลุ่มอาจปรับลดลง เช่น กองทุนประกันสังคม เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายในการชดเชยการว่างงาน หรือประชาชนทั่วไป ที่อาจมีรายได้ลดลง ส่งผลให้มีเงินออมลดลง

ตามที่กำหนดไว้ในพ...บีเอสเอฟ มาตรา 20 กำหนดว่า หากการไปช่วยซื้อหุ้นกู้เอกชนตาม ... นี้แล้ว มีกำไรเกิดขึ้น ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่หากขาดทุนเสียหายไป ให้กระทรวงการคลังชดเชยให้ ธปท. ไม่เกิน 40,000 ล้านบาท แล้วหากเกิดความเสียหายมากกว่าที่กำหนดไว้ ธปท. จะเป็นผู้รับความเสียหายดังกล่าวเอง ซึ่งคณะกรรมการมีการกำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงของกองทุนและมีกระบวนการรายงานความเสียหายให้คณะกรรมการทราบอยู่แล้ว โดยเบื้องต้นการชดเชยในวงเงินความเสียหาย 40,000 ล้านบาท คาดว่าจะครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใต้การให้ความช่วยเหลือตามวิธีคำนวณจากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมานางสาววชิรากล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image