‘เอเซีย พลัส’ มองหุ้นไทยยังไต่ระดับขึ้นได้จำกัด หลังปัจจัยกดดันยังมีอยู่ ให้กรอบดัชนี 1,188-1,323 จุด

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจ โดยปัจจุบันหลายประเทศได้ผ่านจุดวิกฤตสูงสุดไปแล้ว อาทิ สหรัฐ อังกฤษ และสหภาพยุโรป (อียู) ในช่วงต่อไปที่ต้องติดตามคือ การกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง และทำให้ระบบเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ตามปกติ ซึ่งดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกก็ได้เริ่มตอบรับปัจจัยดังกล่าวบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยได้ปรับเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดค่อนข้างดี จึงประเมินทิศทางการลงทุนในเดือนพฤษภาคมนี้ว่า ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสสูงที่จะปรับฐานอีกครั้ง โดยให้กรอบดัชนีไว้ที่ระดับ 1,188-1,323 จุด หลังมองว่าโอกาสในการปรับระดับลงของดัชนีมีมากกว่าการปรับขึ้น เพราะยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยการรายงานกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทยของไตรมาส 1/2563 ที่คาดการณ์ว่าจะหดตัวรถนแรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักในตลาดหุ้นไทย ขณะนี้ที่ไตรมาส 2/2563 ประเมินว่ากำไรน่าจะลดลงมากกว่าไตรมาส 1 จึงมีโอกาสปรับประมาณการผลการดำเนินงานในปีนี้ลงอีก จากเดิมคาดกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ 7.8 แสนล้านบาท

ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้น้ำหนักอยู่ที่การออกพระราชกำหนด (...) ทางการเงิน 3 ฉบับ ได้แก่ ...กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ,...ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) เพื่อดูแลภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอี วงเงิน 5 แสนล้านบาท และ ...ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (บีเอสเอฟ) ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ดูแลทุกภาคส่วน โดยในเดือนพฤษภาคมนี้ ให้น้ำหนักกับมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 5,000 บาทต่อราย ซึ่งต้องจับตาดูว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะเพียงพอหรือไม่ และแหล่งเงินทุนจะมาจากที่ใด ซึ่งหากทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจ ส่วนทิศทางเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) ในช่วงต้นปีถึงปัจจุบัน มีแรงขายต่อเนื่องกว่า 1.6 แสนล้านบาท ขณะที่เดือนพฤษภาคมนี้ ปกติตลาดหุ้นมักเผชิญกับแรงเทขายหลังจากการจ่ายเงินปันผลเริ่มหมดลง โดยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมีการประกาศจ่ายปันผลแล้ว 408 บริษัท จากทั้งหมด 488 บริษัทเท่ากับว่าเหลือเพียง 79 บริษัทที่จะมีการจ่ายเงินปันผลเท่านั้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาเก็งกำไรเงินปันผลมีโอกาสโยกเงินกลับประเทศได้นายเทิดศักดิ์กล่าว

นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลก ในช่วงครึ่งแรกปีนี้คาดว่าจะไม่สดใสมากนัก เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก (จีดีพี) ปี 2563 ติดลบประมาร 3% เมื่อเทียบกับปี 2562 แต่ยังมีบางประเทศที่เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ อาทิ เวียดนามอินโดนีเซีย จีน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ส่วนประเทศไทยคาดว่าจะติดลบสูงกว่า 6.7% ก่อนที่ในปี 2564 จะฟื้นตัวที่ 6.1% ในส่วนของประเทศไทย การกลับมาเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมสถานการณ์ในประเทศ หลังจากพบตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง โดยให้ภาคธุรกิจเริ่มทยอยกลับมาดำเนินการปกติ แต่คงไม่ช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวได้มากนัก เพราะการเว้นระยะห่างของผู้บริโภคที่ยังคงต้องมีอยู่ และการใช้พ...บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ยังคงมีอยู่ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจคงจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปส่วนกลยุทธ์ที่แนะนำในการลงทุนคือ จัดพอร์ตเตรียมรับความผันผวนของตลาด โดยเน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ และมีการปันผลสูง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image