คลังเล็งแจกเงินอีก 12.5 ล้านคนช่วยโควิด-19 ในกลุ่มบัตรคนจน -เปราะบาง

คลังเล็งแจกเงินช่วยโควิด -19 อีก 12.5 ล้านคน ในกลุ่มบัตรคนจน -เปราะบาง -ได้รับผลกระทบจากพรก.ฉุกเฉิน

นายลวรณ แสงสนิท โฆษกกระทรงการคลัง เปิดเผยว่า ในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงโควิด -19  รัฐบาลมีการตั้งศูนย์เยียวยาการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะการให้เงิน 5 พันบาท แต่จะมีมาตรการอื่น ช่วยเหลือประชาชนทั้ง 6 ล้านคน แบ่งกลุ่มประชาชนเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มแรงงาน ในระบบประมาณ 11 ล้านคน ได้รับการเยียวยาผ่านประกันสังคม  2.แรงงานอิสระ ผ่านโคงการเราไม่ทิ้งกันล่าสุดผ่านเกณฑ์แล้ว 15 ล้านคน 3.เกษตรกร 10 ล้านคน เริ่มจ่ายเงินเยียวยาไปแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 4.กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้าง หน่วยงานราชการท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจ กว่า 3 ล้านคน รัฐบาลดูแล ด้วยการไม่ลดวันทำงาน ไม่ลดเงินเดือน รวมแล้วทั้ง 4 กลุ่มมีประมาณ 40 ล้านคน ตรงกับวัยแรงงานของไทย

นายลวรณ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงมาตรรัฐ และเตรียมช่วยเหลือเพิ่มเติม คือในกลุ่ม 5. กลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กแรกเกิด คนสูงอายุ คนพิการ มีประมาณ 13  ล้านคน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กำลังเสนอมาตรการช่วยเหลือ คาดว่าจะออกมาในระยะเวลาอันใกล้นี้ 6.กลุ่มรายได้น้อยถือบัตสวัสดิการ 14.6 ล้านคน พบว่ายังไม่ได้รับการช่วยเหลือในกลุ่ม 1-4 ประมาณ 2.4 ล้านคน 7.กลุ่ม 1.7 ล้านคน ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันไม่สำเร็จ ขณะนี้เจอตัวตนแล้ว และเตรียมช่วยเหลือเช่นเดียวกับกลุ่มอาชีพอิสระ  กลุ่ม 8 กลุ่มได้รับผลกระทบจากสังคมกรณีพรก.ฉุกเฉิน 1 ล้านคน ซึ่ง พม.จะเข้าไปช่วย

นายลวรณ กล่าวต่อว่า เมื่อนำรายชื่อในกลุ่ม 5,6,7,8 ไปขจัดความเหลือ หาตัวตนไม่ซ้ำซ้อน พบว่าเหลือยังไม่ได้รับความช่วยเหลือไม่เกิน 12.5 ล้านคน เมื่อรวมเยาวชน มีประมาณ 13.5 ล้านคน  และกลุ่มวันแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือไปแล้ว 40 ล้านคน รวมแล้วคนไทย 66 ล้านคน จะได้รับการดูแลจากภาครัฐครบทุกกลุ่ม โดยการช่วยเหลือในกลุ่ม 1-4 นั้นมีมาตรการออกมาดูแลแล้ว กลุ่ม 5 และ 8 พม.รับไปดูแล ส่วนในกลุ่ม 6 และ 7 คลังรับไปดูแล โดยกลุ่ม 1-7 มีฐานข้อมูลชัดเจน ทำให้การทำงานภาครัฐสะดวกมากขึ้น สามารถออกมาตรการเป็นตัวเงินดูแลคนทุกกลุ่ม

Advertisement

นายลวรณ กล่าวต่อว่า นอกเหนือเรื่องเงินเยียวยาแล้ว รัฐบาลยังได้ออกมาตรการดูแลผู้ประกอบการผ่าน 3 มิติสำคัญคือ การลดค่าใช้จ่าย การป้องกันโรค และการดูแลสภาพคล่อง เช่น ธุรกิจใดที่มีการรักษาระดับการจ้างงานในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานไปหักลดหย่อนได้ 3 เท่า, ยืดเวลาการเสียภาษี, เว้นภาษีการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งเพื่อรักษาและปัองกัน ไปจนถึงมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบได้ รัฐบาลจะมีมาตรการออกมาอีกชุดหนึ่งเพื่อดูแลให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image