สธ.ปรับมาตรการสาธารณสุข เน้นย้ำจำนวนยอดคนตายจาก “ทุกสาเหตุ” สืบหาว่าเกิดจาก โควิด-19 หรือไม่

สธ.ปรับมาตรการสาธารณสุข เน้นย้ำจำนวนยอดคนตายจาก “ทุกสาเหตุ” สืบหาว่าเกิดจาก โควิด-19 หรือไม่

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ในวันนี้ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นและไม่มีผู้เสียชีวิต แนวโน้มสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมมาจนถึงช่วงต้นเดือนเมษายน สถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประเทศไทยลดลงต่ำกว่า 10 ราย อย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการป่วยตายค่อนข้างต่ำมาก ส่วนสถานการณ์ในประเทศรายจังหวัด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ กลุ่มจังหวัดที่ 1 เป็นจังหวัดที่เดิมเคยมีจำนวนผู้ป่วยข้างมาก เช่น กรุงเทพมหานคร(กทม.) และปริมณฑล นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี กลุ่มจังหวัดที่ 2 คือ กลุ่มจังหวัดท่องเที่ยวขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรีและกลุ่มจังหวัดที่ 3 กลุ่มจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่าง 4 จังหวัด เช่น ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา

“จังหวัดที่เคยเจอผู้ป่วยมาก เรายังคงจะต้องติดตามดูสถานการณ์เข้มข้นต่อไป ส่วนจังหวัดที่ไม่เคยมีผู้ป่วยเลยหรือหรือมีผู้ป่วยน้อยและสามารถตัดวงจรการแพร่เชื้อได้ ถือว่าเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างปลอดภัย การเปิดกิจการหรือสถานที่แล้วก็กิจกรรมต่างๆเพิ่มเติมซึ่งก็จะทำให้เราสามารถกลับมาใช้ชีวิตในส่วนของวิถีชีวิตแบบเดิมให้เศรษฐกิจเดินไปได้ระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เราอยากจะเปิดเมืองโดยที่ความเสี่ยงของการกลับมาแพร่ระบาด ไม่เพิ่มขึ้น จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญ” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีมาตรการอยู่ 3 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการที่ 1 มาตรการทางสาธารณสุข แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ป้องกัน เน้นกลุ่มประชากรเปราะบาง/มีความเสี่ยงสูง/มีโอกาสที่แพร่ระบาดสูง/ถ้าป่วยจะมีอาการค่อนข้างรุนแรง เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงานต่างด้าว ที่มักจะอยู่กันแออัด กลุ่มที่ 2 ค้นหาผู้ป่วย ในขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยน้อย ยิ่งจำเป็นต้องค้นหาให้ได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ กลุ่มที่ 3 รักษา เมื่อพบผู้ป่วยก็จะรักษาเต็มที่เพื่อลดความสูญเสีย

Advertisement

และ กลุ่มที่ 4 ควบคุมป้องกันปัญหา ทั้งหมดนี้จะต้องเน้นที่กลุ่มที่ 2 ค้นหาผู้ป่วย คือ สธ.จะเร่งดำเนินการอย่างมีเป้าหมายชัดเจน รวมทั้งการคาดประมาณจำนวนการค้นหาผู้ป่วยในแต่ละจังหวัดเพื่อเร่งค้นหา โดยการค้นหาผู้ป่วย มี 2 แบบ แบบที่ 1 การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก(active case finding) การเอาข้อมูลทางระบาดวิทยา ตรวจดูพื้นที่ที่เคยพบผู้ป่วยจำนวนมาก เพื่อลงไปดำเนินการตรวจเพิ่มเติมในพื้นที่นั้น แบบที่ 2 การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม วิธีการเฝ้าระวังที่ สธ.กำลังจะทำมาตรฐานขึ้นมาให้มีความชัดเจน 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องการตรวจค้นในผู้ป่วยเฉพาะบางกลุ่มที่เป็นประชากรกลุ่มที่ค่อนข้างจะเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยปอดอักเสบ บุคลากรทางการแพทย์ แม้จะมีอาการน้อยก็จะได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ กลุ่มผู้สูงอายุ และหากโงเรียนกลับมาเปิดเทอม ก็จะมีการตรวจในกลุ่มครู 2.เรื่องการตรวจในผู้ป่วยที่เกิดมีอาการการระบาดของโรคทางเดินหายใจ โรคหวัดที่เป็นกลุ่มก้อน

“การรายงานเหตุการณ์ที่มีการระบาดของโรคหวัดเป็นกลุ่มก้อน แล้วถัดไป การเฝ้าระวังอื่นๆ คือ สำรวจว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเข้ามารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นหรือไม่ ระบบเฝ้าระวังจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่เสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือไม่ รวมทั้งที่มีความสำคัญมากขึ้น คือ ดูจำนวนผู้เสียชีวิตในภาพรวม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร เราจะต้องเฝ้าระวังสาเหตุอื่น เนื่องจากตอนนี้เราเริ่มเจอรายงานทางวิทยาศาสตร์ออกมาเพิ่มเติม และโรคนี้เป็นโรคใหม่ที่เราค่อยๆ เรียนรู้กันไปว่า ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีลักษณะอาการแตกต่างกันไป เช่น อาการทางสมอง อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ อาการโรคอุดตันหลอดเลือด การดูจำนวนผู้เสียชีวิตในภาพรวมจะช่วยให้เราสามารถที่จะรู้ว่า จำนวนผู้ป่วยตอนนี้มันเพิ่มขึ้นหรือไม่ น่าจะเกิดจากเหตุการณ์อะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนมาตรการทางสาธารณสุขที่เราจำเป็นจะต้องดำเนินการเข้มข้นต่อไป” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

 

Advertisement

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า มาตรการที่ 2 มาตรการระดับบุคคล ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็นครอบครัวที่มีกลุ่มเสี่ยง ควรเข้าใจว่าหาสมาชิกในครอบครัวอาจเป็นผู้นำเชื้อ
จากนอกบ้านมาสู่กลุ่มเสี่ยงได้ ออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการพบปะหรือชุมนุมเป็นกลุ่มก้อน สวมใส่หน้ากากทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ล้างมือบ่อยๆ

“แม้ว่าจะเริ่มเปิดกิจการต่างๆ แต่ก็ไม่ใช่เวลาที่เราจะออกไปข้างนอกได้อย่างอิสระ ที่สำคัญคือกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการรุนแรง พยายามหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เช่น กลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ก็ยังไม่ควรออกจากบ้านไปไปข้างนอก เพราะการออกจากบ้านก็คือความเสี่ยง บ้านไหนที่มีกลุ่มเสี่ยงอยู่ เช่น บ้านเรามีผู้สูงอายุอยู่ มีความจำเป็นที่เราจะต้องดูแลผู้สูงอายุให้ดี แล้วก็ต้องเข้าใจว่าการที่เราออกจากบ้าน เรามีโอกาสที่จะนำเชื้อกลับมาให้ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในบ้านของเรา ดังนั้นคนที่ออกจากบ้านก็จะต้องระมัดระวังตัวเต็มที่ได้เหมือนกัน” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

นพ.ธนรักษ์ กล่าวต่อว่า มาตรการที่ 3 มาตรการระดับองค์กร ได้แก่ การทำงานที่บ้านให้มากที่สุด เหลื่อมเวลาการทำงาน ธุรกรรมออนไลน์ ลดความแออัดของสถานที่ทำงาน/ สำนักงาน/ โรงงาน การออกแบบทางวิศวกรรม/ระบบระบายอากาศของสถานที่ทำงาน แผงกั้น ปรับระบบงาน/การคัดกรองพนักงาน นำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ประชุมทางไกล รวมถึงทุกคนป้องกันตัวเต็มที่เหมือนเดิม คือ สวมใส่หน้ากากผ้า เจลแอลกอฮอล์

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image