สกัด ไข้หวัดใหญ่ เขย่าซ้ำ โควิด-19 สปสช.ทุ่ม450ล.ฉีดวัคซีนฟรี 4 ล้านโดส

สกัดไข้หวัดใหญ่žเขย่าซ้ำโควิด-19ž สปสช.žทุ่ม450ล.žฉีดวัคซีนฟรี 4 ล้านโดสž

ไม่น่าเชื่อว่า เราทุกคนอยู่ร่วมกับ ไข้หวัดใหญ่Ž (Influenza) มานานกว่า 1 ศตวรรษแล้ว ซึ่งหากนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ของโลก เมื่อปี ค.ศ.1918 จนถึงปัจจุบัน พูดได้ว่าครบรอบ 100 ปี พอดิบพอดี

สำหรับประเทศไทย แม้จะพบไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่พีคที่สุด คือ ฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) นั่นหมายความว่า อีกไม่ถึง 1 เดือนข้างหน้านี้ ระบบสาธารณสุขไทยอาจต้องถูกเขย่าจากไข้หวัดใหญ่อีกระลอก

ไข้หวัดใหญ่ กับ โควิด-19Ž ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกัน แต่อาการที่แสดงออกมากลับมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น หากไม่มีการทำความเข้าใจและตั้งรับ ก็เป็นไปได้ว่าไข้หวัดใหญ่จะเข้ามาผสมโรงกับโควิด-19 จนเกิดเป็นความปั่นป่วน

เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้จัดกิจกรรม สปสช.เสวนาในหัวข้อ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทางรอดใหม่จากโควิด-19Ž ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563

Advertisement

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ

 

Advertisement

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ไข้หวัดใหญ่มี 3 ประเภท คือไข้หวัดใหญ่ A, B และ C ซึ่ง C นั้นพบเพียง 0.2% จึงไม่ค่อยเป็นที่พูดถึง แตกต่างกับ A ที่ได้รับความสนใจมาก เพราะมีความรุนแรงและสามารถแพร่ระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลกได้ ส่วน B แม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่าและพบได้เฉพาะในมนุษย์ แต่ก็ได้รับความสนใจเช่นกัน

ศ.นพ.ยง อธิบายว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงทำให้พบไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดปี แต่ที่มากสุดคือช่วงฤดูฝนของทุกปี และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ฝั่งซีกโลกเหนือ แต่รูปแบบการระบาดกลับคล้ายกับซีกโลกใต้ ไทยจึงเลือกใช้วัคซีนสายพันธุ์ของซีกโลกใต้

สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีประสิทธิผลลดลงตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของไวรัสในแต่ละปี โดยปีนี้พบว่าแม้ไข้หวัดใหญ่ B จะยังเป็นสายพันธุ์เดิม คือ Victoria แต่ไข้หวัดใหญ่ A มีการเปลี่ยนสายพันธุ์ถึง 2 ชนิด คือจาก H1N1 เป็น Brisbane และจาก H3N2 เป็น South Australia ดังนั้น การนำวัคซีนของปีที่แล้วมาใช้กับปีนี้จึงจะให้ประสิทธิผลที่ต่ำกว่า

ส่วนการเลือกใช้วัคซีนชนิด 3 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ ให้มีประสิทธิภาพ จะต้องดูว่าตรงกับสายพันธุ์ที่มีการระบาดในปีนั้นหรือไม่ ซึ่งข้อมูลจนถึงปัจจุบันพบว่า การระบาดนั้นตรงกับวัคซีนชนิด 3 สายพันธุ์ที่ใช้ฉีดอยู่ วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์จึงไม่มีความจำเป็น เพราะจะไม่แตกต่างกันŽ ศ.นพ.ยงอธิบาย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เกิดโควิด-19 ระบาดอยู่ ซึ่งการปฏิบัติตัวของประชาชนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 เป็นแนวทางเดียวกันกับป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ที่เริ่มรณรงค์ป้องกันโรคโควิด-19 จึงมีจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จนกระทั่งล่าสุดไม่มีการพบเคสไข้หวัดใหญ่เลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก

ศ.นพ.ยงสรุปว่า แม้ในปีนี้อุบัติการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่น่าจะลดน้อยลงกว่าปีที่แล้ว จากการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ดี แต่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังจำเป็นที่จะต้องมีการฉีดในทุกปี เนื่องจากสายพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องได้รับการฉีด เพราะหากเป็นขึ้นมาแล้วสามารถมีอาการรุนแรงได้ ส่วนระยะเวลาการฉีดที่ดีที่สุดคือก่อนช่วงพีคในฤดูฝน หรือช่วงนี้นั่นเอง

ส่วนความเชื่อที่ว่าวัคซีนนั้นจะช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ ต้องเข้าใจว่า Influenza Virus กับ Corona Virus อยู่คนละกลุ่มกัน ฉะนั้น วัคซีนจะไม่สามารถทดแทนกันได้ และเป็นไปไม่ได้เลยที่ภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่จะไปป้องกันโรคโควิด-19 เช่นเดียวกับเป็นไปไม่ได้ที่การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะเพิ่มความเสี่ยงโรคโควิด-19 เพราะ 2 โรคนี้ไม่เกี่ยวกันŽ ศ.นพ.ยงให้ความชัดเจน

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในสถานการณ์โควิด-19 จะมีความสำคัญใน 2 ด้าน ด้านแรกคือ ทำให้สามารถแยกแยะการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากอาการเริ่มต้นของทั้ง 2 โรคนั้น ไม่แตกต่างกัน ฉะนั้นหากมีจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้ ก็จะเพิ่มความสับสนอลหม่านให้กับคลินิกโรคทางเดินหายใจตามโรงพยาบาลต่างๆ

ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อกลุ่มเสี่ยงของทั้ง 2 โรค ก็มีความคล้ายคลึงกัน ฉะนั้นการพยายามลดจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ลง ก็จะทำให้การจัดการโรคโควิด-19 นั้นง่ายขึ้นไปด้วย ไม่ไปทำให้การจัดการปัญหาใดย่ำแย่ลง และแย่งชิงทรัพยากรของโรงพยาบาลที่มีอยู่อย่างจำกัด

ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่รัฐบาลให้ความสนใจ และมีนโยบายดำเนินการป้องกันอย่างเต็มที่ ด้วยการจัดหาวัคซีนฉีดให้กับประชาชน โดยปีนี้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้จัดซื้อวัคซีนตามหลักวิชาการและความเหมาะสม จำนวน 4 ล้านโดส คิดเป็นเงินราว 450 ล้านบาท

 

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา

สำหรับวัคซีนเหล่านั้น จะถูกนำไปฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มทั่วประเทศ ประกอบด้วย 1.หญิงมีครรภ์ 2.เด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี 3.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 4.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด หลอดเลือดสมอง เบาหวาน มะเร็ง 5.ผู้ป่วยพิการทางสมอง 6.ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอชไอวี 7.ผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีน้ำหนักเกินขนาด

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวอีกว่า ประชาชนทุกสิทธิการรักษาสามารถเข้ารับบริการได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงระบบบริการเครือข่าย ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลจังหวัด ที่มีการลงทะเบียนไว้อยู่แล้ว ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประชากรที่มีการเคลื่อนย้ายสามารถประสานได้ทางสายด่วน สปสช.1330 หรือแอพพลิเคชั่น สปสช. เพื่อสอบถามและลงทะเบียนรับการฉีดได้

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image