หมอเผย วิกฤตโควิด-19 แต่ “เด็กไทยปรับตัวเก่ง” น่าห่วงในกลุ่มยากจน

หมอเผย วิกฤตโควิด-19 แต่ “เด็กไทยปรับตัวเก่ง” น่าห่วงในกลุ่มยากจน

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล แนะนำ“วัคซีนใจในครอบครัว” เพื่อลดปัญหาจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เพื่อปกป้องเยาวชนให้ห่างไกลความเครียดจากการกักตัวและความวิตกกังวลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน และกลัวคนรอบข้างและตนเองจะติดเชื้อ

พญ.มธุรดา กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนในประเทศไทยและทั่วโลก ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด เด็กๆต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน ทาง สธ.มีการกระตุ้นพัฒนาเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ ผ่านแอพพลิเคชั่น LINE และระบบออนไลน์ในการติดตาม พบว่า ผู้ปกครองกักกันตัวอยู่ที่บ้าน ทำให้มีความสัมพันธ์ในครอบครัวทากขึ้น เด็กที่มีพัฒนาล่าช้ามีแนวโน้มดีขึ้น จากการสำรวจที่ทำโดยองค์การยูนิเซฟ ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ในโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์วั เมื่อวันที่ 27 มีนาคม – 6 เมษายน จากเด็กและเยาวชนอายุ 6 – 25 ปีขึ้นไป จำนวน 6,771 คนทั่วประเทศ พบว่า เด็กเล็กจนถึงวัยรุ่น มีความกังวลเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว รับรู้ว่าผู้ปกครองมีความเครียด ร่วมกับการอยู่บ้านด้วยกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้โอกาสที่ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ในบ้านจะใช้อารมณ์ในการลงโทษเด็กอย่างรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นได้ นอกจากนี้เด็กๆจะเข้าสู่สังคมออนไลน์มากขึ้น มีความเสี่ยงในการถูกชักจูง ล่อลวงจากผู้ไม่หวังดีที่แฝงมาในสังคมออนไลน์ได้เพิ่มมากขึ้น

“เด็กมีความกังวลเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว แต่ในเรื่องความเครียดด้านการเรียน มีเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวนั้นเด็กไทยไม่มีความเครียด ความกังวลใด แสดงให้เห็นว่า เด็กไทยมีการปรับตัวได้ค่อนข้างดี แต่น่าเป็นห่วงนักเรียนในกลุ่มยากจน ครอบครัวเปราะบาง มีปัญหาความรุนแรง ยาเสพติด นักเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ นักเรียนผู้พิการ ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ที่ต้องการการดูแลจากครูอย่างใกล้ชิด” พญ.มธุรดา กล่าว

พญ.มธุรดา กล่าวต่อว่า วัคซีนใจในครอบครัวต้านภัยโควิด-19 เปรียบเสมือนร่างกายที่มีภูมิคุ้มกัน ถึงแม้จะเจอวิกฤติ ซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อโรค อาการจะไม่รุนแรง และกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างเดิม ผลกระทบกับลูกหรือเด็กๆก็จะมีน้อยหรือไม่มีเลย ได้แก่ 1.พลังบวก ครอบครัวที่มองบวกมองเห็นทางออกในทุก
ปัญหาเม้ในภาวะวิกฤต เมื่อเห็นทางออกแล้วครอบครัว โดยต้องอาศัยพลังยืดหยุ่น 2.พลังยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนบทบาท หน้าที่ทดแทนกัน ช่วยกันแบ่งเบาภาระ ที่เกิดขึ้นและนำไปสู่การปรับตัวภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ และ 3. พลังร่วมมือทำให้ครอบครัวปรองดองเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกันในการฝ่าฟันอุปสรรค

Advertisement

“โดยในช่วงวิกฤตของโรคระบาดนี้ กรมสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตรายการ “บ้าน-พลัง-ใจ” ทางช่อง Thai PBS ทุกวันเสาร์ เวลา 21:10 – 22.00 น. ซึ่งจะเป็นรายการที่ช่วยสร้างพลังบวกจากครอบครัวตัวอย่างและเสริมความรู้ด้านสุขภาพจิตจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพจิตกับแนวชีวิตวิถีใหม่ได้ที่ facebook บ้าน-พลัง-ใจ ถ้าท่านใดมีคำถามหรือต้องการปรึกษาสามารถส่งคำถามพูดคุยผ่านข้อความเพจ ซึ่งตอบคำถามโดยทีมสุขภาพจิตที่จะอยู่เป็นพื้นที่ความสุขกับครอบครัวตลอดทั้งวัน” พญ.มธุรดา กล่าว

 

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image