ยังไง! แชร์ว่อน ‘อนุทิน’ กินข้าวกับคณะริมทะเล ใกล้ชิด ชาวเน็ตย้อนถาม ห้ามการ์ดตก?

ยังไง! แชร์ว่อน ‘อนุทิน’ กินข้าวกับคณะริมทะเล ใกล้ชิด ชาวเน็ตย้อนถาม ห้ามการ์ดตก?

กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อเพจ หมอแมวน้ำเล่าเรื่อง ได้โพสต์ภาพนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข กำลังนั่งรับประทานอาหารริมทะเลกับคณะอย่างใกล้ชิด โดยไร้เครื่องป้องกันการติดไวรัสโควิด-19 แต่อย่างใด โดยเพจระบุว่า

#อยากให้ใครทำอะไรตัวเองต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน

.
ตลอดระยะเวลาเกือบครึ่งปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องเจอกับวิกฤตการณ์ COVID-19 มียอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยเองเพิ่งจะควบคุมการระบาดของโรคได้ (ขอให้ข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น) จนติดอันดับประเทศที่มีการจัดการโรคได้ดีติด 1 ใน 5 ของโลก
.
หมอขอยกความดีความชอบให้กับประชาชน/ภาคเอกชน บุคลากรทางการแพทย์และคนที่ทำงานปิดทองหลังพระท่านอื่นๆที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีแบบหนีตายกันเอาเอง
.
ส่วนฝั่งรัฐบาลแม้จะไม่ได้ช่วยสนับสนุนอย่างจริงจัง และไม่จัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงเวลาก็ขอเครดิตอย่างเต็มที่ (ขอบคุณค่ะ)

……………………….

ทุกอย่างดูดีสุขสงบ จนรัฐเริ่มผ่อนปรนมาตรการ Lockdown มีการเตือนและขู่ถึงผลเสียที่จะตามมาหากไม่ร่วมมือปฏิบัติตาม ทุกๆวัน วันละหลายรอบ
.
“อย่าการ์ดตก” แปลว่า แม้จะเปิดสถานที่และให้ทำกิจกรรมต่างๆได้ใกล้เคียงปกติ แต่ทุกคนยังต้องปฏิบัติตัวป้องกันการติดและแพร่กระจายของโรค เช่น การแยกอยู่ห่างทางสังคม (social/physical distancing), การใส่หน้ากาก, การล้างมือบ่อยๆ
.
ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือดี แม้จะต้องปรับตัวและอยู่ยากขึ้นอย่างมาก แต่ก็ต้องทนเพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
.
สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ทำไมผู้ที่มีอำนาจของรัฐกลับไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเองออกมาพูดบอกประชาชนว่า “ต้องทำ” ??
.
หรือเชื้อโรคมีข้อยกเว้นว่า “ถ้าคนที่มีตำแหน่ง xxxx ฉันจะละเว้นให้…ไม่ติดเธอนะจ๊ะ” แต่ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะยังไม่มีงานวิจัยหรือแหล่งข่าวไหนออกมาบอกว่า “การมีตำแหน่งxxx ขึ้นไปเป็นปัจจัยในการป้องกันการติดเชื้อ”

ADVERTISMENT

(รูปโพสต้นทางโดนลบไปแล้ว คิดว่าโดนทัวร์ลงมา ไม่ก็ทางผู้มีอำนาจขอให้ลบ)

———————————–

== การเป็นตัวอย่างที่ดี (role model) ==

_ คำจำกัดความ คือ คนที่เป็นแบบอย่างทางพฤติกรรม, แนวความคิด/ค่านิยม/ความเชื่อให้กับคนอื่นๆนำไปทำตาม คิดตาม
.
_ คุณ Bandura เป็นคนที่คิดค้นทฤษฎีเรื่องการเรียนรู้ทางสังคม (Bandura’s social learning theory)
.
_ เนื้อหาหลักของทฤษฎีนี้ คือ มนุษย์เรียนรู้สิ่งต่างๆจากการที่เห็นคนรอบข้างทำ โดยสมองจะมีการเชื่อมโยงเหตุและผลที่เกิดขึ้น เช่น “นักเรียนที่เรียนดีจะได้รับคำชมและสิทธิพิเศษจากครู” เด็กจะเกิดการเรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่ดีที่นำไปสู่ผลลัพธ์ทางบวก คือ “การเรียนดี” หากเด็กอยากได้รับสิ่งเหล่านี้ เด็กจะตั้งใจเรียน ส่งงานให้ครบ อ่านหนังสือก่อนสอบ เพื่อให้ผลการเรียนออกมาดี
.
_ กระบวนการเรียนรู้ผ่านต้นแบบนี้มี 4 ขั้นตอน

ต้องมีสมาธิจดจ่อ (attention): การที่เราจะเลียนแบบใครได้ เราต้องมีสมาธิที่ตั้งใจจะจดจำรายละเอียด

การจดจำบันทึกไว้ (retention): เราต้องจดจ่ออย่างต่อเนื่องและใส่ใจ แล้วบันทึกข้อมูลลงในสมอง

การลอกเลียนแบบ (reproduction): เป็นการแสดงพฤติกรรมลอกเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นมา แต่ละคนมีความสามารถนี้ไม่เท่ากัน แม้เราจะมีสมาธิจดจ่อและจดจำได้ แต่ถ้าร่างกายเราไม่สามารถทำได้ การลอกเลียนแบบจะไม่สำเร็จ

แรงจูงใจในการมีพฤติกรรม (motivation): ขึ้นอยู่กับว่าเราทำอะไรไปแล้ว ได้รับการตอบสนองจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างอย่างไร หากเราได้รับการตอบรับที่เราคิดว่าดี เรามีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมนี้ซ้ำอีกในอนาคต

———————————–

เรื่องการทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะพฤติกรรมที่แสดงออกของเรา เกิดจากการเรียนรู้ตั้งแต่เล็ก
.
วิธีการสอนที่ดีที่สุด คือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก หรือแม้แต่ระหว่างผู้ใหญ่ด้วยกันเองก็ตาม
.
หากอยากให้คนอื่นทำอะไร ตัวเราเองต้องทำสิ่งนั้นให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นคนที่เราบอกสอนจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า
.
“ขนาดตัวคนบอกสอนยังไม่ทำ แปลว่าสิ่งนั้นไม่สำคัญ”