ธ.ก.ส.ขอ 5.5 หมื่นล.ตั้งกองทุนฟื้นฟูเกษตร สร้างอาชีพชุมชนฐานราก

ธ.ก.ส.ของบพรก.กู้เงิน ตั้งกองทุน 5.5 หมื่นล.ฟื้นฟูเกษตร สร้างอาชีพประชาชนฐานราก ดูแลผลกระทบจากโควิด -19 ดัน 3 โครงการ อัดสินเชื่อ-อบรมเกษตรสร้างอาชีพ 1 ล้านราย พร้อมแจกเงิน 2 ล้านบาทให้วิสาหกิจชุมชม 1.6 หมื่นแห่ง เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิต -ลงทุน รวมถึงสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ลุยสร้างอาชีพ เน้นเกษตร ท่องเที่ยวในชุมชนกว่า 7 พันแห่ง

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากวงเงินรวม 5.5 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูประชาชนจากกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ) โดยธ.ก.ส.ยื่นเสนอขอใช้เงินจากพ.ร.ก.กู้ 1 ล้านล้านบาท ในส่วนของการฟื้นฟูตั้งวงเงินไว้ 4 แสนล้านบาท ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการใช้เงินฯ ที่มีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เป็นประธานเรียบร้อยแล้ว

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับกองทุนดังกล่าวดำเนินการภายในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสร้างไทย โดยมี 3 โครงการย่อย กำหนดระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 – 31 มีนาคม 2565 ประกอบด้วย 1. โครงการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน (ตั้งหลัก) เป็นการขับเคลื่อนในระยะสั้น เร่งด่วน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 พึ่งตนเองโดยสนับสนุนความรู้ในการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ให้แก่เกษตรกรและคนในครัวเรือน เกษตรกร ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID – 19 โดยมีเป้าหมายให้สามารถเรียนรู้การ พึ่งพาตนเองระดับครัวเรือน จำนวน 300,000 ราย วงเงินงบประมาณเพื่อจัดระบบการเรียนรู้ผ่านระบบ E – Learning เป็นเงิน 90 ล้านบาท และการศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ เป็นเงิน 450 ล้านบาท และพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน จำนวน 1,200 แห่ง วงเงินงบประมาณสำหรับการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นเงิน 180 ล้านบาท รวมวงเงินงบประมาณ เป็นเงิน 720 ล้านบาท พร้อมทั้งสนับสนุนสินเชื่อผ่อนปรนจาก ธ.ก.ส. เพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ (New Gen ฮักบ้านเกิด) จำนวน 500,000 ราย และสินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ จำนวน 200,000 ราย

2.โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านธุรกิจชุมชน (ตั้งฐาน) เป็นการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 และ 3 พึ่งพาซึ่งกันและกัน และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อสนับสนุน วิสาหกิจชุมชนดำเนินการปรับเปลี่ยน การผลิต และการจัดการการตลาด อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายวิสาหกิจชุมชน จำนวน 16,000 แห่ง ในการสนับสนุนเพื่อการลงทุนในสัดส่วน ไม่เกิน 50% ของมูลค่าการลงทุน วิสาหกิจ ชุมชนแห่งละไม่เกิน 1 ล้านบาท เป็นเงิน 16,000 ล้านบาท และสนับสนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่เกิน 50% ของค่าใช้จ่ายในการผลิตในปีแรก เป็นเงิน 16,000 ล้านบาท รวมวงเงินงบประมาณ เป็นเงิน 32,000 ล้านบาท กรณีวิสาหกิจชุมชนมีเงินทุนไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานตามโครงการฯ ให้สามารถขอสินเชื่อผ่อนปรนจากโครงการ ธุรกิจชุมชนสร้างไทยของ ธ.ก.ส. ได้

Advertisement

3.โครงการเสริมสร้างความยั่นยืนด้านเศรษฐกิจฐานราก (ตั้งมั่น) เป็นการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 3 เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์ ภาคการเกษตร กลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน องค์กรการเงินชุมชน วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม และ ผู้ประกอบการเกษตร เป็นกลไกการสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ของชุมชนตลอดห่วงโซ่การผลิตการเกษตร การให้บริการทางการเกษตร การท่องเที่ยวชุมชน และบริการอื่น ๆ จำนวน 7,255 แห่ง โดยสนับสนุนงบประมาณ ไม่เกิน 50% ของมูลค่าการลงทุน รวมวงเงินงบประมาณ 21,765 ล้านบาท กรณีสถาบันเกษตรกร และ ผู้ประกอบการเกษตร มีเงินทุนไม่เพียงพอต่อการดeเนินงานตามโครงการฯ ให้สามารถขอสินเชื่อผ่อนปรนจากโครงการ ธุรกิจชุมชนสร้างไทย หรือสินเชื่อผู้ประกอบการเกษตรของ ธ.ก.ส. ได้ และขอผ่อนปรนหลักประกันเงินกู้ตามข้อบังคับ ฉบับที่ 26 ว่าด้วยการให้กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตรกู้เงินระยะยาว เพื่อการเกษตร โดยให้คณะกรรมการดeเนินการทั้งคณะค้ำประกันเงินกู้ในฐานะส่วนตัวเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image