‘การบินไทย’ เปิดกรอบเวลาแผนฟื้นฟู คาด 7 ปีรู้เรื่อง ไปต่อหรือพอแค่นี้ ยันเจ้าหนี้ไม่ยึดเครื่องบินเช่า

ทางรอดที่ตีบตันของบริษัทการบินไทย (ตอนที่ 1 การพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยในช่วง 43 ปี) : โดย สมหมาย ภาษี

‘การบินไทย’ เปิดกรอบเวลาแผนฟื้นฟู คาด 7 ปีรู้เรื่อง ไปต่อหรือพอแค่นี้ ยันเจ้าหนี้ไม่ยึดเครื่องบินเช่า

นางสาวอรอนงค์ ชุณหะมาน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และบริหารกลาง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า หลังจากศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้บริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามที่ร้องขอแล้วนั้น โดยกรอบระยะเวลาฟื้นฟูกิจการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 7 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตามแผนฟื้นฟูในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 โดยในช่วงแรก หรือ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยในวันที่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งผู้ทำแผนจะมีระยะเวลาจัดทำแผนฟื้นฟู 3 เดือน เพื่อยื่นให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์จัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564 โดยในวันที่ 13 สิงหาคม 2563 จะเป็นวันสุดท้ายที่เจ้าหนี้จะสามารถยื่นคำคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯได้ ซึ่งศาลจะนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อไป จากนั้นคาดว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน 2564 ศาลจะมีคำสั่งรับแผนฟื้นฟู และแต่งตั้งผู้บริหารแผน เพื่อทำตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป โดยมีกรอบระยะเวลาฟื้นฟู 5 ปี และขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี

“กรอบระยะเวลาฟื้นฟูกิจการเป็นเพียงประมาณการ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนระยะเวลาดำเนินการตามแผนก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเช่นกัน แต่ต้องทำให้เสร็จภายใน 5 ปี นับตั้งแต่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน โดยสามารถขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี รวมแล้วแผนฟื้นฟูกิจการควรแล้วเสร็จภายใน 7 ปี โดยระหว่างจัดทำแผนฟื้นฟูบริษัทฯ มีแผนปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งบริษัทฯจะเดินหน้าเจรจากับเจ้าหนี้ประเภทต่างๆ เพื่อขอขยายเวลาชำระหนี้ออกไป รวมถึงขอเจรจาเจ้าหนี้เพื่อปรับลดเงินต้นและดอกเบี้ยลงทั้งหมด หรือขอปรับลดบางส่วน เพื่อให้ภาระหนี้เหมาะสมกับกระแสเงินสดของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ พ้นสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้กระทรวงการคลังไม่สามารถให้การสนับสนุนการเงินโดยตรงได้ อาทิ การปล่อยเงินกู้โดยตรงแก่บริษัทฯ หรือการค้ำประกันเงินกู้ต่างๆ” นางสาวอรอนงค์ กล่าว

นางสาวอรอนงค์กล่าวว่า รายละเอียดในระยะถัดไป ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน 2563 ศาลจะมีคำสั่งให้บริษัทฯ ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในช่วงที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.กรณีที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนตามที่บริษัทฯ เสนอ ผู้ทำแผนจะต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายในระยะเวลา 3 เดือน และส่งแผนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในช่วง มกราคม 2564 โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2564 เจ้าหนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนต่อไป และประมาณปลายเดือนเมษายน 2564 ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการและจัดตั้งผู้บริหารแผนเพื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป และ 2.กรณีที่มีเจ้าหนี้เสนอจัดทำแผนฟื้นฟู ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะประชุมร่วมกับเจ้าหนี้เพื่อคัดเลือกผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และช่วงเดือนมกราคม 2564 ศาลจะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผน โดยผู้ทำแผนจะจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใน 3 เดือน และส่งแผนให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพม์ภายในเดือนเมษายน 2564 ขณะที่ในเดือนพฤษภาคม 2564 เจ้าหนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน และประมาณปลายเดือนมิถุนายน 2564 ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้บริการแผนเช่นเดียวกันกับในกรณีแรก

ด้านนายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท การบินไทย กล่าวว่า หลังจากที่ศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้แล้ว ได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ โดยศาลจะพิจารณา 3 ประเด็นหลักคือ สถานะหนี้สิน ความสามารถชำระหนี้ มีเหตุให้ต้องฟื้นฟูกิจการ และ ความเหมาะสมของบุคคลที่เป็นผู้จัดทำแผน โดยหลังจากเข้าสู่ช่วงที่ 2 ที่จะตั้งผู้ทำแผน และจัดทำแผนให้เสร็จสิ้นในระยะเวลา 5 เดือน หรือถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของเจ้าหนี้ว่าจะเห็นชอบหรือคัดค้านแผนหรือไม่ โดยจะมีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ และช่วงสุดท้ายจะมีการแต่งตั้งผู้บริหารแผน กรอบระยะเวลา 5 ปีในการฟืนฟูกิจการ และขยายไม่เกิน 2 ครั้งไม่เกิน 2 ปี หรือไม่เกิน 7 ปี โดยการฟื้นฟูกิจการโดยปกติจะมีการแปลงหนี้เป็นทุน ชำระหนี้บางส่วน และการขายสินทรัพย์ สำหรับความกังวลว่า การบินไทยอาจถูกเจ้าหนี้ยึดเครื่องบินนั้น ปัจจุบันการบินไทยได้เริ่มเจรจาเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าเครื่องบิน หลายรายยินดีให้ใช้เครื่องบินต่อไป และไม่มีแผนจะเข้ายึดเครื่องบินระหว่างบินไปต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็จะขอให้ศาลในต่างประเทศรับรองการฟื้นฟูกิจการในไทย ซึ่งขณะนี้ก็มีรับรองแล้วจำนวน 2 ประเทศ

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image