ธรรมาภิบาล บริษัทที่ปรึกษาทำอีไอเอ ทำผิดต้องโทษ-ทำดีต้องชม

ธรรมาภิบาล บริษัทที่ปรึกษาทำอีไอเอ ทำผิดต้องโทษ-ทำดีต้องชม

เรื่องของ ความเป็นมืออาชีพ ในการทำกิจการอะไรก็แล้วแต่ทุกๆ กิจกรรม นอกจากฝีมือ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถแล้ว ความซื่อสัตย์ และมีธรรมาภิบาล หรือการบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรมด้วย

ในเรื่องของ การจัดการก่อสร้าง ที่ต้องดูแลกันในเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดูแลอยู่ก็เช่นกันเมื่อการก่อสร้างต้องอยู่ภายใต้กฎ กติกา ที่กำหนดเอาไว้ ว่าจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายในสังคม

การก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สผ.กำหนดว่า จะต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยเจ้าของกิจการจะต้อง แต่งตั้งหรือว่าจ้างให้บริษัทที่ปรึกษา ที่ขึ้นทะเบียน หรือได้รับอนุญาตให้ทำรายงานอีไอเอได้ เป็นผู้ทำรายงานอีไอเอ เพื่อให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) เป็นผู้พิจารณาอีกทีว่า โครงการนั้นๆ เหมาะสมที่จะก่อสร้างหรือไม่

นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการ สผ. กล่าวว่า การทำอีไอเอ เป็นเครื่องมือสำคัญในการคาดการณ์ ถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนจากการพัฒนาโครงการและตามประกาศ ทส.กำหนดให้ผู้ที่จัดทำรายงานอีไอเอ จะต้องขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาต โดยมีคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้มีสิทธิเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารายงานที่จัดทำมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ

Advertisement

โดยผู้มีสิทธิทำรายงานหรือที่บริษัทปรึกษาฯ จะต้องทำการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลกระทบ ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการ จากนั้นจึงเสนอเล่มรายงานต่อหน่วยงานอนุญาต และ สผ. มีการพิจารณารายงานโดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ คชก. พิจารณารายงานฯŽ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

”หากรายงานอีไอเอฉบับดังกล่าวมีความครบถ้วน และเป็นไปตามหลักวิชาการ และมีมาตรการเพียงพอ คชก.พิจารณารายงานจะให้ความเห็นชอบต่อรายงาน ซึ่งเจ้าของโครงการหรือผู้ประกอบการจะสามารถนำรายงานอีไอเอ ไปประกอบการขออนุญาตก่อสร้างหรือดำเนินการได้ และหากรายงานอีไอเอไม่ครบถ้วนหรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ และมีมาตรการยังไม่เพียงพอ คชก.พิจารณารายงานจะไม่ให้ความเห็นชอบต่อรายงาน ซึ่งที่บริษัทที่ปรึกษาและเจ้าของโครงการหรือผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการแก้ไขรายงานต่อไปŽ” เลขาธิการ สผ.กล่าว

นางรวีวรรณ กล่าวด้วยว่า หากพบว่าผู้มีสิทธิทำรายงาน หรือบริษัทที่ปรึกษา ได้ดำเนินการ หรือจัดทำรายงานที่ไม่มีคุณภาพ คชก.พิจารณารายงานฯŽ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถร้องเรียนหรือแจ้งมายัง สผ. เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดย คชก.ผู้มีสิทธิ ซึ่งมีมาตรการการกำกับดูแลและบทลงโทษตั้งแต่เบาไปหาหนัก

Advertisement

สำหรับมาตรการการกำกับดูแลนั้น เลขาธิการ สผ.ย้ำว่า กรณีจัดทำรายงานไม่มีคุณภาพ ได้แก่ รายงานมี นเท็จ จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต

ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน สผ.ได้ดำเนินการควบคุม กำกับดูแล และลงโทษนิติบุคคลผู้มีสิทธิทำรายงานในกรณีต่างๆ ไปแล้วกว่า 30 ราย จึงมั่นใจได้ว่า สผ.มีกระบวนการพิจารณา และการควบคุมกำกับดูแลผู้มีสิทธิทำรายงาน โดย คชก.ผู้มีสิทธิ ซึ่งมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีธรรมาภิบาลŽ เลขาธิการ สผ.กล่าว

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image