ครั้งแรกในไทย ‘สัตวแพทย์-หมอ-จนท.อุทยานฯ’ ลุยหาค้างคาวมงกุฏ จับตรวจเลือด-น้ำลาย หาเชื้อโควิด-19(ชมคลิป)

ครั้งแรกในไทย ‘สัตวแพทย์-หมอ-จนท.อุทยานฯ’ ลุยหาค้างคาวมงกุฏ จับตรวจเลือด-น้ำลาย หาเชื้อโควิด-19

วันที่ 13 มิถุนายน นายสัตวแพทย์ (นสพ.) ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่เวลา 18.00-03.00 น. ของคืนวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมด้วยกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า พร้อมด้วย ทนพญ.(นักเทคนิคการแพทย์หญิง) สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คนไทยคนแรกที่ค้นพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย รศ.ประทีป ด้วงแค คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี และกองร้อยทหารพรานนาวิกโยธิน 544 ร่วมกันตรวจหาค้างคาวภายในถ้ำสะดอ หมู่ 2 ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี โดยวางแผนจับค้างคาวมากกว่า 100 ตัว นำมาเก็บตัวอย่างเลือด น้ำลาย และอุจจาระ และนำตัวอย่างที่เก็บได้ไปตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 และเชื้อไวรัสที่สำคัญอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป โดยการดำเนินการครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการลุยจับค้างคาวมุงกุฏในถ้ำกลางป่า จ.จันทบุรี หลังพบว่าค้างคาวมงกุฏในเมืองจีนมีเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งพบว่าประเทศไทยมีค้างคาวสายพันธุ์นี้ถึง 23 สายพันธุ์ แต่ยังไม่เคยมีการค้นหาเชื้อไวรัสจากค้างคาวมงกุฏมาก่อน พบบางพื้นที่นิยมกินค้างคาว เสี่ยงมากอาจได้รับเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิดโดยไม่รู้ตัว

นสพ.ภัทรพลกล่าวว่า นอกจากนี้ กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ยังiวมกันให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อโรคติดต่อจากค้างคาวแก่ผู้นำชุมชน ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคต หมู่ 7 ต.หนองตาคง อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ด้วย อีกทั้งคณะมวลชนสัมพันธ์ มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และการอยู่ร่วมกับค้างคาวอย่างปลอดภัย โดยในการให้ความรู้ของคณะทำให้ทราบจากผู้นำชุมชนว่า ปัจจุบันคนงานในสวนลำไยจากประเทศเพื่อนบ้านบางส่วนใน อ.โป่งน้ำร้อน ยังจับค้างคาวที่มาติดตาข่ายดักค้างคาวกินเป็นอาหาร

“เป็นที่น่ากังวลที่ยังมีคนนิยมกินค้างคาว เพราะมีความเชื่อผิดๆ การกิน การจับ มีโอกาสจะได้รับเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคใดๆ ก็ได้ จึงจำเป็นต้องทำคู่มือว่าด้วยเรื่องการอยู่ร่วมกับค้างคาวอย่างปลอดภัยแจกจ่ายให้ประชาชน ขณะนี้กลุ่มนักวิจัยกำลังศึกษาเส้นทางการอพยพ เส้นทางการหากินของค้างคาว โดยเน้นไปที่ค้างคาวมงกุฏ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสหรือโรคที่มาจากค้างคาวในอนาคต เป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับไวรัส แต่วิธีป้องกันที่ง่ายที่สุด คือการไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติหรือบุกรุกป่า ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่า เชื้อโรคใดๆ จากสัตว์ป่าก็ไม่สามารถมาสู่คนได้” นสพ.ภัทรพลกล่าว

Advertisement

นสพ.ภัทรพล กล่าวว่า มาถึงตรงนี้ ขอทำความเข้าใจว่า อย่าได้ตั้งแง่รังเกียจ หรือโกรธแค้นค้างคาว ถึงขั้นไปทำร้าย เพราะค้างคาวเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับธรรมชาติมาก ผสมเกสร พืชดอก และผลไม้ มากกว่า 300 สายพันธุ์ เช่น มะม่วง กล้วย ฝรั่ง ทุเรียน ลิ้นจี่ และ ลำไย ช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ ไม้เนื้อแขง็ และไม้ ผลต่างๆ ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดดในนา ข้าว และตัวด้วงที่ทำลาย พืชผล อย่างไรก็ตาม ค้างคาวเป็นสาเหตขุองไวรัสโคโรน่า และไวรัสอื่นๆ การฆ่าหรือรบกวนค้างคาว อาจจะ ทำให้โรคแพร่กระจายไปสู่ผู้คนได้มากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่กิน ฆ่า ล่า ขาย ปรุงอาหาร จากค้างคาว ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ ได้ทำคู่มือ วิธีอยู่ร่วมกับค้างคาวอย่างมีความเข้าใจ ทั้งนี้ การอยู่ร่วมกันกับค้างคาวในสิ่งแวดล้อมที่สมดุลกัน ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ ตัวอย่างกรณีเด็กๆในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ที่มีค้างคาวอาศัยอยู่ ปักรูปค้างคาวไว้ที่เสื้อนักเรียนทุกคน และรู้ดีว่า ค้างคาวพระเอก ที่มีผู้ร้ายแฝงอยู่ในตัว ขอแค่อย่าดึงมันออกมา เข้าใจกันไม่เบียดเบียนกัน ก็อยู่ด้วยกันได้

“คู่มือ การอยู่ร่วมกันกับค้างคาว ยกตัวอย่างเช่น 7 ไม่ ไกลโรคจากค้างคาว 1. ไม่จับค้างคาว หรือซากค้างคาว มือเปล่า 2. ไม่สัมผัส น้ำลาย เลือด เยี่ยว มูล ค้างคาว 3. ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเยี่ยวมลูค้างคาว 4. ไม่นำผลไม้ที่มีรอยกัดแทะค้างคาว หรือแม้แต่ ฝานทิ้งบางส่วนมารับประทาน ผลไม้นั้นอาจมี เชื้อโรคจากค้างคาว 5. ไม่นำผลไม้ที่ค้างคาวกัดแทะไปเลี้ยงสัตว์อื่น 6. ไม่ล่าค้างคาวมาขายหรือประกอบอาหาร 7. ไม่ดื่มน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าว-ตาล-อินทผลัม ที่ไม่ผ่านการต้ม และสิ่งที่ควรทำ ป้องกันไม่ให้ค้างคาวเข้ามาอาศัยในบ้าน เช่น ปิดภาชนะบรรจุอาหารและน้ำ และทำความ สะอาดฝาปิดสม่ำเสมอ

 

Advertisement

ด้าน ทนพญ. สุภาภรณ์กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเริ่มมีการตรวจสอบค้างคาวมงกุฏ เนื่องจากมีรายงานจากประเทศจีนว่า ไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในคนมีลักษณะเดียวกันกับไวรัสที่พบในค้างคาวมุงกุฏ ที่สำคัญได้มีการพบค้างคาวชนิดนี้ในไทยด้วย ในเมืองไทยมีค้างคาวมงกุฏถึง 23 สายพันธุ์ จึงจำเป็นต้องค้นหาโรคและไวรัสโควิด-19 ในค้างคาวมงกุฏทุกสายพันธุ์ในเมืองไทย และเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในค้างคาวมุงกุฏอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ การวิจัยเรื่องโรคจากค้างคาวที่เมืองไทยทำมาเกือบ 20 ปี ยังไม่เคยมีการตรวจสอบค้างคาวมุงกุฏแต่อย่างใด จึงยังไม่มีข้อมูลว่าค้างคาวมุงกุฏมีเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ ซึ่งจะต้องหาคำตอบเรื่องนี้ให้ชัดเจนต่อไป อย่างไรก็ตาม ถ้ามองการพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ในค้างคาวมงกุฏแบบเดียวกับที่พบค้างคาวสายพันธุ์นี้ในประเทศจีน เมืองไทยก็มีโอกาสจะพบเชื้อไวรัสนี้ แต่อัตราการติดเชื้อจะมีโอกาสมากหรือน้อย ต้องตรวจสอบกันต่อไป ส่วนเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่จะหมดไปจากเมืองไทย ไวรัสเดียวกันนี้จะกลับเกิดขึ้นในไทยจากค้างคาวมุงกุฏหรือไม่ อย่างไร ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์การกินอาหารของคนไทย หากไม่กินค้างคาวก็ยากจะได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ที่เป็นห่วงคือคนที่ยังนิยมกินค้างคาวเป็นอาหาร มีโอกาสจะติดเชื้อได้ง่ายอย่างยิ่ง

สัตวแพทย์-หมอ-จนทอุทยานฯ ลุยหาค้างคาวมงกุฏ จับตรวจเลือด-น้ำลาย หาเชื้อโควิด-19

ครั้งแรกในไทย สัตวแพทย์-หมอ-จนทอุทยานฯ ลุยหาค้างคาวมงกุฏ จับตรวจเลือด-น้ำลาย หาเชื้อโควิด-19

โพสต์โดย Matichon Online – มติชนออนไลน์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2020

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image