อาหารดิลิเวอรี สิ่งจำเป็น สำหรับคนไม่มีครัว

อาหารดิลิเวอรีสิ่งจำเป็นสำหรับคนไม่มีครัว

วิกิพีเดียเขียนถึง อาหารดิลิเวอรีว่า ได้มีการบันทึกครั้งแรกในโลกโดยเกิดที่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ.2311 (ค.ศ.1768) ซึ่งอาหาร ดิลิเวอรีรายการแรกที่มีบันทึกคือ บะหมี่เย็นž และได้เริ่มมีลงโฆษณาการบริการอาหารดิลิเวอรีครั้งแรกผ่านทางหนังสือพิมพ์เกาหลีในปี พ.ศ.2449 (ค.ศ.1906) คนไทยเองโดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่อย่าง กทม. ตั้งแต่เริ่มยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เราก็รู้จักอาหารดิลิเวอรี เพียงแต่ยังไม่ได้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตปกติของเราจนกระทั่งถึงยุคโควิด-19 ระบาด

คนเมืองใหญ่อย่าง กทม.เป็นเมืองของครอบครัวขนาดเล็ก หรือไม่ผู้คนก็อยู่อาศัยเพื่อการทำงานไม่ได้อยู่เป็นครอบครัว อยู่คอนโด ห้องเช่า บ้านเช่า ที่ไม่มีคนที่บ้านคอยดูแลหรือมีครัวไว้คอยทำอาหารให้รับประทาน อย่างมากก็มีเพียงไมโครเวฟไว้อุ่นอาหาร ชีวิตจึงพึ่งพาอยู่กับร้านอาหารขนาดเล็กใกล้บ้าน อาหารข้างทาง และอาหารจากร้านสะดวกซื้อ อาหารดิลิเวอรีž ก็รู้จักแต่ยังห่างไกลชีวิต เพราะประเภทอาหาร ระบบการขาย การสั่งซื้อ การจัดส่งที่ยังไม่สะดวกพอ ซึ่งเมื่อรวมราคาอาหารและค่าส่ง ราคาก็ยังแพงกว่าการซื้อจากร้านใกล้บ้านมากมายและยังสะดวก ราคาถูกใจ ซื้อแล้วได้รับประทานเลย ร้อนๆ รอไม่นาน

แต่พอมาถึงยุคโควิด-19 ระบาด ชีวิตเข้าสู่ ชีวิตวิถีใหม่ž การต้องอยู่บ้าน จำกัดการเดินทาง รักษาระยะห่างทางสังคม มาตรการปิดร้านค้าต่างๆ รวมทั้งร้านอาหารทั้งร้านใหญ่และร้านเล็กๆ ที่เคยเป็นที่พึ่งของคนเมือง ทำอาหารเองก็ไม่ได้เพราะยุ่งยาก และที่สำคัญ ไม่มีครัวž และเมื่อร้านอาหารต่างๆ รวมถึงบริการอาหารดิลิเวอรี กลับมามีบริการให้อย่างสะดวก รวดเร็ว อร่อย สะอาดถูกหลักอนามัยครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่สถานประกอบอาหาร อาหารที่เป็นวัตถุดิบ แม่ครัว รูปแบบการจัดส่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์ พนักงาน ชนิดอาหารมีให้เลือกหลากหลาย และราคาที่รวมค่าส่งก็ไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับอาหารจากร้านสะดวกซื้อ ทุกอย่างเหมาะสมกับชีวิตคนเมืองใหญ่แถมไม่ต้องล้างทำความสะอาดจาน ชาม ช้อน ให้ยุ่งยาก คนเมืองจึงนิยม อาหารดิลิเวอรีŽ อย่างล้นหลามจนกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของคนเมือง

Advertisement

ในฐานะผู้ใช้บริการ อาหารดิลิเวอรีž ที่ต้อง การอาหารดิลิเวอรีที่สะอาด ไม่เสี่ยงต่อทั้งโควิด-19 และโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร หรืออาหารเป็นพิษและมีราคารวมค่าส่งในอัตราที่เหมาะสมแล้ว ทุกกติกาอยู่ในเกณฑ์รับได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีก 2-3 สิ่งที่อยากได้รับบริการเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการ อาหารดิลิเวอรีž
สิ่งแรกคือ: ฉลากอาหารž ที่อยากให้มี
แนบมากับกล่องบรรจุอาหารทุกๆ ครั้งเหมือน ฉลากยาž เพื่อชี้แจง/แนะนำวิธีการบริโภค วิธีเก็บ วิธีอุ่นอาหารที่เหมาะสมปลอดภัยเพราะมันเป็นชีวิตวิถีใหม่ที่เรายังไม่คุ้นเคยกับมันเลย เช่น บ่อยครั้งอาหารจัดส่งมีปริมาณมาก และเราก็เป็นคนกินน้อย เสียดายอาหารเหลือ อยากแบ่งเก็บไว้กินอีกมื้อก็ไม่รู้ว่าควรทำหรือไม่และอย่างไร ตัวอย่างสิ่งที่อยากทราบ เช่น

-เมื่อได้รับอาหารแล้วควรเปิดบรรจุภัณฑ์ หรือควรปิดบรรจุภัณฑ์จนถึงเวลารับประทาน
-ถ้าต้องการเก็บไว้ทานในวันต่อไปทำได้ไหม ควรเก็บอย่างไรจึงจะปลอดภัย และเก็บไว้ได้นานเท่าไร
-อาหารที่เก็บไว้ ก่อนบริโภคควรปฏิบัติอย่างไร
-เครื่องปรุงทั้งหลาย เช่น น้ำจิ้มต่างๆ ใส่สารกันบูดหรือไม่
-อื่นๆ ตามที่ผู้ให้บริการคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ปลอดภัยในการบริโภค อาหารดิลิเวอรีž

อีกประการ ที่อยากได้จาก อาหารดิลิเวอรีž คือ ยังมีคนบางกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะตามวัยและตามสุขภาพ เช่น เด็กทั้งเด็กเล็กและเด็กโต และผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังไม่มีคนดูแลที่นับวันจะมีจำนวนสูงขึ้นในสังคมเมือง ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มักใช้ชีวิตลำพังตั้งแต่สมัยยังไม่เกษียณจากงานจนถึงวัยเกษียณก็มักมีโรคประจำตัวสุดฮิตคือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ทั้งนี้ อาหารสำหรับเด็กอาจจะให้บริการยาก แต่ถ้าเมื่อเริ่มจากแบบสำรวจก็อาจหาทางออกได้สำหรับผู้ให้บริการ อาหารดิลิเวอรีž ที่เป็นแหล่งการศึกษาทางด้านโภชนาการ

แต่ที่เชื่อว่าผู้ให้บริการ อาหารดิลิเวอรีž สามารถดำเนินการได้ดีและให้บริการได้ทันทีหลังสำรวจความต้องการเพื่อประเมินความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ให้บริการเองคือ อาหารทั้งคาวและหวานสำหรับ ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านตามลำพังž และมักมีขีดความสามารถในการทำครัวได้เพียงอุ่นอาหารจากไมโครเวฟ รวมถึงที่มี 2 โรคประจำตัวสุดฮิตคือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงž สถานประกอบการอาหารดิลิเวอรีสามารถทำอาหารทุกประเภทที่ท่านให้บริการอยู่แล้ว เพียงจัดเพิ่มเป็น กลุ่มอาหารทางเลือกž ทั้งอาหารหวานและอาหารคาว คือ อาหารที่หวานน้อย เค็มน้อย แต่ยังอร่อยž ก็จะช่วยเพิ่มการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ลดโอกาสออกนอกบ้าน ลดการเข้าออกร้านสะดวกซื้อ ช่วยควบคุมทั้ง 2 โรคฮิตให้ได้ดีขึ้น จนผู้สูงอายุสามารถอยู่ในกลุ่มที่สามารถรับยาจากโรงพยาบาลทางไปรษณีย์ได้ ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลบ่อย ช่วยลดการติดโรคจากโรงพยาบาล ลดความแออัดของโรงพยาบาล เป็นอีกวิธีที่ อาหารดิลิเวอรีž ช่วยให้ผู้มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและเมื่อติดเชื้อแล้วความรุนแรงโรคก็สูงมากที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีสูงทางการแพทย์และต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงแต่อัตราตายของคนกลุ่มนี้ก็ยังสูงกว่าคนกลุ่มอื่นๆ

การมี อาหารดิลิเวอรีž ที่ช่วยส่งเสริมควบคุมโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่ทางการแพทย์เรียกย่อว่า โรคเอ็นซีดี (NCD: Non-communicable diseases)ž ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ที่อัตราการเป็นโรคสูงมากในบ้านเรา ตัวอย่างรายงานจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยจากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปี พ.ศ.2557 พบคนไทยเป็นเบาหวาน ร้อยละ 8.9 ส่วนในโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 (พ.ศ.2551-2552) ที่เผยแพร่โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ
15 ปีขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคน

ดังนั้น โจทย์คือ คุ้มค่าไหมที่จะมี อาหาร ดิลิเวอรีž สำหรับคนกลุ่มนี้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.พวงทอง ไกรพิบูลย์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image